หน่วยที่ 6 ปัญหาการใช้กฎหมายในประเทศไทย

สภาพสังคมไทยในปัจจุบันได้เปลี่ยนแปลงไปตามกระแสเทคโนโลยีสมัยใหม่ ทำให้เด็กและเยาวชนไทยมีค่านิยมที่แตกต่างไปจากเดิม โดยเน้นทางวัตถุมากกว่าการพัฒนาจิตใจ ก่อให้เกิดพฤติกรรมก้าวร้าว การแสดงออกที่ผิดศีลธรรม การเห็นผิดเป็นชอบ ฯลฯ อันเป็นเหตุให้เกิดความเสื่อมถอยทางศีลธรรม เกิดปัญหาสังคม หลายฝ่ายต่างเร่งแก้ไข เพื่อให้สังคมเกิดความสงบสุข เป็นสังคมที่มีคุณภาพ มุ่งพัฒนาคนให้เป็นคนดี มีคุณธรรมจริยธรรม ซื่อสัตย์สุจริต รักความสามัคคี มีความเข้มแข็งทางวัฒนธรรม และมีระบบคุ้มครองทางสังคมที่ดี โดยต่างหวังว่าการศึกษาจะเป็นกระบวนการช่วยสร้างคนให้บรรลุผลตามเป้าหมายที่วางไว้

คำว่าสังคมนั้น หมายถึง ระบบความสัมพันธ์ระหว่างผู้คนในสังคม ดังนั้น เมื่อกล่าวถึงปัญหาสังคมในที่นี้ จึงหมายถึงปัญหาที่เกี่ยวข้องกับระบบความสัมพันธ์ระหว่างคนหรือกลุ่มคนในสังคม ซึ่งมีจุดสนใจแตกต่างอย่างชัดเจน

จากปัญหาเศรษฐกิจหรือปัญหาสิ่งแวดล้อม เช่น เมื่อกล่าวถึงปัญหาการว่างงานหรือตกงาน โดยลำพังก็เป็นเพียงปรากฏการณ์ทางเศรษฐกิจ หากปรากฏการณ์นี้ยังไม่ทำให้เกิดความร้าวฉานในครอบครัว ไม่เกิดการปะทะกันระหว่างนายจ้าง ลูกจ้าง หรือไม่ทำให้บรรทัดฐานความสัมพันธ์ระหว่างชายหญิงเปลี่ยนไป เมื่อกล่าวถึงปัญหาสิ่งแวดล้อม โดยตัวของมันเองก็ไม่ใช่ปัญหาสังคม ดังนั้นการแก้ไขเยียวยา จึงกระทำได้โดยใช้เทคนิควิทยาศาสตร์กายภาพแต่หากปัญหาสิ่งแวดล้อมนั้น นำไปสู่ปัญหาความขัดแย้งระหว่างกลุ่มคน ก็จัดได้ว่าเป็นปัญหาสังคมและการแก้ไขนั้นจำเป็นต้องอาศัยมาตรการทางสังคม

ปัญหาระบบกฎหมายไทยก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่ง ที่ทำให้เกิดปัญหาในสังคม เนื่องจากแต่ละประเทศย่อมมีปัญหาในเรื่องเกี่ยวกับระบบกฎหมายแม้จะเป็นประเทศที่พัฒนาในด้านกฎหมายอย่างมาก ก็ยังประสบปัญหากฎหมายต่างๆ เนื่องจากระบบสังคมและวัฒนธรรม ระบบเศรษฐกิจ ระบบการเมือง และสิ่งแวดล้อมรอบตัวมนุษย์ในสังคมเปลี่ยนไปตามกาลสมัย ปัญหาที่เกิดขึ้นในสมัยหนึ่งได้รับการแก้ไขไปได้ด้วยความเรียบร้อย ต่อมาปัญหาอื่นๆ ก็เกิดขึ้นตามมาอีกอย่างไม่มีที่สิ้นสุด เพียงแต่ในประเทศที่พัฒนาได้วางระบบต่างๆ ของสังคมไว้ดี มีความมั่นคง ทางด้านสังคม เศรษฐกิจ และการเมือง ปัญหาที่เกิดขึ้นโดยทั่วไปก็น้อยกว่าประเทศที่กำลังพัฒนา และปัญหาที่เกิดขึ้นอันเกี่ยวกับระบบกฎหมายก็ย่อมมีน้อยกว่าเช่นกัน

หาก จะพิจารณาปัญหาที่เกิดขึ้นในปัจจุบันในระบบกฎหมายของไทย อาจกล่าวได้ว่าปัญหาต่างๆ เกิดจากตัวกฎหมายอย่างหนึ่งและเกิดจากคนซึ่งต้องเกี่ยวข้องกับกฎหมายอีกอย่างน้อย  แต่ถ้าพิจารณาลึกลงไปแล้วอาจจะรวมเหลือเพียงปัญหาเดียว คือ ปัญหาเกี่ยวกับคน เพราะตัวกฎหมายเอง ย่อมไม่อาจก่อให้เกิดปัญหาได้โดยตรง หากคนไม่สร้างกฎหมายขึ้น กฎหมายย่อมจะมีขึ้นมาไม่ได้

ปัญหาที่เกี่ยวกับตัวกฎหมายเกิดขึ้นเพราะคนสร้างกฎหมายขึ้นมา แล้วไม่เหมาะสมกับสภาพและลักษณะของสังคมหรือแม้ว่าครั้งหนึ่ง อาจจะสร้างกฎหมายที่เหมาะสมกับสภาพในขณะนั้นแต่ต่อมาสภาพของสังคมเปลี่ยน แปลงไปกฎหมายนั้นก็อาจจะไม่เหมาะสมกับสังคมนั้นอีกต่อไป หรือที่เรียกว่า กฎหมายชราภาพ นั้นเอง

ปัญหาที่เกี่ยวกับตัวคนอาจเกิดขึ้นได้หลายลักษณะ เช่น ผู้ร่างกฎหมายยังไม่มีความรู้ในเรื่องแนวความคิดหลักเกณฑ์ เหตุผลในเรื่องนั้นมากเพียงพอและไม่ได้ศึกษาถึงความเหมาะสมกับสภาพสังคมไทย ตลอดจนผลกระทบที่คาดว่าจะเกิด หลังจากร่างกฎหมายฉบับนั้นได้ประกาศใช้เป็นกฎหมายแล้ว สิ่งต่างๆเหล่านี้คงจะต้องพิจารณาอย่างละเอียดรอบคอบ หรือเมื่อกฎหมายได้ผ่านขั้นตอนของการบัญญัติกฎหมายแล้วแต่ผู้ใช้กฎหมายก่อให้เกิดปัญหา

โดยปกติเมื่อมีการออกกฎหมายในกฎหมายนั้นเองจะระบุว่าเจ้า พนักงานของรัฐ กรมใด กระทรวงใด จะเป็นผู้รักษากฎหมายหรือดูแลบังคับให้เป็นไปตามกฎหมาย หากผู้ดูแลรักษากฎหมายไม่ปฏิบัติหน้าที่ กฎหมายก็หย่อนคลายความศักดิ์สิทธิ์ คนก็ไม่เชื่อฟังและปฏิบัติตามกฎหมาย หรือเจ้าพนักงานเอากฎหมายเป็นเครื่องมือในการหาประโยชน์ส่วนตัว เช่น เรียกสินบน หรือยอมรับสินบนที่เขาให้เพื่อกระทำการหรืองดเว้นกระทำการตามหน้าที่ ก็ย่อมเป็นช่องทางที่ก่อให้เกิดปัญหา

นอกจากนี้ปัญหายังอาจจะเกิดจากประชาชนไม่รู้กฎหมายหรือประชาชนใช้กฎหมายไม่ถูกต้อง  หรือหาช่องโหว่ของกฎหมายเพื่อเลี่ยงกฎหมาย

ประการสุดท้ายคือ การใช้กฎหมายของผู้พิพากษาในการตัดสินคดี หากแปลกฎหมายไปในทางที่ไม่คำนึงถึงผลกระทบต่อสังคมหรือแสวงหาประโยชน์ที่มิชอบแล้ว ก็ล้วนแต่จะก่อให้เกิดปัญหาด้วยกันทั้งนั้น

จากปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นในสังคม ถ้าสังคมส่วนรวมอยู่ได้ เราซึ่งเป็นสมาชิกหรือส่วนเล็กๆ ส่วนหนึ่งของสังคมจึงจะอยู่ได้ ในปัญหายังมีคนจำนวนมากที่เห็นแก่ตัว กระทำการใดๆ ในทางที่เป็นปฏิปักษ์ต่อผลประโยชน์ ต่อส่วนรวม คนเหล่านี้ขาดความสำนึกว่า ถ้าสังคมส่วนรวมอยู่ไม่ได้แล้วเขาจะอยู่ได้อย่างไร นอกจากจะย้ายไปเป็นสมาชิกของสังคมอื่น ซึ่งไม่แน่ว่าจะสามารถอยู่ในสภาพสังคมใหม่ได้ดีหรือไม่ ทนต่อความกดดัน ความดูถูกดูแคลน ของคนในสังคมนั้นได้เพียงใด หากผู้ที่เห็นแก่ตัวเหล่านั้น ยอมหยุดยั้งมาตั้งต้นใหม่ ยึดหลักสังคมส่วนรวมอยู่ได้แล้ว เราสมาชิกในสังคมจึงจะอยู่ได้ ประโยชน์ส่วนรวมจึงต้องมาก่อนประโยชน์ส่วนตัว เราจึงต้องช่วยกันสร้างเสริม รณรงค์ให้เกิดความเห็นแก่ส่วนรวมมากกว่าส่วนตนแล้วสังคมไทย ประเทศไทยจึงจะอยู่รอด ด้วยความสงบสุขต่อไป

การแบ่งประเภทของกฎหมาย

หากใช้เนื้อหาของกฎหมายเป็นเครื่องแบ่งแยก เราจะแบ่งประเภทกฎหมายได้เป็น

  1. กฎหมายสารบัญญัติ ซึ่งกำหนดสิทธิและหน้าที่ของบุคคลโดยตรง
  2. และกฎหมายวิธีสบัญญัติ ซึ่งกำหนดวิธีการเยียวยาเมื่อมีการละเมิดสิทธิ หน้าที่ ที่เกิดขึ้น

ถ้ายึดเอาลักษณะของนิติสัมพันธ์เป็นเกณฑ์ ก็สามารถแบ่งแยกประเภท เป็น

  1. กฎหมายมหาชน
  2. และกฎหมายเอกชน

กฎหมายมหาชน คือกฎหมายที่กำหนดสถานะและนิติสัมพันธ์ระหว่างรัฐหรือหน่วยงานของรัฐกับ เอกชน หรือหน่วยงานของรัฐอื่น ในฐานะที่รัฐและหน่วยงานของรัฐเป็นผู้ปกครอง

กฎหมายเอกชน คือกฎหมายที่กำหนดสถานะและนิติสัมพันธ์ระหว่างเอกชนกับเอกชน ในฐานะที่อยู่ภายใต้การปกครองที่ต่างฝ่ายต่างก็เท่าเทียมกัน

บทบาทของกฎหมายในแง่ของผู้มีอำนาจปกครองประเทศ  

         บทบาทของกฎหมายในแง่ของผู้มีอำนาจปกครองประเทศมีอยู่ 2 ประการคือ

  1. กฎหมายเป็นเครื่องกำกับการใช้อำนาจปกครองให้อยู่ในกรอบแห่งความชอบด้วย กฎหมาย โดยกฎหมายจะกำหนดองค์กร อำนาจหน้าที่ขององค์กร กระบวนการที่องค์กรจะต้องกระทำการ ในแง่นี้ทุกองค์กรในระบอบการเมืองต้องปฏิบัติตามกฎหมาย
  2. กฎหมายเป็นเครื่องสนับสนุนการใช้อำนาจปกครองที่สะดวกและมีประสิทธิภาพ เพราะกฎหมายเป็นคำสั่งหรือข้อบังคับที่เป็นมาตรฐานความประพฤติของคนในสังคม ที่ใช้ได้ทั่วไป กฎหมายจึงเป็นเครื่องมือและเป็นการแสดงออกซึ่งการใช้อำนาจเพื่อให้ได้ความ ประสงค์ของผู้ปกครองนั้นสำฤทธิ์ผล

บทบาทของกฎหมายในแง่ของประชาชนผู้อยู่ภายใต้การปกครอง  

         บทบาทของกฎหมายในแง่ของประชาชนผู้อยู่ภายใต้การปกครองมี 3 ประการคือ

  1. กฎหมายเป็นเครื่องควบคุมสังคมและความประพฤติของคนในสังคมให้ปฏิบัติโดยเกณฑ์มาตรฐานเดียวกัน หากไม่ทำก็จะต้องได้รับโทษ
  2. กฎหมายเป็นเครื่องชี้ขาดข้อพิพาทของสมาชิกในสังคมที่แน่นอนทราบได้ล่วงหน้า ไม่ขึ้นอยู่กับจิตใจและอารมณ์ของคน
  3. กฎหมายเป็นเครื่องส่งเสริมและสร้างสังคม ทั้งในแง่เศรษฐกิจและด้านอื่น ๆ

กฎหมายปกครองกับการบริหารประเทศ  

กฎหมายปกครอง คือ กฎหมายมหาชนที่กำหนดกฎเกณฑ์เกี่ยวกับการบริหารราชการและกำหนดอำนาจให้แก่ เจ้าหน้าที่ของรัฐในการปฏิบัติหน้าที่ราชการ เป็นกฎหมายที่ศึกษาและวิเคราะห์ถึงโครงสร้างระบบบริหารราชการและการจัดกลไก ของรัฐ  กฎหมายปกครอง อาจแยกได้เป็น กฎหมายปกครองมหภาค และ กฎหมายปกครองจุลภาค

กฎหมายปกครองมหภาค ได้แก่ การศึกษาของกฎหมายซึ่งเกี่ยวกับการจัดตั้งหน่วยงานของรัฐ โครงสร้าง กลไก การจัดระบบข้าราชการของรัฐ เป็นต้น

กฎหมายปกครองจุลภาค ได้แก่ การศึกษาวิเคราะห์คำสั่งของฝ่ายบริหาร มติคณะรัฐมนตรี คำวินิจฉัยของคณะกรรมการต่าง ๆ ตลอดจนคำพิพากษาของศาล เพื่อที่จะได้ประเมินผล วิเคราะห์แนวทางการใช้กฎหมายของเจ้าหน้าที่และองค์กรวินิจฉัยชี้ขาดต่าง ๆ ที่รัฐได้ตรากฎหมายจัดตั้งขึ้น

ปัญหาประการหนึ่งของประเทศที่กำลังพัฒนา คือ สภาพโครงสร้างของระบบบริหาร และระเบียบแบบแผนในการปฏิบัติหน้าที่ราชการที่ไม่สามารถพัฒนาและปรับตนเอง ได้ทันกับการผันแปรอย่างรวดเร็วของสภาพเศรษฐกิจและสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง แนวความคิดของนักกฎหมายซึ่งปฏิบัติหน้าที่อยู่ในองค์กร อยู่สถาบันต่าง ๆ ก็อาจปรับตนเองได้ไม่ทันกาลกับกฎหมายสาขาต่าง ๆ ที่รัฐได้ตราขึ้นมาใช้

ปัญหาระบบกฎหมายในอดีต

สมัยสุโขทัย

ในสังคมสมัยสุโขทัยซึ่งมีระบบการเมืองการปกครองมีขนบธรรมเนียมประเพณีและ วัฒนธรรม  จึงเป็นที่เข้าใจได้ว่าจะต้องมีวัฒนธรรมในทางด้านกฎหมายปรากฏอยู่  จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญยิ่งในสมัยนั้นคือศิลาจารึกพ่อขุนราม คำแหง  ซึ่งได้กล่าวถึงความเป็นมาของชนชาติไทย

กฎหมายสุโขทัยในศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง ได้รับอิทธิพลจากศาสนาพราหมณ์ซึ่งแพร่ขยายมาเจริญรุ่งเรืองอยู่ในอาณาบริเวณ และยังได้รับอิทธิพลจากขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมของไทยน่านเจ้าอีก ด้วย  จึงกลายเป็นเรื่องที่เป็นข้อกำหนดเกี่ยวกับชีวิตและความเป็นอยู่ของคนไทย สมัยนั้น

อาจกล่าวโดยสรุปได้ว่าระบบกฎหมายในสมัยสุโขทัยได้มีการบัญญัติเป็นลายลักษณ์ อักษรในศิลาจารึกโดยบัญญัติปะปนกับเรื่องอื่นๆบ้างบัญญัติเป็นเรื่องต่างหากบ้างแต่ยังไม่มีลักษณะเป็นประมวลกฎหมายหลักกฎหมายในศิลาจารึกสมัยในเป็นหลักที่บัญญัติขึ้นเองหรือได้รับอิทธิพลจาก ขนบธรรมเนียมจารีตประเพณีของชนเผ่าที่อาศัยอาณาบริเวณ  ผสมผสานกันให้เกิดเป็นระบบกฎหมายที่เหมาะสมกันระบบการเมืองการปกครองและระบบ เศรษฐกิจในสมัยนั้น

สมัยกรุงศรีอยุธยา 

สมัยกรุงศรีอยุธยานั้น  สังคมไทยเป็นสังคมที่อยู่ในระบบศักดินาเต็มรูป  และมีระบบการปกครองเป็นระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์กล่าวคือ พระมหากษัตริย์ทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจในการปกครองประเทศอย่างเด็ดขาดโดยถือว่าพระมหากษัตริย์นั้นสืบเชื้อสายเทวดามาเกิดตามแนวความคิดของลัทธิเทวราชา ของขอมจึงทรงเป็นพระเจ้าอยู่เหนือหัวของทวยราษฎร์

กฎหมายในสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นกฎหมายที่สร้างขึ้นเพื่อความมั่นคงแห่งสถาบัน พระมหากษัตริย์ ซึ่งจะเป็นผลให้เกิดความมั่นคงในการปกครองประเทศ  เนื่องจากยังคงต้องมีการสู้รบการชนเผ่าที่อยู่ในอาณาบริเวณเดียวกัน  การปกครองที่พระมหากษัตริย์มีพระราชอำนาจเด็ดขาดจึงเป็นเรื่องที่เหมาะสมกับ สภาพบ้านเมืองในสมัยนั้น  กฎหมายถูกใช้เป็นเครื่องมือในการควบคุมอำนาจทางการเมือง  พระมหากษัตริย์ทรงจัดการทุกอย่างเพื่อให้ประชาชนชาวไทยตั้งอยู่ในความสงบเรียบร้อย  พระองค์จึงเป็นทั้งผู้บัญญัติกฎหมายและเป็นผู้จัดการบังคับให้เป็นไปตามกฎหมาย

สมัยรัตนโกสินทร์  

การเสียกรุงศรีอยุธยาให้แก่พม่าใน พ.ศ. 2310 นั้นนอกจากบ้านเมืองจะถูกเผ่าทำลายผู้คนต้องล้มตายและส่วนหนึ่งถูกกวาดต้อน เป็นเชลยแล้ว เอกสารสำคัญทางประวัติศาสตร์ก็ถูกทำลายและสูญหายเป็นจำนวนมาก รวมทั้งเอกสารเกี่ยวกับกฎหมายไทยส่วนใหญ่ด้วย คาดว่าจะเหลืออยู่เพียงประมาณหนึ่งในสิบส่วนเท่านั้น

พระมหากษัตริย์องค์แรกแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ได้ครองราชย์โดยใช้กฎหมายเดิมของกรุงศรีอยุธยาเรื่อยมา ได้เกิดมีปัญหาในคดีความที่ตัดสิน จึงทรงเล็งเห็นว่าอาจจะมีความคลาดเคลื่อนหรือความบกพร่องของกฎหมายที่ใช้ อยู่ สมควรที่จะต้องมีการตรวจ ชำระกฎหมายครั้งใหญ่และจัดทำกฎหมายใหม่ให้ถูกต้องอย่างเป็นหลักเป็นฐานเช่น เดียวกับกฎหมายของประเทศตะวันตก ประเทศสยามจึงได้จัดทำประมวลกฎหมายขึ้น เรียกว่า กฎหมายตราสามดวง อันที่จริงกฎหมายฉบับนี้ก็ยังไม่มีลักษณะเป็นประมวลกฎหมายอย่างความหมายของ ประมวลกฎหมายของประเทศตะวันตก คงเป็นเพียงการชำระกฎหมายและรวบรวมกฎหมายให้เรียบร้อยเพื่อความถูกต้องและ ปรับปรุงกฎหมายให้เกิดความยุติธรรมมากยิ่งขึ้น   ดังนั้นเนื้อหาของกฎหมายฉบับใหม่คงเหมือนกฎหมายสมัยกรุงศรีอยุธยาเกือบทั้ง สิ้นเพราะสภาพความเป็นอยู่ของคนในสังคมและระบบเศรษฐกิจการเมืองในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์นั้นไม่แตกต่างไปจากเดิม กฎหมายฉบับใหม่จึงยังคงใช้ได้เหมาะสมกับสภาพสังคมไทย

ปัญหาการให้ความยุติธรรมในการพิจารณาพิพากษาคดี  

ปัญหาในการให้ความยุติธรรมในการพิจารณาพิพากษาคดี จะปรากฏในลักษณะพยานหลักฐานเป็นสำคัญในชั้นศาลและการปฏิบัติงานของเจ้า พนักงานยุติธรรมและการพิจารณาพิพากษาคดีของศาลหรือผู้พิพากษา  การปฏิบัติงานของเจ้าพนักงานยุติธรรมโดยปกติต้องปฏิบัติงานตามที่ศาลมีคำสั่งหรือตามกฎหมายซึ่งก็อาจจะมีปัญหาในเรื่องการให้ความเป็นธรรม ในการที่จะปฏิบัติหน้าที่โดยเคร่งครัดหรือผ่อนผันลงบ้าง บางครั้งการให้เงินเล็กๆน้อยๆ เพื่อขอความสะดวกในการให้บริการก็ยังเป็นสิ่งที่จำเป็นในบ้างกรณี แต่ก็อาจจะทำไม่ได้มากนัก เพราะคำสั่งให้ปฏิบัติตามกฎหมายนั้นมักจะมีกำหนดเวลากำกับอยู่ จึงทำให้ไม่อาจก่อให้เกิดความไม่เป็นทำแก่คู่ความได้มากนัก

การให้ความยุติธรรมแก่ประชาชนโดยศาลหรือผู้พิพากษา ซึ่งถือว่าเป็นสถาบันที่ทรงเกียรติเพราะเป็นผู้แทนพระมหากษัตริย์ ในการออกนั่งพิจารณาและพิพากษาคดี ในพระปรมาภิไธยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและเป็นสถาบันที่ประชาชนให้ ความไว้วางใจมากที่สุด เนื่องจากเป็นผู้ที่จะชี้ขาดคดีความต่างๆ ตามบทกฎหมายให้ได้รับความยุติธรรมและความเป็นธรรมมากที่สุด แต่ในบ้างครั้งก็อาจมีปัญหาเกิดขึ้นได้ เช่นเดียวกับเจ้าพนักงานของรัฐประเภทอื่นๆ เช่น เหมือนศาลหรือผู้พิพากษาต้องใช้ดุลยพินิจในการสั่งคำสั่ง คำร้องต่างๆ ที่คู่กรณียืนขอมาในระหว่างการพิจารณาคดีเมื่อมีการใช้ดุลยพินิจก็อาจจะให้ ความเป็นธรรมแก่กรณีได้ดียิ่งขึ้น แต่ในบ้างครั้งก็มีผู้กล่าวหาว่าการที่ใช้ดุลยพินิจสั่งเช่นนั้นเพราะมีการ ติดสินบน ซึ่งถ้าหากเป็นจริงก็ย่อมเป็นความผิดอาญาเช่นกัน แต่คำสั่งเหล่านี้ก็ไม่สำคัญนัก เพราะไม่ใช่การพิพากษาคดีซึ่งจะมีผลแก่คู่กรณี เรื่องที่สำคัญมากคือการตรวจสำนวนเพื่อดูความน่าเชื่อถือของพยานต่างๆ ความสอดคล้องด้วยเหตุผลและพฤติการณ์ในคดีและการนำกฎหมายมาปรับใช้แก่คดี เพื่อทำคำพิพากษาตัดสินชี้ขาดข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายต่างๆ ในคดีให้ฝ่ายโจทก์หรือจำเลยเป็นผู้ชนะคดี และต้องปฏิบัติตามคำพิพากษานั้น ในการตัดสินคดีนี้อาจจะไม่ได้รับความเป็นธรรมหรือความยุติธรรมได้ ถ้าผู้พิพากษาเกิดอคติลำเอียง ไม่ว่าจะด้วยความรู้สึก หรือเกิดขึ้นเพราะรับสินบนหรือในกรณีที่ผู้พิพากษาไม่มีความรู้ความสามารถ โดยเฉพาะในเรื่องที่เป็นคดีนั้นอาจจะตัดสินคดีโดยใช้ตัวบทกฎหมายผิด ทำให้คำพิพากษาที่พิพากษาออกมานั้นไม่เหมาะสมกับสภาพสังคมและก่อให้เกิดผล กระทบแก่สังคมมาก

การอำนวยความยุติธรรมจะต้องอาศัยตัวผู้ใช้กฎหมายเป็นปัจจัยสำคัญเท่าๆกันกับ ตัวบทกฎหมาย ในการที่จะกระทำหน้าที่ที่สามารถอำนวยโทษให้กับสังคมได้ จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องทำตัวให้เป็นผู้ยุติธรรมก่อน ด้วยการตั้งใจให้มั่นคงที่จะรักษาความเป็นกลางและรักษาวัตถุประสงค์ของ กฎหมายแต่ละฉบับไว้โดยเคร่งครัด แน่วแน่พร้อมกับรักษาความสุจริต จรรยา และมโนธรรมของนักกฎหมายไว้เสมอกับชีวิต

ปัญหาการบัญญัติกฎหมายให้เหมาะสมกับสภาพสังคมไทย  

การศึกษาในสถาบันการสอนวิชากฎหมาย  

ควรศึกษาถึงสภาพสังคมและวัฒนธรรมเพื่อจะได้เข้าใจความรู้สึกนึกคิดและ ธรรมชาติของคนในสังคมได้ดีขึ้น เพื่อนำเอาสิ่งเหล่านั้นมาประกอบในการพิจารณาออกกฎหมาย การออกกฎหมายในบางเรื่องยังไม่เหมาะสมกับสภาพสังคมไทย อาจเป็นเพราะกฎหมายก้าวหน้าเกินไป คนในสังคมยังไม่เข้าใจเนื่องจากไม่เคยมีพื้นฐานในเรื่องเหล่านั้นมาก่อน ดังนั้นสถาบันสอนกฎหมายจึงต้องมีการสอนวิชาอื่นควบคู่ไปกับการเรียนกฎหมาย ด้วย จึงจะช่วยให้นักศึกษากฎหมายไม่มุ่งเน้นแต่ศึกษาถึงตัวบทกฎหมายอย่างเดียว จะได้ศึกษาความสัมพันธ์และอิทธิพลระหว่างวิชาการด้านอื่นๆ และอาจคิดหาแนวทางในการออกกฎหมายและการใช้กฎหมายที่ก่อให้เกิดประโยชน์แก่ ส่วนรวมและเหมาะสมกับสภาพสังคมในปัจจุบัน

ปัญหาการใช้กฎหมายของเจ้าพนักงานของรัฐ  

1. ความไม่รู้กฎหมายเพียงพอของเจ้าพนักงานของรัฐ

การทำงานของเจ้าพนักงานมักจะใช้การเรียนรู้จากประสบการณ์ที่ตนได้พบเจออยู่เป็นประจำ แต่ในบางครั้งเรื่องที่ได้รับแจ้งมานั้นอาจเป็นเรื่องที่ไม่ได้เกิดขึ้นบ่อยครั้งนัก จึงยากที่จะใช้กฎหมายถ้าไม่รู้จักวิธีการอ่านกฎหมาย ศึกษากฎหมาย และแปลความกฎหมายเพื่อปรับใช้ในคดีความที่เกิดขึ้น  อีกประการหนึ่ง เนื่องจากพนักงานตำรวจมีหน้าที่รักษากฎหมายทั่วไป ผิดกับเจ้าพนักงานอื่นๆที่มีหน้าที่ให้รักษาการเฉพาะเรื่องที่กฎหมายกำหนด ซึ่งมีความชำนาญในเรื่องนั้นโดยเฉพาะ เพราะบทกฎหมายที่รักษาการนั้นมีอย่างจำกัด การที่จะให้ความรู้แก่เจ้าพนักงานตำรวจเพิ่มขึ้นจึงเป็นเรื่องจำเป็น เพื่อให้รู้ถึงกฎหมายต่างๆ อย่างกว้างขวาง และรู้ถึงวิธีการและเทคนิคการใช้กฎหมาย จึงจะปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างถูกต้องเป็นธรรม

  1. 3.      การใช้ดุลพินิจอันไม่สมควรในการปฏิบัติหน้าที่

การใช้ดุลพินิจนั้นอาจมีหลายระดับตั้งแต่ในชั้นการสอบสวน การสั่งฟ้องคดีอัยการ การพิพากษาคดี หรือการออกคำสั่งคำร้องของผู้พิพากษา ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นการใช้ดุลพินิจที่กฎหมายเปิดโอกาสให้ใช้เพื่อความ ยุติธรรมในแต่ละขั้นตอนตามควรแก่กรณีทั้งสิ้น ในการใช้ดุลพินิจของพนักรัฐนั้น โดยมากมักมีการกำหนดแนวทางปฏิบัติไว้ ซึ่งส่วนใหญ่ก็จะมาจากนโยบายของหน่วยงาน และการปฏิบัติที่สืบต่อกันมา  หากการใช้ดุลพินิจของเจ้าพนักงานเป็นไปอย่างไม่เที่ยงธรรม การการละเว้นหรือให้อภิสิทธิ์แก่บุคคลบางกลุ่มก็ก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรม แก่บุคคลบางกลุ่มขึ้น  ซึ่งการใช้ดุลพินิจดังกล่าวจึงเป็นเรื่องที่ต้องแก้ไข เพื่อลดปัญหาที่เกิดขึ้นจากเจ้าพนักงาน มิฉะนั้นแล้วประชาชนจะรู้สึกเกลียดชังเจ้าพนักงานของรัฐ และรัฐก็จะไม่ได้รับความร่วมมือในการปฏิบัติตามกฎหมายจากประชาชน

สภาพปัญหาทางกฎหมายในปัจจุบัน

  1. 1.      กฎหมายมหาชนไทยที่ผ่านมาให้ความสำคัญกับระบบราชการแบบรวมศูนย์อำนาจ

สาเหตุของปัญหา

1)  ความสัมพันธ์ของระบบอุปถัมภ์ เป็นสาเหตุสำคัญทำให้ข้าราชการผู้มีอำนาจเป็นเจ้าคนนายคน ซึ่งอุปถัมภ์ค้ำชู้ปกป้องและปกครองผู้อยู่ใต้อุปถัมภ์ ทำให้สภาพกฎหมายไทยมีลักษณะให้อำนาจและเอกสิทธ์แก่ระบบราชการและข้าราชการ

2)  สังคมไทยในการเมืองเป็นสังคมอำนาจนิยม ในสังคมแบบนี้ยึดหลักอำนาจคือธรรม โดยความชอบธรรมถูกกำหนดโดยอำนาจปัจจุบันที่ผู้มีอำนาจมีอยู่ ดังนั้นระบบราชการและข้าราชการจึงเป็นศูนย์กลางแห่งอำนาจและการใช้อำนาจ เหนือประชาชน

3) การสร้างรัฐชาติให้เกิดขึ้นในสมัยรัชการที่ 5 เพื่อต่อต้านกระแสกดดันจากจักรวรรดินิยมโดยการปรับปรุงระบบศาลยุติธรรมให้ รวมศูนย์และเป็นเอกภาพ ปฏิรูปกฎหมายให้เป็นระบบกฎหมายลายลักษณ์อักษรแบบประมวลกฎหมาย กระบวนการเหล่านี้ประสพผลสำเร็จในการทำให้ชาติไทยคงเอกราชและอธิปไตยทางการ เมืองและการศาล แต่กระบวนการเหล่านี้เมื่อบ้านเมืองพัฒนามากกว่า 100 ปีสมควรจะต้องมีการปรับปรุงให้เหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจและสังคมโลกปัจจุบัน

ผลกระทบที่เกิดขึ้น

1) เกิดการเรียกร้องให้รัฐส่วนกลางกระจายอำนาจให้ท้องถิ่นมากขึ้น

2) ส่งเสริมให้ราชการฝ่ายบริหารเป็นแกนกลางของรัฐ จนกลายเป็นระบบที่ทรงพลังและปลอดจากการแทรกแซงของฝ่ายการเมืองและประชาชนมากเกินไป

2. กฎหมายมหาชนไทย ที่ผ่านมามุ่งให้อำนาจและเอกสิทธิ์แก่ระบบราชการมากกว่าควบคุมการใช้อำนาจ

สาเหตุของปัญหา

ลักษณะวัฒนธรรมในสังคมไทย 3 ประการที่สืบทอดกันมาแต่โบราณ กล่าวคือ วัฒนธรรมอุปถัมภ์ อำนาจนิยม และรวมศูนย์อำนาจ เป็นต้น เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้กฎหมายมหาชนไทยมุ่งให้อำนาจและเอกสิทธิ์แก่ระบบ ราชการมากกว่าการควบคุมการใช้อำนาจ

 ผลกระทบที่เกิดขึ้น

1) กฎหมายมีเนื้อหาไม่สมบูรณ์ ไม่ครบถ้วน ให้อำนาจแก่พนักงานมากเกินไป โดยปราศจากการควบคุม การใช้ดุลยพินิจที่ดี การที่กฎหมายมีสภาพเช่นนี้ ทำให้มีการใช้อำนาจเพื่อแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบ เป็นไปได้โดยง่าย

2) กฎหมายมุ่งการควบคุม ซึ่งบางครั้งไม่จำเป็น และซับซ้อนกันมา

3) ขั้นตอนตามกฎหมายและระเบียบข้อบังคับมีมากและล่าช้า สร้างความไม่แน่นอนให้เอกชน ความไม่แน่นอนและความล่าช้าเหล่านี้ สร้างความเสี่ยงในการลงทุนให้แก่เอกชนและทำให้เอกชนต้องเสียค่าใช้จ่ายโดยไม่จำเป็น

4) ความล้าสมัยของกฎหมาย กฎหมายหลายฉบับได้ตราขึ้นในสภาพสังคมแบบเก่า แต่ยังมีผลบังคับใช้ในปัจจุบัน และได้กลายเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาประเทศเป็นอย่างยิ่ง

5) ปริมาณกฎหมายมีมากและการมอบอำนาจให้ฝ่ายบริหารออกกฎหมาย       อนุบัญญัติได้ง่ายและปราศจากขอบเขตที่แน่นอน

6) กระบวนการนิติบัญญัติไทย เป็นกระบวนการที่ระบบราชการบริหารเป็นผู้กำหนดและเป็นกระบวนการที่ล่าช้าไม่ทันต่อการเปลี่ยนแปลง

3. ความสับสนของแนวความคิดในกฎหมายไทย

สาเหตุของปัญหา

1) การไม่ให้ความสำคัญกับกฎหมายในการเรียนการสอน นักกฎหมายไทยรุ่นเก่า ไม่ได้ให้ความสำคัญกับกฎหมายหมาชนเลย ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองในพ.ศ. 2475 การเรียนการสอนก็ยังไม่มากพอ ประกอบกับช่วงระยะเวลาที่เป็นการกำเนิดกฎหมายมหาชนก็สั้นเกินไป จนไม่อาจสร้างกฎหมายมหาชนได้อย่างแท้จริง เหตุนี้ทำให้พัฒนาการของกฎหมายมหาชนไทยค่อนข้างล้าหลัง

2) ความขัดแย้งทางความคิดของนักกฎหมายไทยที่สำเร็จการศึกษาจากภาคพื้นยุโรปและประเทศในกลุ่มคอมมอนลอว์

 ผลกระทบที่เกิดขึ้น

1) การแบ่งประเภทของกฎหมายและการบังคับใช้กฎหมาย

เนื่องจากความไม่แน่นอนการศึกษากฎหมายมหาชนไทย ทำให้แนวความคิดในการแบ่งแยกกฎหมายมีความสับสนหลายประการ คือ

1.1. ปัญหาการเป็นนิติบุคคลของรัฐในกฎหมายไทย

1.2. การใช้บังคับกฎหมายและการศึกษากฎหมาย นักกฎหมายไทยส่วนใหญ่ไม่แยกความแตกต่างระหว่างการแยกสาขากฎหมาย โดยคำนึงถึงกฎหมายกับการแยกสาขากฎหมาย เพื่อวัตถุประสงค์ในการสอนวิชากฎหมายในมหาวิทยาลัยออกจากกันได้

2) การเข้าใจหลักการแบ่งแยกอำนาจที่คลาดเคลื่อนของนักกฎหมายไทย นักกฎหมายไทยได้รับการศึกษามาจากต่างประเทศที่แตกต่างกันในระบบและแนวคิดทาง กฎหมาย ดังนั้น ความเข้าใจในหลักกฎหมายจึงต่างกัน โดยเฉพาะหลักการแบ่งแยกอำนาจ ซึ่งหลักการแบ่งแยกอำนาจนี้ได้กลายมาเป็นอุปสรรคประการหนึ่งในการศึกษา การจัดและการปรับปรุงกลไกของรัฐ ซึ่งเป็นขอบเขตของวิชากฎหมายปกครอง

4. การบังคับใช้กฎหมายและความล่าช้าในกระบวนการยุติธรรม

ปัญหาเกี่ยวกับการบังคับใช้กฎหมาย

ศาตราจารย์ ดร.อมร  จันทรสมบูรณ์  ได้วิเคราะห์เกี่ยวกับการบังคับใช้กฎหมาย ซึ่งพอสรุปได้ดังนี้

1) การบังคับใช้กฎหมาย คือมติที่สามของกฎหมาย สิ่งที่เรามองเห็นด้วยตานั้นมีสามมิติคือ ส่วนกว้าง ส่วนยาว และส่วนลึก มิติที่สามคือความลึก ตัวบทกฎหมายก็น่าจะเปรียบเทียบกับวัตถุที่เรามองไม่เห็นด้วยตาได้เช่นเดียว กัน ถ้านำตัวบทกฎหมายต่าง ๆ มาวิเคราะห์ดูให้ถ่องแท้ ว่าตัวบทกฎหมายเหล่านั้นได้ถูกนำมาใช้บังคับให้เกิดผลเป็นจริงได้เพียงใด เราจึงจะมองเห็นมิติที่สามของกฎหมายได้

2) เจตนารมณ์และกลไกของรัฐในแต่ละสาขาไม่เหมือนกันกฎหมายแต่ละสาขา มีเจตนาแตกต่างกันและรับก็สร้างกลไกของรัฐเพื่อบังคับการให้เป็นไปตามบท บัญญัติของกฎหมาย

ปัญหาเกี่ยวกับความล่าช้าในกระบวนการยุติธรรม

การอำนวยความยุติธรรมและการรักษาความสงบเรียบร้อยเป็นหน้าที่หลักของรัฐใน ทุกยุคทุกสมัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการปรับปรุงและเร่งรัดการอำนวยความยุติธรรมแก่ประชาชน ซึ่งเป็นเรื่องที่รัฐบาลได้ให้ความสำคัญอย่างมากปัญหาความล่าช้าในการอำนวยความยุติธรรมนั้นจะเห็นได้ว่าย่อมส่งผลกระทบกระเทือน ต่อประชาชนที่เกี่ยวข้องอย่างมากทั้งในคดีแพ่งและคดีอาญา

ในคดีแพ่งนั้น การที่คดีความล่าช้าไม่ว่าจะอยู่ในการพิจารณาของศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ หรือศาลฎีกาก็ดี หากในแต่ละคดีต้องใช้เวลาพิจารณานานหลายปี ย่อมไม่อาจเยียวยาความเดือดร้อนของคู่ความได้ แม้ในที่สุดศาลจะพิพากษาให้โจทก์ชนะคดีก็ตาม

ส่วนในคดีอาญานั้น การพิจารณาคดีที่ใช้เวลานานเกินไป ย่อมกระทบกระเทือนต่อเสรีภาพของจำเลย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีที่ศาล มีคำพิพากษายกฟ้อง หากจำเลยจำเป็นต้องถูกควบคุมตัวในระหว่างการพิจารณาด้วยแล้วด้วยแล้ว เสรีภาพที่สูญเสียไปย่อมไม่อาจแก้ไขได้

หน่วยที่ 5-3 การสนับสนุนพรรคการเมืองโดยรัฐ

การสนับสนุนพรรคการเมืองโดยรัฐ

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 กำหนดให้มีการจัดตั้งกองทุนเพื่อการพัฒนาพรรคการเมืองขึ้น เพื่อให้การสนับสนุนพรรคการเมือง และดำเนินการเกี่ยวกับการพัฒนาพรรคการเมือง โดยมีชื่อเรียกว่า “กองทุนเพื่อการพัฒนาพรรคการเมือง”

กองทุนเพื่อการพัฒนาพรรคการเมือง

คณะกรรมการการเลือกตั้ง ได้มีการแต่งตังคณะกรรมการขึ้นคณะหนึ่งเพื่อทำหน้าที่ในการจัดสรรเงินสนับสนุนแก่พรรคการเมือง ควบคุมดูแลการใช้จ่ายเงิน รวมถึงการพัฒนาพรรคการเมือง เรียกว่า “คณะกรรมการกองทุนเพื่อการพัฒนาพรรคการเมือง”

กองทุนเพื่อการพัฒนาพรรคการเมืองจัดตั้งขึ้นมาโดยมีเป้าหมายในการส่งเสริมและสนับสนุนให้พรรคการเมืองเป็นสถาบันทางการเมืองที่มั่นคง แข็งแรง โดยให้ประชาชนสามารถเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรมของพรรคการเมือง และดูแล กำกับ ตรวจสอบการดำเนินการของพรรคการเมือง

วิธีการจัดสรรเงินของกองทุนเพื่อการพัฒนาพรรคการเมือง

การจัดสรรเงินกองทุนฯ ให้แก่พรรคการเมืองนั้น พรรคการเมืองที่มีสิทธิจะต้องจัดทำแผนการดำเนินงานและแผนการใช้จ่ายเงินประจำปียื่นต่อคณะกรรมการการเลือกตั้ง โดยการจัดสรรเงินสนับสนุนจะจัดสรรตามหลักเกณฑ์ 4 ข้อ ดังนี้

  1. จัดสรรตามจำนวนคะแนนเสียงจากการเลือกตั้งแบบสัดส่วนที่ได้รับจากการเลือกตั้งทั่วไปครั้งหลังสุด ร้อยละ 40
  2. จัดสรรตามจำนวนคะแนนเสียงจากการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้งที่ได้รับจากการเลือกตั้งทั่วไปครั้งหลังสุด ร้อยละ 40
  3. จัดสรรตามจำนวนสาขาพรรคการเมือง ร้อยละ 10
  4. จัดสรรตามจำนวนสมาชิกซึ่งชำระค่าบำรุงรายปี ร้อยละ 10

รายงานการใช้จ่ายเงินสนับสนุนของพรรคการเมือง

พรรคการเมืองที่ได้รับเงินสนับสนุนต้องใช้จ่ายเงินสนับสนุนให้ถูกต้องตรงตามความเป็นจริง และจะต้องจัดทำรายงานการใช้จ่ายเงินสนับสนุนของพรรคการเมืองในรอบปีปฎิทินยื่นต่อคณะกรรมการการเลือกตั้ง ภายในเดือนมีนาคมของปีถัดไป

ถ้าหากพรรคการเมืองใดไม่จัดทำรายงานการใช้จ่ายเงินสนับสนุนของพรรคการเมืองภายในระยะเวลาที่กำหนดโดยไม่มีเหตุอันสมควร นายทะเบียนโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการการเลือกตั้งต้องดำเนินการเพื่อให้มีการยุบพรรคการเมืองนั้น

 

การสิ้นสภาพ การเลิก และการยุบพรรคการเมือง

การสิ้นสภาพพรรคการเมือง

  1. ไม่สามารถหาสมาชิก 5,000 คน และจัดตั้งสาขาภาคละ 1 สาขา ภายใน 1 ปี นับแต่วันจดแจ้งจัดตั้งพรรคการเมือง
  2. ไม่ส่งผู้สมัครเข้ารับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในการเลือกตั้งทั่วไป 2 ครั้งติดต่อกัน หรือเป็นเวลา 8 ปีติดต่อกัน (สุดแต่ระยะเวลาใดจะยาวกว่ากัน)
  3. มีสมาชิกพรรคเหลือไม่ถึง 5,000 คน เป็นระยะเวลาติดต่อกัน 1 ปี
  4. ไม่มีประชุมใหญ่พรรค หรือไม่มีการดำเนินกิจกรรมใดทางการเมืองติดต่อกัน 1 ปี

การเลิกพรรคการเมือง

  1. มีเหตุต้องเลิกตามข้อบังคับพรรคการเมือง
  2. มีการควบรวมพรรคการเมือง

    “…เมื่อปรากฎต่อนายทะเบียนพรรคการเมืองว่าพรรคการเมืองใดมีเหตุตามที่กล่าวมานั้น ให้นายทะเบียนฯ ดำเนินการสอบสวนข้อเท็จจริง ถ้าเห็นว่ามีเหตุดังกล่าวเกิดขึ้นจริง ให้นายทะเบียนฯ โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการการเลือกตั้งสั่งเลิกพรรคการเมืองนั้น…”

การยุบพรรคการเมือง

การกระทำที่อาจเป็นเหตุให้ศาลรัฐธรรมนูญสั่งให้ยุบพรรคการเมือง เช่น

  • กระทำการล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข หรือเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ
  • กระทำการฝ่าฝืนกฎหมาย ระเบียบ หรือประกาศของคณะกรรมการการเลือกตั้ง ซึ่งมีผลให้การเลือกตั้งมิได้เป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม
  • กระทำการอันเป็นปฎิปักษ์ต่อการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
  • กระทำการอันอาจเป็นภัยต่อความมั่นคงของรัฐทั้งภายในและภายนอกราชอาณาจักร หรือขัดต่อกฎหมาย หรือความสงบเรียบร้อย หรือศีลธรรมอันดีของประชาชน
  • รับบุคคลต่างด้าวเป็นสมาชิก, ช่วยเหลือผู้สมัครรับเลือกตั้งหรือผู้ได้รับการสรรหาให้เป็นสมาชิกวุฒิสภา, รับบริจาคจากแหล่งที่มาโดยมิชอบ หรือ รับบริจาคเพื่อบ่อนทำลายประเทศ หรือรับบริจาคจากบุคคลต้องห้าม, กระทำการกลั่นแกล้งพรรคการเมืองอื่น

ไม่รายงานการดำเนินกิจการของพรรคการเมือง หรือใช้จ่ายเงินสนับสนุนจากกองทุนไม่ถูกต้อง หรือไม่รายงานการใช้จ่ายเงินสนับสนุน

หน่วยที่ 5-2 พรรคการเมือง

ความหมายของพรรคการเมือง

     “พรรคการเมือง” หมายความว่า กลุ่มบุคคลที่มีอุดมการณ์ทางการเมืองที่สอดคล้องกันมารวมตัวกันเพื่อดำเนินกิจกรรมทางการเมือง โดยมีจุดมุ่งหมายสำคัญในการสรรหาและคัดเลือกบุคคลเข้าสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เพื่อเข้าไปมีส่วนร่วมในการใช้อำนาจบริหารและนิติบัญญัติ

พรรคการเมืองมีความสำคัญอย่างไรต่อการปกครองระบอบประชาธิปไตย?

พรรคการเมืองนั้นถือได้ว่ามีบทบาทและความสำคัญอย่างยิ่งต่อการปกครองระบอบประชาธิปไตย เนื่องจากว่าพรรคการเมืองคือสถาบันหลักที่ทำหน้าที่เป็นตัวเชื่อมโยงระหว่าง “ภาครัฐ” กับ “ภาคประชาชน” โดยที่พรรคการเมืองจะนำเอาปัญหาหรือความต้องการของประชาชนมาแปลงเป็นนโยบายของพรรค เพื่อนำนโยบายเหล่านั้นไปปฏิบัติเมื่อได้รับเลือกตั้งเข้าไปทำหน้าที่ฝ่ายนิติบัญญัติหรือฝ่ายบริหาร

องค์ประกอบของพรรคการเมือง

  • คณะบุคคลซึ่งมีความคิดเห็นหรืออุดมการณ์ทางการเมืองที่สอดคล้องมารวมตัวกัน เพื่อแสดงเจตนารมณ์ทางการเมืองร่วมกัน
  • มีการจดแจ้งจัดตั้งเป็นพรรคการเมืองถูกต้อง และมีการดำเนินกิจการของพรรคการเมือง ให้เป็นไปตามนโยบายและข้อบังคับของพรรคการเมือง

มีเป้าหมายที่สำคัญในการสรรหาและคัดเลือกสมาชิกของพรรคลงสมัครรับเลือกตั้ง เพื่อเข้าไปทำหน้าที่เป็นผู้แทนของประชาชนในการใช้อำนาจฝ่ายนิติบัญญัติและอำนาจฝ่ายบริหาร

การจดทะเบียนพรรคการเมือง

การจดทะเบียนพรรคการเมืองตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2550

ผู้จัดตั้งพรรคการเมืองต้องมีคุณสมบัติดังนี้ (มาตรา 8)

  1. มีสัญชาติไทยโดยกำเนิด หรือมีสัญชาติไทยโดยการแปลงสัญชาติมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี
  2. มีอายุไม่ต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์
  3. ไม่มีลักษณะต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญ

2. ต้องจัดให้มีการประชุมจัดตั้งพรรคการเมืองก่อนยื่นคำขอจัดตั้งพรรคการเมือง ดังนี้

  1. ต้องมีผู้จัดตั้งพรรคการเมืองเข้าร่วมประชุมไม่น้อยกว่า 15 คน (มาตรา 8)
  2. กิจกรรมที่ต้องดำเนินการในที่ประชุมอย่างน้อยต้องประกอบด้วย
  • การกำหนดนโยบายพรรคการเมือง
  • การกำหนดข้อบังคับพรรคการเมือง
  • การเลือกตั้งคณะกรรมการบริหารพรรคการเมือง
  1. คณะกรรมการบริหารพรรคการเมืองประกอบด้วย
  • หัวหน้าพรรคการเมือง
  • รองหัวหน้าพรรคการเมือง
  • เลขาธิการพรรคการเมือง
  • รองเลขาธิการพรรคการเมือง
  • เหรัญญิกพรรคการเมือง
  • นายทะเบียนสมาชิกพรรคการเมือง
  • โฆษกพรรคการเมือง
  • กรรมการบริหารอื่น

ซึ่งเลือกตั้งจากสมาชิกผู้มีสัญชาติไทยโดยการเกิด มีอายุไม่ต่ำกว่า 20 ปีบริบูรณ์ และไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 102 (1) (2) (3) (4) (5) (6) (7) (13) และ (14) ของรัฐธรรมนูญ

3.ผู้ที่ได้รับเลือกตั้งเป็นหัวหน้าพรรคการเมือง ยื่นคำขอจัดตั้งพรรคการเมืองต่อนายทะเบียนพรรคการเมือง พร้อมเอกสารประกอบ ดังนี้ (มาตรา 12) 

3.1 นโยบายพรรคการเมือง
3.2 ข้อบังคับพรรคการเมือง
3.3 บัญชีแสดงทรัพย์สินและหนี้สินของพรรคการเมือง
3.4 หนังสือยินยอมให้ใช้สถานที่เป็นที่ทำการพรรคการเมือง ซึ่งต้องอยู่ในราชอาณาจักร
3.5 สำเนารายงานการประชุมตั้งพรรคการเมือง

การยื่นจดแจ้งการจัดตั้งพรรคการเมืองตามวรรคหนึ่งต้องเป็นไปตามแบบที่นายทะเบียนกำหนดซึ่งอย่างน้อยต้องมีรายการดังต่อไปนี้
(1) ชื่อและชื่อย่อของพรรคการเมือง
(2) ภาพเครื่องหมายพรรคการเมือง
(3) ที่ตั้งสำนักงานใหญ่ของพรรคการเมือง
(4) ชื่อ อาชีพ ที่อยู่ และลายมือชื่อของผู้จดแจ้งการจัดตั้งพรรคการเมือง
(5) ชื่อ อาชีพ ที่อยู่ และลายมือชื่อของกรรมการบริหารพรรคการเมือง

4.เมื่อได้รับคำขอจัดตั้งพรรคการเมือง นายทะเบียนพรรคการเมืองต้องพิจารณาตรวจสอบ ในเรื่องดังต่อไปนี้

  • ผู้จดแจ้งการจัดตั้งพรรคการเมืองต้องเป็นผู้มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 8 และมีจำนวนไม่น้อยกว่า 15 คน
  • ชื่อ ชื่อย่อ และภาพเครื่องหมายพรรคการเมือง นโยบายและข้อบังคับพรรคการเมืองมีลักษณะและความมุ่งหมายที่ไม่ขัดต่อมาตรา 9
  • เอกสารการจดแจ้งการจัดตั้งพรรคการเมืองมีรายการครบถ้วนและถูกต้อง
  • คณะกรรมการบริหารพรรคการเมืองเป็นไปตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 11

ในกรณีที่นายทะเบียนตรวจสอบแล้วเห็นว่าการยื่นจดแจ้งการจัดตั้งพรรคการเมืองถูกต้องและครบถ้วน ให้นายทะเบียนโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการการเลือกตั้งรับจดแจ้งการจัดตั้งพรรคการเมือง และแจ้งเป็นหนังสือให้ผู้ยื่นจดแจ้งการจัดตั้งพรรคการเมืองทราบภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับคำขอ
ในกรณีที่นายทะเบียนตรวจสอบแล้วเห็นว่ามีรายการใดไม่เป็นไปตามวรรคหนึ่งให้นายทะเบียน
โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการการเลือกตั้งสั่งไม่รับจดแจ้งการจัดตั้งพรรคการเมือง และ
แจ้งเป็นหนังสือพร้อมทั้งเหตุผลให้ผู้ยื่นจดแจ้งการจัดตั้งพรรคการเมืองทราบภายในสามสิบวันนับแต่
วันที่นายทะเบียนได้รับการยื่นจดแจ้งการจัดตั้งพรรคการเมือง

5.การสั่งการของนายทะเบียนพรรคการเมือง

5.1 ในกรณีที่นายทะเบียนพรรคการเมืองได้ตรวจสอบแล้วเห็นว่าถูกต้อง และครบถ้วนจะแจ้งเป็นหนังสือให้ผู้ขอจัดตั้งพรรคการเมือง ทราบภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับคำขอจัดตั้งพรรคการเมือง และประกาศการจัดตั้งพรรคการเมืองในราชกิจจานุเบกษา และให้พรรคการเมืองที่นายทะเบียนรับจดแจ้ง การจัดตั้งแล้วเป็นนิติบุคคล (มาตรา 14 วรรคสอง มาตรา 18 และมาตรา 19)

5.2 ในกรณีที่นายทะเบียนพรรคการเมืองได้ตรวจสอบแล้วเห็นว่าคุณสมบัติหรือ จำนวนของผู้จัดตั้งพรรคการเมือง หรือนโยบายพรรค และข้อบังคับพรรค หรือคุณสมบัติของคณะกรรมการบริหารพรรค หรือชื่อพรรคการเมือง หรือภาพเครื่องหมายพรรคการเมือง ไม่เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด นายทะเบียน พรรคการเมืองจะสั่งไม่รับจดแจ้งการจัดตั้งพรรคการเมือง และแจ้งเป็นหนังสือพร้อมทั้ง เหตุผลให้ผู้ขอจัดตั้งพรรคการเมืองทราบภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ ได้รับคำขอจัดตั้งพรรคการเมือง (มาตรา 14 วรรคสาม)

5.3 ในกรณีที่นายทะเบียนพรรคการเมือง ได้ตรวจสอบแล้วเห็นว่า เอกสารการขอจัดตั้งพรรคการเมือง มีรายการไม่ครบถ้วน หรือมีข้อความไม่ชัดเจน หรือบกพร่อง จะแจ้งเป็นหนังสือให้ผู้ขอจัดตั้งทราบภายใน 7 วัน เพื่อดำเนินการแก้ไข หากผู้ขอจัดตั้ง พรรคการเมือง แก้ไขเอกสารให้ถูกต้อง ครบถ้วนภายในกำหนดระยะเวลาก็จะรับจดแจ้งการจัดตั้งพรรคการเมือง ถ้าผู้ขอจัดตั้ง พรรคการเมืองไม่ดำเนินการแก้ไขหรือแก้ไขแล้วแต่ยังไม่ถูกต้อง นายทะเบียนพรรคการเมืองจะสั่งไม่รับจดแจ้งการจัดตั้งพรรคการเมือง และแจ้งเป็นหนังสือให้ผู้ขอจัดตั้งพรรคการเมืองทราบภายใน 7 วัน (มาตรา 15)

5.4 ในกรณีที่มีผู้ขอจัดตั้งพรรคการเมืองซึ่งมีชื่อพรรคการเมือง หรือภาพเครื่องหมายพรรคการเมือง ซ้ำหรือพ้องหรือมีลักษณะ คล้ายคลึงกัน และยื่นคำขอ จัดตั้งพรรคการเมืองในวันเดียวกัน นายทะเบียนพรรคการเมืองจะสั่งให้ผู้ขอจัดตั้งพรรคการเมือง ทำความตกลงกันว่าผู้ใด จะเป็นผู้มีสิทธิใช้ชื่อ พรรคการเมืองหรือภาพเครื่องหมายพรรคการเมืองนั้น เมื่อได้ตกลงกันประการใดแล้ว นายทะเบียนพรรคการเมือง จะรับจดแจ้งการจัดตั้ง พรรคการเมืองตามที่ได้ตกลงกัน (มาตรา 16 วรรคหนึ่ง) (1)

5.5 ในกรณีผู้ขอจัดตั้งพรรคการเมืองที่เกี่ยวข้องยืนยันไม่ยอมตกลงกันหรือยังตกลงกันไม่ได้ นายทะเบียนพรรคการเมือง จะพิจารณา รับจดแจ้ง การจัดตั้งพรรคการเมือง จากผู้ขอจัดตั้งพรรคการเมืองที่เห็นว่า มีสิทธิที่จะใช้ชื่อพรรคการเมือง หรือภาพเครื่องหมาย พรรคการเมืองนั้นดีกว่า โดยพิจารณา ดังนี้ (มาตรา 16 วรรคหนึ่ง) (2)

6.การโต้แย้งคำสั่งไม่รับจดแจ้งการจัดตั้งพรรคการเมือง

ผู้จัดตั้งพรรคการเมืองซึ่งไม่เห็นด้วยกับคำสั่ง ไม่รับจดแจ้งการจัดตั้ง พรรคการเมืองของนายทะเบียนพรรคการเมือง มีสิทธิยื่นคำร้อง ต่อศาลรัฐธรรมนูญ เพื่อให้วินิจฉัยชี้ขาดภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับ หนังสือแจ้งคำสั่งไม่รับจดแจ้งการจัดตั้งพรรคการเมือง (มาตรา 17)

คุณสมบัติของสมาชิกพรรคการเมือง

ผู้ที่มีความประสงค์จะสมัครเป็นสมาชิกพรรคการเมือง จะต้องมีคุณสมบัติอย่างไร?

  1. มีสัญชาติไทยโดยการเกิด หรือมีสัญชาติไทยโดยการแปลงสัญชาติ ซึ่งได้สัญชาติมาแล้วไม่น้อยกว่า 5ปี
  2. มีอายุไม่ต่ำกว่า 18 ปี บริบูรณ์
  3. ไม่มีลักษณะต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญ
  • เป็นภิกษุ สามเณร นักพรต หรือนักบวช
  • อยู่ในระหว่างถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง
  • ต้องคุมขังอยู่โดยหมายของศาลหรือโดยคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย
  • วิกลจริต หรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ
  1. มิได้เป็นสมาชิกพรรคการเมืองอื่นอยู่ในขณะเดียวกัน

ในกรณีที่พรรคการเมืองใดแอบอ้างว่าผู้ใดสมัครเป็นสมาชิกพรรคโดยที่ผู้นั้นไม่รู้เห็นหรือไม่สมัครใจ ผู้ที่ถูกแอบอ้างหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากผู้ถูกแอบอ้างอาจแจ้งต่อนายทะเบียนพรรคการเมืองเพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริง และพิจารณาลบชื่อผู้นั้นออกจากการเป็นสมาชิกพรรคการเมืองนั้น โดยถือว่าผู้นั้นไม่เคยเป็นสมาชิกของพรรคการเมืองดังกล่าวมาตั้งแต่ต้น

ความเป็นสมาชิกพรรคการเมืองจะสิ้นสุดลงด้วยเหตุใดเหตุหนึ่ง ดังต่อไปนี้

  1. ตาย
  2. ลาออก (การลาออกจะสมบรูณ์เมื่อได้ยื่นใบลาออกต่อนายทะเบียนสมาชิกของพรรคการเมืองนั้นๆ)
  3. ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 19 พรป.พรรคการเมือง (เรื่อง คุณสมบัติการเป็นสมาชิกพรรคการเมือง)
  4. พรรคการเมืองมีมติให้ออกตามข้อบังคับพรรคการเมือง เพราะกระทำผิดวินัยหรือจรรยาบรรณอย่างร้ายแรง หรือมีเหตุร้ายแรงอื่น
  5. พรรคการเมืองที่ผู้นั้นเป็นสมาชิกสิ้นสภาพความเป็นพรรคการเมือง เลิก หรือ ยุบไป
  6. เป็นสมาชิกพรรคการเมืองในขณะเดียวกันเกินกว่าหนึ่งพรรคการเมือง

กระทำการอื่นตามที่กำหนดในข้อบังคับพรรคการเมือง

การจัดประชุมใหญ่ของพรรคการเมือง

การจัดประชุมใหญ่ของพรรคการเมืองถือได้ว่ามีความสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งต่อการดำเนินกิจกรรมของพรรคการเมือง โดยพรรคการเมืองจะต้องจัดให้มีการประชุมใหญ่ของพรรคการเมืองอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เนื่องจากกฎหมายกำหนดให้การดำเนินกิจการบางประเภทจะต้องกระทำโดยที่ประชุมใหญ่ของพรรคการเมือง ดังนี้

  1. การเปลี่ยนแปลงนโยบายและข้อบังคับของพรรคการเมือง
  2. การเลือกตั้งหัวหน้าพรรค รองหัวหน้าพรรค เลขาธิการพรรค รองเลขาธิการพรรค เหรัญญิกพรรค นายทะเบียนสมาชิกพรรค โฆษหกพรรค และกรรมการบริหารอื่นของพรรค
  3. การเลือกตั้งคณะกรรมการคัดเลือกผู้สมัครรับเลือกตั้งของพรรคการเมือง คณะกรรมการนโยบายพรรคการเมือง และคณะกรรมการส่งเสริมความเป็นประชาธิปไตยในพรรคการเมือง
  4. รายงานการดำเนินกิจการของพรรคการเมืองที่ได้ดำเนินการในรอบปีที่ผ่านมา
  5. แผนการดำเนินการสำหรับปีต่อไป โดยเฉพาะการหารายได้ การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในทางการเมือง และการพัฒนาบุคลากรทางการเมือง
  6. การแต่งตั้งผู้สอบบัญชีและการรับรองงบการเงินประจำปีของพรรคการเมือง
  7. กิจการที่เสนอโดยคณะกรรมการบริหารพรรคการเมือง ประธานสาขาพรรคการเมือง ไม่น้อยกว่า4 สาขา หรือตัวแทนสมาชิกจำนวนไม่น้อยกว่า 500 คน
  8. กิจการอื่นตามที่กำหนดในประกาศของคณะกรรมการการเลือกตั้ง

กิจการอื่นตามที่กำหนดในข้องบังคับพรรคการเมือง

การยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สิน

หัวหน้าพรรคการเมืองและกรรมการบริหารพรรคการเมือง มีหน้าที่ในการยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินของตน คู่สมรส และบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ พร้อมสำเนาหลักฐานพิสูจน์ความมีอยู่จริงของทรัพย์สินและหนี้สินในวันที่เข้ารับตำแหน่ง วันที่สภาผู้แทนราษฎรสิ้นอายุหรือถูกยุบ หรือวันที่พ้นจากตำแหน่ง แล้วแต่กรณีให้ถูกต้องครบถ้วนตามความเป็นจริงต่อนายทะเบียนพรรคการเมือง ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่เข้ารับตำแหน่ง วันที่สภาผู้แทนราษฎรสิ้นอายุ หรือถูกยุบ หรือพ้นจากตำแหน่ง

การบริจาคแก่พรรคการเมือง

เมื่อมีการบริจาคแก่พรรคการเมือง พรรคการเมืองจะต้องดำเนินการ ดังนี้

  1. ให้พรรคการเมืองออกหลักฐาน 
    พรรคการเมืองต้องออกหลักฐานการรับบริจาคให้แก่ผู้บริจาคตามแบบที่คณะกรรมการการเลือกตั้งกำหนด
  2. จัดทำบันทึการรับริจาค
    พรรคการเมืองจะต้องทำบันทึกการรับริจาคไว้เป็นหลักฐาน และจัดส่งบันทึกการรับบริจาคของพรรคการเมือง พร้อมเงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใดอันอาจคำนวณเป็นเงินได้เข้าบัญชีแสดงรายรับจากการบริจาคของพรรคการเมือง

    “ห้ามมิให้บุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลบริจาคให้แก่พรรคการเมืองใดพรรคการเมืองหนึ่งเกินกว่า 10 ล้านบาทต่อปี”

ผู้บริจาคสามารถนำไปลดหย่อนภาษี
ผู้บริจาคเงินแก่พรรคการเมืองมีสิทธินำจำนวนเงินที่บริจาคไปหักลดหย่อนภาษีได้
– กรณีบุคคลธรรมดา ไม่เกินปีละ 5,000 บาท
– กรณีนิติบุคคล ไม่เกินปีละ 20,000 บาท

การบริจาคแก่พรรคการเมือง ตั้งแต่
– 1,000 บาทขึ้นไป ให้เปิดเผยชื่อผู้บริจาค
– 5,000 บาทขึ้นไป เปิดเผยชื่อผู้บริจาคต่อสาธารณชน
– 20,000 บาทขึ้นไป ต้องบริจาคโดยวิธีการสั่งจ่ายเป็นตั๋วแลกเงินหรือเช็คขีดคร่อม
– 5,000,000 บาทขึ้นไป ต้องได้รับอนุมัติหรือสัตยาบันโดยมติืที่ประชุมผู้ถือหุ้นของนิติบุคคลหรือสมาชิกของนิติบุคคลนั้น

การบริจาคเงินภาษีในแก่พรรคการเมืองผ่านแบบ ภงด. 90,91

หลักเกณฑ์การบริจาค

  1. ผู้บริจาคต้องเป็นบุคคลธรรมดา มัสัญชาติไทย
  2. ผู้บริจาคต้องมีเงินภาษีที่ต้องชำระตั้งแต่ 100 บาทขึ้นไป
  3. กำหนดการยื่นแบบเริ่มในช่วงตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. – 31 มี.ค. ของทุกปี
  4. สถานที่ยื่นแบบตามที่กรมสรรพากรกำหนด

ขั้นตอนการบริจาค

  1. ยื่นแสดงความประสงค์ บริจาค หรือไม่บริจาคในช่องที่กำหนดไว้ในแบบ ภ.ง.ด. 90,91
  2. ใส่รหัสพรรคการเมืองที่ประสงค์จะบริจาค
  3. กรมสรรพากรจัดทำรายชื่อพรรคการเมืองที่ได้รับบริจาคเงินภาษีพร้อมจำนวนเงินภาษีที่ได้รับบริจาคส่งให้นายทะเบียนพรรคการเมือง และโอนเงินดังกล่าวให้แก่กองทุนเพื่อการพัฒนาพรรคการเมือง
  4. กองทุนเพื่อการพัฒนาพรรคการเมืองโอนเงินให้พรรคการเมืองที่ได้รับบริจาคเงินภาษีตามจำนวนที่ได้รับจากกรมสรรพากร

พรรคการเมืองใด สิ้นสภาพ เลิก ยุบ ก่อนที่กองทุนเพื่อการพัฒนาพรรคการเมืองจะโอนเงินให้แก่พรรคการเมืองนั้น ให้กองทุนเพื่อการพัฒนาพรรคการเมืองดำเนินการโอนเงินภาษีที่ได้รับบริจาคให้แก่พรคการเมืองนั้นกลับคืนเป็นรายได้แผ่นดิน

“…กฏหมายกำหนดให้รัฐต้องจัดสรรเงินสนับสนุนสมทบแก่พรรคการเมืองที่ได้รับบริจาคจากแบบ ภ.ง.ด. 90,91 อีกร้อยละ 5 ของจำนวนเงินบริจาคทั้งหมดที่ได้รับจากการแสดงเจตนารวมกัน…”

 

หน่วยที่ 5-1 สิทธิ เสรีภาพ และหน้าที่ของประชาชนชาวไทย

สิทธิ เสรีภาพ และหน้าที่ของประชาชนชาวไทยตามรัฐธรรมนูญ

สิทธิ หมายถึง สิ่งที่ไม่มีรูปร่างซึ่งมีอยู่ในตัวมนุษย์มาตั้งแต่เกิดหรือเกิดขึ้นโดยกฏหมาย เพื่อให้มนุษย์ได้รับประโยชน์ และมนุษย์จะเป็นผู้เลือกใช้สิ่งนั้นเอง โดยไม่มีผู้ใดบังคับได้ เช่น สิทธิในการกิน การนอน แต่สิทธิบางอย่างมนุษย์ได้รับโดยกฎหมายกำหนดให้มี เช่น สิทธิในการมี การใช้ทรัพย์สิน สิทธิในการร้องทุกข์เมื่อตนถูกกระทำละเมิดกฎหมาย เป็นต้น

เสรีภาพ หมายถึง การใช้สิทธิอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งได้อย่างอิสระ  แต่ทั้งนี้จะต้องไม่กระทบต่อสิทธิของผู้อื่น ซึ่งหากผู้ใดใช้สิทธิเสรีภาพเกินขอบเขตจนก่อความเดือดร้อนต่อผู้อื่น ก็ย่อมถูกดำเนินคดีตามกฎหมาย

หน้าที่ หมายถึง การกระทำหรือการละเว้นการกระทำเพื่อประโยชน์โดยตรงของการมีสิทธิหน้าที่เป็น สิ่งที่บังคับให้มนุษย์ในสังคมต้องปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ทางสังคมหรือกฎหมายบัญญัติไว้ จะไม่ปฏิบัติตามไม่ได้ ส่วนสิทธิและเสรีภาพเป็นสิ่งที่มนุษย์มีอยู่แต่จะใช้หรือไม่ก็ได้

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 ได้กำหนดสิทธิ เสรีภาพ และหน้าที่ของประชาชนชาวไทยไว้ดังนี้
1) สิทธิของปวงชนชาวไทย
1. สิทธิในครอบครัวและความเป็นอยู่ส่วนตัว ชาวไทยทุกคนย่อมได้รับความคุ้มครอง เกียรติยศ ชื่อเสียง และความเป็นอยู่ส่วนตัว
2. สิทธิอนุรักษ์ฟื้นฟูจารีตประเพณี บุคคลในท้องถิ่นและชุมชนต้องช่วยกันอนุรักษ์ฟื้นฟูจารีตประเพณี วัฒนธรรมอันดีงาม ภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อรักษาไว้ให้คงอยู่ตลอดไป
3. สิทธิในทรัพย์สิน บุคคลจะได้รับการคุ้มครองสิทธิในการครอบครองทรัพย์สินของตนและการสืบทอดมรดก
4. สิทธิในการรับการศึกษาอบรม บุคคลย่อมมีความเสมอภาคในการเข้ารับการศึกษาขึ้นพื้นฐาน 12 ปี อย่างมีคุณภาพและทั่วถึง โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
5. สิทธิในการรับบริการทางด้านสาธารณสุขอย่างเสมอภาคและได้มาตรฐาน สำหรับผู้ยากไร้จะได้รับสิทธิในการรักษาพยาบาลจากสถานบริการสาธารณสุขของรัฐ โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
6. สิทธิที่จะได้รับการคุ้มครองโดยรัฐ เด็กเยาวชน สตรี และบุคคลในสังคมที่ได้รับการปฏิบัติอย่างรุนแรงและไม่เป็นธรรมจะได้รับการ คุ้มครองโดยรัฐ
7. สิทธิที่จะได้รับการช่วยเหลือจากรัฐ เช่น บุคคลที่มีอายุเกินหกสิบปี และรายได้ไม่พอต่อการยังชีพ รัฐจะให้ความช่วยเหลือ เป็นต้น
8. สิทธิที่จะได้สิ่งอำนวยความสะดวกอันเป็นสาธารณะ โดยรัฐจะให้ความช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกอันเป็นสาธารณะแก่บุคคลในสังคม
9. สิทธิของบุคคลที่จะมีส่วนร่วมกับรัฐและชุมชน ในการบำรุงรักษาและการได้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ
10. สิทธิที่จะได้รับทราบข้อมูลข่าวสารจากหน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจหรือราชการส่วนท้องถิ่นอย่างเปิดเผย เว้นแต่การเปิดเผยข้อมูลนั้นจะมีผลต่อความมั่นคงของรัฐหรือความปลอดภัยของ ประชาชนส่วนรวม หรือเป็นส่วนได้ส่วนเสียของบุคคลซึ่งมีสิทธิได้รับความคุ้มครอง
11. สิทธิเสนอเรื่องราวร้องทุกข์โดยได้รับแจ้งผลการพิจารณาภายในเวลาอันควรตามบทบัญญัติของกฎหมาย
12. สิทธิที่บุคคลสามารถฟ้องร้องหน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจ ราชการส่วนท้องถิ่น หรือองค์กรของรัฐที่เป็นนิติบุคคลให้รับผิดชอบการกระทำหรือละเว้นการกระทำ ตามกฎหมายของเจ้าหน้าที่ของรัฐภายในหน่วยงานนั้น

2) เสรีภาพของปวงชนชาวไทย
1. เสรีภาพในเคหสถาน ชาวไทยทุกคนย่อมได้รับความคุ้มครองในการอาศัยและครอบครองเคหสถานโดยปกติสุข การเข้าไปในเคหสถานของผู้อื่นโดยปราศจากการยินยอมของผู้ครอบครอง หรือการเข้าไปตรวจค้นเคหสถานโดยไม่มีหมายค้นจากศาลย่อมทำไม่ได้
2. เสรีภาพในการเดินทางและการเลือกถิ่นที่อยู่ การเนรเทศบุคคลผู้มีสัญชาติไทยออกนอกราชอาณาจักรหรือห้ามมิให้บุคคลผู้มี สัญชาติไทยเข้ามาในราชอาณาจักรจะกระทำมิได้
3. เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นผ่านการพูด การเขียน การพิมพ์ การโฆษณาและการสื่อความหมายโดยวิธีอื่น จะจำกัดแก่บุคคลชาวไทยมิได้ เว้นแต่โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายเฉพาะเพื่อความมั่นคงของรัฐ เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน
4. เสรีภาพในการสื่อสารถึงกันโดยทางที่ชอบด้วยกฎหมาย การตรวจ การกัก หรือ การเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล รวมทั้งการกระทำต่าง ๆเพื่อเผยแพร่ข้อมูลนั้นจะกระทำมิได้
5. เสรีภาพในการนับถือศาสนา นิกาย ลัทธิ ความเชื่อทางศาสนา และเสรีภาพในการประกอบพิธีกรรมตามความเชื่อของตน โดยไม่เป็นปฏิปักษ์ต่อหน้าที่ของพลเมือง และไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ย่อมเป็นเสรีภาพของประชาชน
6. เสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธ การจำกัดเสรีภาพดังกล่าวจะกระทำไม่ได้ เว้นแต่โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติของกฎหมายเพื่อคุ้มครองประชาชนที่จะใช้ที่ สาธารณะหรือเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยเมื่อประเทศอยู่ในภาวะสงคราม หรือระหว่างประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน หรือประกาศใช้กฎอัยการศึก
7. เสรีภาพในการรวมตัวกันเป็นสมาคม สหพันธ์ สหองค์กร องค์กรเอกชน หรือหมู่คณะอื่น การจำกัดเสรีภาพต่าง ๆเหล่านี้จะกระทำมิได้ เว้นแต่อาศัยอำนาจกฎหมายเฉพาะเพื่อคุ้มครองประโยชน์ส่วนรวมของประชาชน การรักษาความสงบเรียบร้อยหรือป้องกันการผูกขาดในทางเศรษฐกิจ
8. เสรีภาพในการรวมตัวจัดตั้งพรรคการเมือง เพื่อดำเนินกิจกรรมทางการเมืองตามวิถีทางการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
9. เสรีภาพในการประกอบอาชีพและการแข่งขันโดยเสรีอย่างเป็นธรรม การจำกัดเสรีภาพดังกล่าวจะทำได้ โดยอาศัยกฎหมายเพื่อประโยชน์ในการรักษาความมั่นคงของรัฐหรือเศรษฐกิจของ ประเทศ และเพื่อป้องกันการผูกขาดหรือขจัดความไม่เป็นธรรมในการแข่งขันทางการค้า

3) หน้าที่ของประชาชนชาวไทย
1. บุคคลมีหน้าที่รักษาไว้ซึ่งชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์และการแกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
2. บุคคลมีหน้าที่ปฏิบัติตามกฎหมาย
3. บุคคลมีหน้าที่ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง บุคคลซึ่งไม่ไปเลือกตั้ง โดยไม่แจ้งเหตุผลอันสมควร ย่อมเสียสิทธิตามที่กฎหมายบัญญัติไว้
4. บุคคลมีหน้าที่ป้องกันประเทศ รับราชการทหาร
5. บุคคลมีหน้าที่เสียภาษีให้รัฐ
6. บุคคลมีหน้าที่ช่วยเหลือราชการ รับการศึกษาอบรม ปกป้องและสืบสานวัฒนธรรมของชาติ ภูมิปัญญาท้องถิ่น รวมถึงการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
7. บุคคลผู้เป็นข้าราชการ พนักงาน หรือลูกจ้างหน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจ ราชการส่วนท้องถิ่น มีหน้าที่ดำเนินการให้เป็นไปตามกฏหมายเพื่อรักษาประโยชน์ส่วนรวมอำนวยความ สะดวกและให้บริการแก่ประชาชน

แนวทางการปฏิบัติตนตามบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญ
1. เคารพสิทธิของกันและกัน โดยไม่ละเมิดสิทธิเสรีภาพของผู้อื่น เช่น สิทธิ เสรีภาพในชีวิตและร่างกาย สิทธิในครอบครัว เกียรติยศ ชื่อเสียง และความเป็นส่วนตัว เป็นต้น
2. รู้จักใช้สิทธิของตนเองและแนะนำให้ผู้อื่นรู้จักใช้และรักษาสิทธิของตนเอง เช่น การรักษาสิทธิในการเลือกตั้งเพื่อป้องกันไม่ให้มีการซื้อสิทธิขายเสียง
3. รณรงค์ เผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน และปลูกฝังแนวความคิดเรื่องสิทธิมนุษยชนให้แก่ชุมชนหรือสังคมตามสถานภาพและบทบาทที่ตนพึงกระทำได้ เช่น ให้ความรู้กับสมาชิกครอบครัว จากนั้นจึงค่อย ๆขยายไปยังสถาบันอื่น ๆ ในสังคม เช่น สถานศึกษา เป็นต้น
4. ร่วมมือกับหน่วยงานของภาครัฐและเอกชนเพื่อการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน เช่น การให้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิมนุษยชนแก่เจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือเป็นอาสาสมัครช่วยเหลืองานขององค์กรที่ปฏิบัติงานในการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน เป็นต้น
5. การปฏิบัติตามหน้าที่ของชาวไทยตามที่ได้บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ เช่น การเสียภาษีให้รัฐเพื่อนำเงินนั้นมาใช้พัฒนาประเทศ การเข้ารับราชการทหาร เพื่อเป็นกำลังสำคัญในการป้องกันประเทศ หรือการออกไปใช้สิทธิเลือกตั้ง เพื่อให้ได้คนดีเข้าไปบริหารบ้านเมืองให้มีความเจริญก้าวหน้า เป็นต้น
6. ส่งเสริม และสนับสนุนการดำเนินงานขององค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ สามารถทำได้โดยการให้ความช่วยเหลือด้านข้อมูลข่าวสารการทุจริตของข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐแก่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ หรือให้ความร่วมมือในการดำเนินงานของคณะกรรมการการเลือกตั้ง ไม่ว่าจะเป็นการให้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการทุจริตการเลือกตั้งประจำเขต เป็นต้น

 

หน่วยที่ 4-11 การค้ำประกัน

คนเราถ้าขัดสนเงินทองก็ต้องกู้เป็นหนี้เขา แต่เขาอาจจะไม่ยอมให้ กู้ถ้าไม่มีอะไรเป็นหลักประกันให้ความมั่นใจว่าเขาจะได้รับชำระหนี้คืน ค้ำประกันก็เป็นหลักประกันอันหนึ่ง ค้ำประกัน คือการที่ใครคนหนึ่งทำสัญญา กับเจ้าหนี้ว่าถ้าลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ ผู้ค้ำประกันจะชำระหนี้นั้นแทน เมื่อลูกหนี้ ไม่ชำระหนี้เจ้าหนี้ก็ย่อมมีสิทธิเรียกร้องหรือฟ้องให้ผู้ค้ำประกันรับผิดได้

การที่จะฟ้องให้ผู้ค้ำประกันรับผิดตามสัญญาค้ำประกันได้นั้น จะต้อง มีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้ค้ำประกันเป็นสำคัญมิใช่ตกลงกันด้วยปากเปล่าซึ่งฟ้องไม่ได้ ตามธรรมดาถ้าทำสัญญาค้ำประกันตามแบบซึ่งมีขาย อยู่ทั่วไป ก็ไม่ค่อยมีปัญหาเพราะเป็นแบบซึ่งทำโดยผู้รู้กฎหมาย แต่ถ้าทำกันเองก็อาจเกิดปัญหาได้ ถ้าเราเป็นเจ้าหนี้ก็ต้องระมัดระวังในข้อนี้ ในเอกสารนั้นต้องมีข้อความอันเป็นสาระสำคัญว่า ถ้าลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ผู้ค้ำประกันจะชำระหนี้แทน มิฉะนั้นอาจฟ้องผู้ค้ำประกันไม่ได้ เพราะไม่ใช่เป็น สัญญาค้ำประกันตามกฎหมาย

ขอบเขตความรับผิดของผู้ค้ำประกัน

ผู้ค้ำประกัน จะไม่จำกัดความรับผิดหรือจะจำกัดความรับผิดของตน ไว้ในสัญญาค้ำประกันด้วยก็ได้ ถ้าไม่ต้องการรับผิดอะไรบ้าง หรือต้องการ จำกัดขอบเขตความรับผิดไว้เพียงใด ก็ต้องระบุในสัญญาให้ชัดเจน เช่น ลูกหนี้กู้เงินเจ้าหนี้ ๑๐๐,๐๐๐ บาท อัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๑๕ ต่อปี ผู้ค้ำประกันจะจำกัดความรับผิดเฉพาะกรณีที่บุคคลนั้น ทำความเสียหายเนื่องจาก ทุจริตต่อหน้าที่ไม่รวมถึงประมาทเลินเล่อด้วยก็ได้ เมื่อจำกัดความรับผิดไว้ แล้วก็รับผิดเท่าที่จำกัดไว้ แต่ถ้าไม่จำกัดความรับผิดเมื่อลูกหนี้ผิดสัญญา ต่อเจ้าหนี้ ไม่ชำระเงินหรือค่าเสียหายมากน้อยเพียงใด ผู้ค้ำประกันก็ต้อง รับผิดจนสิ้นเชิงเช่นเดียวกับลูกหนี้ทุกอย่าง เมื่อทำสัญญาค้ำประกันแล้ว ผู้ค้ำประกันต้องผูกพันตามสัญญานั้น เจ้าหนี้มีสิทธิเรียกร้องหรือฟ้องให้รับผิดได้ เมื่อลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ตามกำหนด

สิทธิของผู้ค้ำประกัน

๑.      เมื่อผู้ค้ำประกันถูกเรียกร้องให้ชำระหนี้แทนลูกหนี้ มิใช่ผู้ค้ำประกันต้องชำระหนี้ทันที แต่มีสิทธิที่จะเกี่ยงให้เจ้าหนี้ไปเรียกร้องเอาจาก ลูกหนี้ก่อนได้ ทั้งนี้ภายใต้ข้อยกเว้นบางประการและถ้าถูกเจ้าหนี้ฟ้องเป็น จำเลยร่วมกับลูกหนี้ก็ยังมีสิทธิพิสูจน์ต่อศาลว่าลูกหนี้มีทรัพย์สินชำระหนี้ได้ และการที่จะบังคับเอาจากลูกหนี้นั้นไม่เป็นการยาก ถ้าผู้ค้ำประกันนำพยาน เข้าสืบและฟังได้เช่นนั้น ศาลก็ต้องบังคับเอาจากทรัพย์สินของลูกหนี้ก่อน เพราะหนี้ที่ผู้ค้ำประกันต้องชำระมิใช่เป็นหนี้ของผู้ค้ำประกันเอง ผู้ค้ำประกัน เป็นลูกหนี้ชั้นที่สอง บางกรณีเจ้าหนี้เอาเปรียบลูกหนี้และผู้ค้ำประกัน ในสัญญาสำเร็จรูป จะมีความว่า “ให้ผู้ค้ำประกันยอมรับผิดร่วมกับลูกหนี้” คือเป็นลูกหนี้ ร่วมเท่ากับให้ผู้ค้ำประกันรับผิดหนักขึ้น ดังนั้นก่อนเซ็นสัญญาค้ำประกันจึง ต้องพิจารณาว่าจะยอมรับผิดเช่นนั้นหรือไม่ ถ้ายอมรับผิดร่วมกับลูกหนี้ก็ไม่มีสิทธิที่จะเกี่ยงดังกล่าวข้างต้น

๒.      เมื่อผู้ค้ำประกันชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้แล้ว ไม่ว่าชำระแต่โดยดีหรือชำระหนี้โดยถูกบังคับตามคำพิพากษา ผู้ค้ำประกันก็มีสิทธิรับช่วงสิทธิของเจ้าหนี้ ในอันที่จะเรียกเอาเงินชำระให้เจ้าหนี้ใช้แล้วนั้น คืนจากลูกหนี้ได้ตามจำนวนที่ชำระไปตลอดจนทั้งค่าเสียหายต่าง ๆ เนื่องจากการค้ำประกัน
การเป็นผู้ค้ำประกันนั้นมีแต่เสีย ตามคำพังเพยที่ว่าเนื้อไม่ได้กิน หนังไม่ได้รองนั่ง มีแต่เอากระดูกมาแขวนคอ เพราะฉะนั้นก่อนที่จะเซ็นชื่อในสัญญาค้ำประกัน ต้องพิจารณาตัวลูกหนี้ซึ่งผู้ค้ำประกันจะ ชำระหนี้แทนให้ดีว่ามีความสามารถชำระหนี้ให้เจ้าหนี้ได้แค่ไหน และมี ความซื่อสัตย์สุจริตเพียงใด ทั้งต้องพิจารณาข้อความในสัญญาให้รอบคอบ บางทีกำหนดให้ผู้ค้ำประกันรับผิดหนักขึ้น หรือสละสิทธิบางอย่างอันอาจทำให้ไล่เบี้ยเอาจากลูกหนี้ไม่ได้ เมื่อเข้าใจข้อความ ในสัญญาดีแล้วจึงค่อยลงชื่อในสัญญาค้ำประกัน

การพ้นจากความรับผิดของผู้ค้ำประกัน

เมื่อเซ็นชื่อในสัญญาแล้วผู้ค้ำประกันก็มีภาระจะต้องรับผิดต่อเจ้าหนี้ จนกว่าหนี้ของลูกหนี้จะระงับไป ตราบใดที่หนี้ของลูกหนี้ยังมีอยู่ผู้ค้ำประกัน ก็ไม่พ้นความรับผิด แต่มีพฤติการณ์บางอย่างที่กฎหมายกำหนดไว้ให้ผู้ค้ำ ประกันพ้นความรับผิด

(๑) เจ้าหนี้ผ่อนเวลาให้แก่ลูกหนี้ คือถ้าได้กำหนดวันชำระหนี้ไว้แน่นอนแล้ว เจ้าหนี้ยืดเวลาต่อไปอีก ผู้ค้ำประกันก็พ้นความรับผิด

(๒) เมื่อหนี้ของลูกหนี้ถึงกำหนดชำระแล้ว ผู้ค้ำประกันเอาเงินไปชำระให้แก่เจ้าหนี้ แต่เจ้าหนี้ไม่ยอมรับโดยไม่มีเหตุอันจะอ้างกฎหมายได้ ผู้ค้ำประกันก็หลุดพ้นจากความรับผิดเช่นเดียวกัน

 

หน่วยที่ 4-10 การเช่าทรัพย์

๑.ทรัพย์ที่ให้เช่าได้

ทรัพย์สิ่งของใด เจ้าของย่อมนำออกให้ผู้อื่นเช่าได้เสมอไม่ว่าทรัพย์นั้นจะมีขนาดเล็กหรือใหญ่ เคลื่อนย้ายได้หรือไม่ได้ก็ตาม ทรัพย์ที่เช่านี้แบ่งได้ ๒ ประเภท

( ๑ ) อสังหาริมทรัพย์ คือ สิ่งที่ยึดติดอยู่กับพื้นดินเคลื่อนย้ายไม่ได้ เช่น ที่ดิน สวน บ้าน ตึกแถว เป็นต้น
( ๒ ) สังหาริมทรัพย์ คือ สิ่งที่สามารถเคลื่อนย้ายได้ เช่น ช้าง ม้า วัว ควาย รถยนต์ เรือ เกวียน เป็นต้น

๒.หลักฐานการเช่า

การเช่าอสังหาริมทรัพย์ ต้องมีการทำหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อฝ่ายที่ต้องรับผิด ( ผู้เช่าหรือผู้ให้เช่า ) ถ้าไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือจะฟ้องร้องให้ปฏิบัติตาม สัญญาเช่าไม่ได้

๓.หลักฐานเป็นหนังสือ

ไม่จำเป็นจะต้องเป็นรูปหนังสือสัญญาเช่าอสังหาริมทรัพย์ทั้งฉบับ แต่จะเป็นหนังสือใด ๆ ก็ย่อมได้ เช่น จดหมายที่ผู้ให้เช่าเขียนถึงกัน เพื่อตกลงราคาค่าเช่า หรือ ใบเสร็จรับเงิน ค่าเช่า เป็นต้น ดังนั้นหลักฐานเป็นหนังสือจะเป็นในลักษณะใดก็ได้ สำคัญอยู่ที่ว่า ข้อความในหนังสือนั้นแสดงให้เห็นว่าได้มีสัญญาเช่าอสังหาริมทรัพย์ก็พอจะใช้ยันผู้ให้เช่าหรือผู้เช่าแล้ว หลักฐานเป็นหนังสือนี้ ไม่จำเป็นจะต้องมีอยู่ในขณะตกลงทำสัญญาเช่าอสังหาริมทรัพย์นั้น แม้จะมีขึ้นภายหลังจากการตกลงทำสัญญาเช่าอสังหาริมทรัพย์แล้ว ก็ใช้ได้
ถ้ามีการเช่าอสังหาริมทรัพย์เกินกว่า ๓ ปี ( กฎหมายห้ามเกิน ๓๐ ปี ) หรือมีกำหนดตลอดอายุของผู้เช่า หรือผู้ให้เช่าจะต้องนำสัญญานั้นไปจดทะเบียนการเช่าต่อ พนักงานเจ้าหน้าที่ ถ้าเป็นการเช่าบ้านหรือ ตึกแถวต้องไปจดทะเบียน ณ ที่ว่าการอำเภอ ที่บ้าน หรือตึกแถวนั้นตั้งอยู่ ถ้าเช่าที่ดิน ( รวมทั้งบ้านด้วยก็ได้ ) ต้องไปจดทะเบียน ที่สำนักงานที่ดินประจำจังหวัด

การเช่าสังหาริมทรัพย์ แม้ว่า ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือ เช่นตกลงทำสัญญาเช่าด้วยวาจา ก็ฟ้องร้องบังคับกันได้

๔.การโอนความเป็นเจ้าของ

( ๑ ) ในอสังหาริมทรัพย์ที่เช่า ไม่ทำให้สัญญาเช่าที่ทำไว้เดิมสิ้นสุดลง เจ้าของคนใหม่ต้องยอมรับรู้ และผูกพันตามสัญญาเช่าที่เจ้าของเดิมทำไว้ เจ้าของ คนใหม่จึงกลายเป็นผู้ให้เช่า

( ๒ ) ในสังหาริมทรัพย์ ทำให้สัญญาเช่าสิ้นสุดลง เจ้าของคนใหม่ เรียกเอาทรัพย์ที่เช่าคืนได้ ถ้าผู้เช่าเสียหาย เช่น ให้ค่าเช่าล่วงหน้า ๒ เดือน ก็ต้องไปทวง คือเอาจากเจ้าของเดิม

๕. เช่าช่วง

คือ การที่ผู้เช่าเอาทรัพย์ที่ตนเช่าให้คนอื่นเช่าต่อไม่ว่าจะทั้งหมดหรือ แต่บางส่วน เช่น ก เช่าเรือ ข แล้ว ก เอาเรือที่ตนเช่าไปให้ ค เช่าต่อ การเช่าช่วงถือเป็นการผิดสัญญาเช่า ผู้ให้เช่ามีสิทธิบอกเลิกสัญญา เรียกเอาทรัพย์ ที่เช่าคืนได้ เว้นแต่ผู้ให้เช่าอนุญาต ในกรณีเช่นนี้เมื่อมีการเช่าช่วง ผู้เช่าช่วง ต้องรับผิดชอบโดยตรงต่อผู้ให้เช่า

๖.สัญญาเช่าต่างตอบแทนชนิดพิเศษนอกเหนือไปจากสัญญาเช่าธรรมดา

คือ การที่ผู้เช่าตกลงทำการอย่างหนึ่งอย่างใดให้เกิดประโยชน์ใน ทรัพย์ที่เช่า เช่น ผู้เช่า รับซ่อมแซมและต่อเติมบ้านเช่า ปลูกต้นไม้ ลงในดินที่เช่า หรือออกเงินช่วยค่าก่อสร้างตึกที่เช่า เป็นต้น สัญญาชนิดนี้มีผลผูกพันและฟ้องร้องบังคับกันได้ แม้ไม่มีหลักฐานการเช่า หรือแม้ว่า เป็นการเช่าอสังหาริมทรัพย์ เกินกว่า ๓ ปี ก็ไม่ต้องทำเป็นหนังสือและ จดทะเบียน ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ นอกจากนี้ผู้เช่ายังสามารถ ฟ้องบังคับผู้ให้เช่า จดทะเบียนการเช่าได้ด้วย

เมื่อผู้เช่าตายสัญญาชนิดนี้ไม่ระงับ ทายาทของผู้เช่า ( พ่อ แม่ ลูก หลานของผู้เช่า ) มีสิทธิเช่าได้ต่อไปจนกว่าจะครบอายุสัญญา

๗. การสิ้นสุดแห่งสัญญาเช่า

( ๑ ) ถ้าเป็นสัญญาเช่ามีกำหนดเวลาการเช่าไว้ เมื่อสิ้นเวลาที่ได้ตกลงกันไว้แล้ว สัญญาเช่าก็หมดอายุ ( ๒ ) สัญญาเช่าย่อมระงับลงเมื่อทรัพย์สินซึ่งให้เช่าสูญหายไป ทั้งหมด เช่น บ้านที่เช่าถูกไฟไหม้
( ๓ ) สัญญาเช่าระงับลงเมื่อผู้เช่าถึงแก่ความตาย
( ๔ ) วิธีการบอกเลิกสัญญาเช่าชนิดที่ไม่กำหนดระยะเวลา ที่ให้เช่านั้น ทั้งฝ่ายผู้ให้เช่าและผู้เช่าต่างมีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้ โดยการให้คำบอกกล่าว เลิกสัญญา ซึ่งต้องบอกกล่าวล่วงหน้า ในระยะเวลา ไม่น้อยกว่ากำหนดชำระค่าเช่า ระยะหนึ่ง เช่น กำหนดชำระค่าเช่าเป็นรายเดือน ให้บอกกล่าวล่วงหน้า ๑ เดือน
( ๕ ) ถ้าผู้เช่าผิดนัดไม่ชำระค่าเช่า ผู้ให้เช่าสามารถ บอกเลิกสัญญาเช่าได้ทันที ถ้าการเช่านั้นมีการตกลงชำระค่าเช่ากัน น้อยกว่ารายเดือน เช่น ชำระเป็นรายวัน รายสัปดาห์ หรือรายปักษ์ เป็นต้น แต่หากมีการตกลงชำระค่าเช่ากันเป็นรายเดือน หรือกว่ารายเดือน ผู้ให้เช่าต้องบอกกล่าวแก่ผู้ให้ชำระค่าเช่า ภายในเวลาอย่างน้อย ๑๕ วัน หากผู้เช่าไม่ชำระค่าเช่า ในเวลาที่กำหนด ผู้ให้เช่าบอกเลิกสัญญาเช่าได้

 

หน่วยที่ 4-9 การเช่าซื้อ

๑.      ความหมาย

สัญญาเช่าซื้อ คือ สัญญาที่เจ้าของทรัพย์สินเอาทรัพย์สินของตนออกให้ผู้อื่นเช่า เพื่อใช้สอยหรือเพื่อให้ได้รับประโยชน์ และให้คำมั่นว่าจะขายทรัพย์นั้น หรือจะให้ทรัพย์สินที่เช่าตกเป็นสิทธิแก่ผู้เช่าซื้อ เมื่อได้ใช้เงินจนครบตามที่ตกลงไว้โดยการชำระเป็นงวด ๆ จนครบตามข้อตกลง

สัญญาเช่าซื้อมิใช่สัญญาซื้อขายผ่อนส่ง แม้ว่าจะมีลักษณะคล้ายคลึงกันเรื่องชำระราคาเป็นงวด ๆ ก็ตาม เพราะการซื้อขายผ่อนส่งนั้นกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินเป็นของผู้ซื้อทันทีขณะทำสัญญา ไม่ต้องรอให้ชำระราคาครบแต่ประการใด ส่วนเรื่องสัญญาเช่าซื้อ เมื่อผู้เช่าบอกเลิกสัญญาบรรดาเงินที่ได้ชำระแล้ว ให้ริบเป็นของเจ้าของทรัพย์สิน และเจ้าของทรัพย์สินชอบที่จะกลับเข้าครอบครองทรัพย์สินที่เช่าได้

๒.     แบบของสัญญาเช่าซื้อ

สัญญาเช่าซื้อจะต้องทำเป็นหนังสือ จะทำด้วยวาจาไม่ได้ มิฉะนั้น จะเป็นโมฆะเสียเปล่า ทำให้ไม่มีผลตามกฎหมายที่จะผูกพัน ผู้เช่าซื้อกับผู้ให้เช่าซื้อได้ การทำสัญญาเป็นหนังสือนั้น จะทำกันเองก็ได้ไม่จำเป็น ต้องทำต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ผู้เช่าซื้อจะเขียนสัญญาเอง หรือจะใช้แบบพิมพ์ที่มีไว้กรอก ข้อความลงไปก็ได้ หรือจะให้ใครเขียนหรือพิมพ์ให้ทั้งฉบับก็ได้ แต่สัญญานั้นจะต้องลงลายมือชื่อของผู้เช่าซื้อ และผู้ให้เช่าซื้อ ทั้งสองฝ่ายหากมีลายมือชื่อของคู่สัญญาแต่เพียงฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง เอกสารนั้นหาใช่สัญญาเช่าซื้อไม่

๓.      สิทธิและหน้าที่ของคู่สัญญา

ผู้เช่าซื้อมีสิทธิได้รับมอบทรัพย์สินที่เช่าซื้อในสภาพที่ปลอดจาก ความชำรุดบกพร่องหรือในสภาพอันซ่อมแซมดีแล้วเพราะผู้ให้เช่าซื้อ มีหน้าที่และความรับผิดชอบในเรื่องทรัพย์สินที่ชำรุดบกพร่อง แม้ว่าผู้ให้เช่าซื้อจะทราบถึงความชำรุดบกพร่องหรือไม่ก็ตาม

ดังนั้น เวลาท่านไปทำสัญญาเช่าซื้อทีวีสีเครื่องหนึ่ง เจ้าของร้านมีหน้าที่ต้องส่งมอบทีวีสีในสภาพที่สมบูรณ์ ไม่มีส่วนที่ผิดปกติแต่ประการใด ถ้าท่านตรวจพบว่า ปุ่มปรับสีหลวมหรือปุ่มปรับเสียงหลวมก็ดี ท่านต้องบอกให้ เจ้าของร้านเปลี่ยนทีวีสีเครื่องใหม่แก่ท่าน เพราะในเรื่องนี้ เป็นสิทธิของท่านตามกฎหมาย และเจ้าของไม่มีสิทธิที่ จะบังคับท่านให้รับทีวีสีที่ชำรุดได้

ผู้เช่าซื้อมีสิทธิบอกเลิกสัญญาในเวลาใดก็ได้ด้วยการส่งมอบ ทรัพย์สินกลับคืนให้แก่ผู้ให้เช่าซื้อ โดยตนเองจะต้องเสีย ค่าใช้จ่ายในการส่งคืน การที่กฎหมายบัญญัติเช่นนี้ ก็เพราะเงินที่ผู้เช่าซื้อได้ชำระให้แก่ผู้ให้เช่าซื้อเป็นงวด ๆ เปรียบเสมือนการชำระค่าเช่า ดังนั้น ผู้เช่าซื้อจะบอกเลิกสัญญา ก็ได้ การแสดงเจตนาบอกเลิกสัญญาจะต้องส่งมอบทรัพย์สินคืน ให้แก่เจ้าของถ้ามีการแสดงเจตนาว่าจะคืนทรัพย์สินให้ภายหลัง หาเป็นการเลิกสัญญาที่สมบูรณ์ไม่ การบอกเลิกสัญญาจะต้องควบคู่ ไปกับการส่งคืนในขณะเดียวกัน

ผู้เช่าซื้อผิดนัดไม่ชำระเงินสองคราวติดกันหรือกระทำผิดสัญญา ในข้อที่เป็นสาระสำคัญ เจ้าของทรัพย์สินที่ให้เช่าซื้อมีสิทธิบอกเลิก สัญญาเมื่อใดก็ได้ ส่วนเงินที่ชำระราคามาแล้วแต่ก่อน ให้ตกเป็นสิทธิของเจ้าของทรัพย์สินโดยถือเสมือนว่าเป็นค่าเช่า ผู้เช่าซื้อไม่มีสิทธิเรียกคืนจากเจ้าของได้ และเจ้าของทรัพย์สินก็ไม่มีสิทธิเรียกเงินที่ค้างชำระได้ การผิดนัดไม่ชำระจะต้องเป็นการไม่ชำระสองงวดติดต่อกัน หากผิดนัดไม่ใช้เงินเพียงครั้งเดียวหรือหลายครั้งแต่ไม่ติด ๆ กัน เช่น ผิดนัดไม่ใช้เงินเดือนกุมภาพันธ์, เมษายน, มิถุนายน, สิงหาคม ฯลฯ แต่ชำระค่าเช่าซื้อสำหรับเดือนมกราคม, มีนาคม, พฤษภาคม, กรกฎาคม ฯลฯ สลับกันไปเช่นนี้ แม้จะผิดนัดกี่ครั้งกี่หนก็ตาม ผู้ให้เช่าซื้อหาอาจใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาได้ไม่

ในการผิดสัญญาในส่วนที่เป็นสาระสำคัญ หมายความว่า สัญญาเช่าซื้อนั้นมีวัตถุประสงค์ให้ผู้เช่าซื้อ มีสิทธิใช้สอยทรัพย์สินและครอบครองในกรรมสิทธิ์ของผู้ให้เช่าซื้อ จนกว่าจะชำระราคาครบตามข้อตกลง ถ้าผู้เช่าซื้อนำทรัพย์สินไปจำนำและไม่ชำระเงิน ถือว่าผิดสัญญาเช่าซื้อ เจ้าของมีสิทธิบอกเลิกสัญญา และผู้เช่าซื้อมีความผิดอาญาฐานยักยอกทรัพย์ได้อีก เนื่องจากกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินยังเป็นของผู้ให้เช่าซื้ออยู่

อนึ่ง ในกรณีผู้เช่าซื้อกระทำผิดสัญญา เพราะผิดนัดไม่ใช้เงินซึ่งเป็นงวดสุดท้ายนั้น เจ้าของทรัพย์สินมีสิทธิจะริบบรรดาเงินที่ชำระมาแล้วแต่ก่อนและ ยึดทรัพย์กลับคืนไปได้ต่อเมื่อรอให้ผู้เช่าซื้อมาชำระราคา เมื่อถึงกำหนดชำระราคาในงวดถัดไป ถ้าไม่มาผู้ให้เช่าซื้อริบเงินได้

 

หน่วยที่ 4-8 การจำนอง

จำนองก็เป็นหลักประกันหนี้อีกประการหนึ่ง จำนอง คือการที่ใครคนหนึ่งเรียกว่า ผู้จำนอง เอาอสังหาริมทรัพย์อันได้แก่ ที่ดิน บ้านเรือน เป็นต้น ไปตราไว้แก่บุคคลอีกคนหนึ่งเรียกว่า ผู้รับจำนอง หรือนัยหนึ่ง ผู้จำนองเอาทรัพย์สินไปทำหนังสือจดทะเบียนต่อเจ้าพนักงาน เพื่อเป็นประกัน การชำระหนี้ของลูกหนี้ โดยไม่ต้องส่งมอบทรัพย์ที่จำนองให้เจ้าหนี้ ผู้จำนองอาจเป็นตัวลูกหนี้เองหรือจะเป็นบุคคลภายนอกก็ได้ เช่น นายดำกู้เงินนาย แดง ๑๐๐,๐๐๐ บาท เอาที่ดินของตนเองจำนองหรือนายเหลืองซึ่งเป็นบุคคล ภายนอกเอาที่ดินจำนอง จดทะเบียนที่สำนักงานที่ดินเป็นประกันหนี้ของนายดำก็ทำได้เช่นเดียวกัน เมื่อจำนองแล้วถ้าลูกหนี้ไม่ชำระหนี้เจ้าหนี้ก็มีอำนาจยึดทรัพย์ที่จำนองออกขายทอดตลาดเอาเงินชำระหนี้ได้ และมีสิทธิพิเศษได้รับชำระหนี้ก่อนเจ้าหนี้ธรรมดาทั่วไป
กู้เงินแล้วมอบโฉนด หรือ น.ส.๓ ให้เจ้าหนี้ยึดถือไว้มิใช่จำนอง เจ้าหนี้ไม่มีสิทธิพิเศษเป็นเพียงเจ้าหนี้ธรรมดา แต่มีสิทธิยึดโฉนดหรือ น.ส.๓ ไว้ตามข้อตกลงจนกว่าลูกหนี้จะชำระหนี้ ฉะนั้นถ้าจะทำจำนอง ก็ต้องจดทะเบียนให้ถูกต้อง

ทรัพย์สินที่จำนอง

ทรัพย์สินที่จำนองได้ คืออสังหาริมทรัพย์ อันหมายถึง ทรัพย์ที่ไม่ สามารถเคลื่อนที่ได้ เช่น ที่ดิน บ้านเรือน เรือกสวนไร่นา เป็นต้น นอกจาก นั้นสังหาริมทรัพย์ คือทรัพย์ที่เคลื่อนที่ได้บางอย่าง เช่น เรือกำปั่น เรือกลไฟ แพที่อยู่อาศัย และสัตว์พาหนะ ถ้าได้จดทะเบียนไว้แล้ว ก็อาจนำมาจำนอง ได้ดุจกัน เมื่อเจ้าของทรัพย์นำไปจำนองไม่จำเป็นต้องส่งมอบทรัพย์ที่จำนอง ให้แก่เจ้าหนี้ เจ้าของยังคงครอบครองใช้ประโยชน์ เช่น อยู่อาศัยในบ้าน หรือ ทำสวนทำไร่หาผลประโยชน์ได้ต่อไป นอกจากนั้นอาจจะโอนขายหรือนำไปจำนองเป็นประกันหนี้รายอื่นต่อไปก็ย่อมทำได้ ส่วนเจ้าหนี้นั้นการที่ลูกหนี้ นำทรัพย์ไปจดทะเบียนจำนอง ก็นับได้ว่าเป็นประกันหนี้ได้อย่างมั่นคง ไม่จำเป็นต้องเอาทรัพย์นั้นมาครอบครองเอง

ผู้จำนองต้องระวัง

ผู้มีสิทธิจำนองได้ คือเจ้าของหรือผู้มีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน ถ้าเจ้าของจำนองทรัพย์สินด้วยตนเองก็ไม่มีปัญหา แต่ถ้ามอบอำนาจให้บุคคล อื่นไปทำการจำนองแทน บางกรณีก็ อาจเกิดปัญหาได้ ข้อควรระมัดระวัง คือ ควรเขียนใบมอบฉันทะหรือใบมอบอำนาจให้ชัดเจนว่าให้ทำการ จำนอง ไม่ควรเซ็นแต่ชื่อแล้วปล่อยว่างไว้ อันบุคคลอื่นนั้นอาจกรอกข้อความ เอาเอง แล้วนำไปทำประการอื่นอันไม่ตรงตามความประสงค์ของเรา เช่น อาจเพิ่มเติมข้อความว่ามอบอำนาจให้โอนขาย แล้วขายเอาเงินใช้ประโยชน์ ส่วนตัวเสีย เป็นต้น เราผู้เป็นเจ้าของทรัพย์ผู้มอบอำนาจอาจจะต้องถูกผูกพันตามสัญญาซื้อขายนั้น เพราะถือว่าประมาทเลินเล่ออยู่ด้วย

ผู้รับจำนองต้องระวัง

ผู้รับจำนองทรัพย์สินก็ต้องระมัดระวังเช่นกัน ควรติดต่อกับเจ้าของ ทรัพย์หรือเจ้าของที่ดินโดยตรง และควรตรวจดูที่ดินทรัพย์สินที่จำนอง ว่ามีอยู่ จริงตรงกับโฉนด เคยปรากฏว่ามีผู้นำโฉนดที่ดินไปประกันผู้ต้องหาหรือจำเลย แต่ที่ดินตามโฉนดนั้นกลับเป็นถนนเหลือจากการจัดสรร หรือที่ดินตามโฉนด นั้นพังลงน้ำไปหมดแล้ว ดังนั้นผู้รับจำนองจึงไม่ควรรับจำนอง หรือติดต่อ ทำสัญญากับคนอื่นหรือผู้ที่อ้างว่าเป็นตัวแทน เพราะถ้าปรากฏในภายหลังว่า บุคคลนั้นทำใบมอบฉันทะ หรือใบมอบอำนาจปลอมขึ้นแล้วนำที่ดินของผู้อื่น มาจำนอง แม้เราผู้รับจำนองจะมีความสุจริตอย่างไร เจ้าของอันแท้จริงก็มี สิทธิติดตามเอาคืนที่ดินของเขาได้ โดยไม่ต้องไถ่ถอน

ผู้รับโอนและผู้รับจำนองซ้อนก็ต้องระวัง

ทรัพย์ที่จำนองนั้นเจ้าของจะนำไปจำนองซ้ำ หรือโอนขายต่อไปก็ย่อม ทำได้ ผู้รับจำนองคนหลังต้องพิจารณาว่าทรัพย์นั้นเมื่อขายทอดตลาดจะมีเงิน เหลือพอชำระหนี้ของตนหรือไม่ เพราะเจ้าหนี้คนแรกมีสิทธิได้รับชำระหนี้ก่อน คนหลังมีสิทธิแต่เพียงจะได้รับชำระหนี้เฉพาะส่วนที่เหลือผู้รับโอนหรือผู้ซื้อ ทรัพย์ที่จำนองก็ต้องระวังเช่นเดียวกันเพราะรับโอนทรัพย์โดยมีภาระจำนอง ก็ต้องไถ่ถอนจำนองโดยชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ มิฉะนั้นเจ้าหนี้ก็มีสิทธิที่จะ บังคับจำนองยึดทรัพย์เอาที่ดินออกขายทอดตลาด ซึ่งถ้าผู้รับโอนสู้ราคาไม่ได้ ทรัพย์หลุดมือไปเป็นของคนอื่น ดังนั้นที่ซื้อมาก็เสียเงินเปล่า

 

หน่วยที่ 4-7 การจำนำ

สัญญาจำนำ คือสัญญาซึ่งบุคคลคนหนึ่งเรียกว่า ผู้จำนำ ส่งมอบ สังหาริมทรัพย์ให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่งเป็นผู้ครอบครองเรียกว่า ผู้รับจำนำ เพื่อประกันการชำระหนี้ ทรัพย์สินที่จำนำได้คือ ทรัพย์สินที่สามารถเคลื่อนที่ ได้ เช่น วิทยุ โทรทัศน์ ช้าง ม้า โค กระบือ และเครื่องทองรูปพรรณ สร้อย แหวน เพชร เป็นต้น ตัวอย่างเช่น นาย ก กู้เงินนาย ข จำนวน ๕๐,๐๐๐ บาท เอาแหวนเพชรหนึ่งวงมอบให้นาย ข ยึดถือไว้เป็นประกันการชำระหนี้เรียกว่า นาย ก เป็นผู้จำนำ และนาย ข เป็นผู้รับจำนำ ผู้จำนำอาจเป็นบุคคลภายนอก เช่น ถ้าแทนที่นาย ก จะเป็นผู้ส่งมอบแหวนเพชรให้เจ้าหนี้ กลับเป็นนาย ค ก็เรียกว่า เป็นผู้จำนำ ผู้จำนำไม่จำเป็นต้องเป็นลูกหนี้เสมอไป

ผู้รับจำนำต้องระวัง

ผู้จำนำต้องเป็นเจ้าของทรัพย์ คือมีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่จำนำ ใครอื่นจะเอาทรัพย์ของเขาไปจำนำหาได้ไม่ เพราะฉะนั้นถ้ายักยอก ยืมหรือ ลักทรัพย์ของเขามาหรือได้ทรัพย์ของเขามาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายประการ อื่นแล้วเอาไปจำนำ เจ้าของอันแท้จริงก็ย่อมมีอำนาจติดตามเอาคืนได้โดยไม่ ต้องเสียค่าไถ่ เพราะฉะนั้นผู้รับจำนำต้องระวังควรรับจำนำจากบุคคลที่รู้จัก และเป็นเจ้าของทรัพย์เท่านั้น มิฉะนั้นอาจจะเสียเงินเปล่า ๆ

สิทธิหน้าที่ผู้รับจำนำ

เมื่อรับจำนำแล้วทรัพย์สินที่จำนำก็อยู่ในความครอบครองของผู้รับจำนำตลอดไป จนกว่าผู้จำนำจะรับคืนไปโดยการชำระหนี้ ในระหว่างนั้น ผู้รับจำนำมีหน้าที่เกี่ยวกับทรัพย์สินที่จำนำบางประการ

๑. ต้องเก็บรักษาและสงวนทรัพย์ที่จำนำให้ปลอดภัย ไม่ให้สูญหาย หรือเสียหาย เช่น รับจำนำแหวนเพชรก็ต้องเก็บในที่มั่นคง ถ้าประมาท เลินเล่อวางไว้ไม่เป็นที่เป็นทาง คนร้ายลักไปอาจจะต้องรับผิดได้

๒. ไม่เอาทรัพย์ที่จำนำออกใช้เอง หรือให้บุคคลภายนอกใช้สอยหรือ เก็บรักษา มิฉะนั้นถ้าเกิดความเสียหายใด ๆ ขึ้นก็ต้องรับผิดชอบ เช่น เอา แหวนที่จำนำสวมใส่ไป เที่ยวถูกคนร้ายจี้เอาไปก็ต้องใช้ราคาให้เขา

๓. ทรัพย์สินจำนำบางอย่าง ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษา เช่น จำนำสุนัขพันธุ์ดี โค กระบือหรือม้าแข่ง อาจจะต้องเสียค่าหญ้า อาหาร และยารักษาโรค ผู้จำนำต้องชดใช้แก่ผู้รับจำนำ มิฉะนั้นผู้รับจำนำก็มีสิทธิ ยึดหน่วงทรัพย์ที่จำนำไว้ก่อน ไม่ยอมคืนให้จนกว่าจะได้รับชำระหนี้ครบถ้วน

การบังคับจำนำ

เมื่อหนี้ถึงกำหนดลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ ผู้รับจำนำก็มีสิทธิบังคับจำนำได้ คือ
๑. เอาทรัพย์สินที่จำนำออกขายทอดตลาด คือกระทำได้เองไม่ต้อง ขออำนาจเจ้าพนักงาน ซึ่งตามธรรมดาก็ให้บุคคลซึ่งมีอาชีพทางดำเนิน ธุรกิจขายทอดตลาดเป็นผู้ขาย แต่ก่อนที่จะขายทอดตลาดผู้รับจำนำจะต้อง บอกกล่าวเป็นหนังสือ ไปยังลูกหนี้ก่อนให้ชำระหนี้และหนี้ที่เกี่ยวเนื่องกัน เช่น ดอกเบี้ย ค่ารักษาทรัพย์ที่จำนำ เป็นต้น ภายในเวลาอันสมควร
๒. ถ้าผู้รับจำนำจะไม่บังคับตามวิธีที่ ๑ เมื่อลูกหนี้ไม่ชำระหนี้เพื่อ ไถ่ถอนทรัพย์ที่จำนำคืนไป เจ้าหนี้ผู้รับจำนำจะยื่นฟ้องต่อศาล ให้ขายทอด ตลาดทรัพย์ที่จำนำก็ย่อมทำได้ ไม่มีอะไรห้าม
ข้อสังเกต

(๑) เงินที่ได้จากการขายทอดตลาดต้องนำมาชำระหนี้พร้อมด้วยอุปกรณ์ คือค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ถ้ามีเงินเหลือก็คืนแก่ผู้จำนำไป เพราะเป็น เจ้าของทรัพย์ ถ้ามีเจ้าหนี้ หลายคน ผู้รับจำนำก็มีสิทธิได้รับชำระหนี้ก่อน เจ้าหนี้อื่น

(๒) เมื่อถึงกำหนดชำระหนี้แล้วคู่สัญญาจะตกลงกันให้ทรัพย์สินที่ จำนำตกเป็นของผู้รับจำนำก็ย่อมทำได้ ถือว่าเป็นการชำระหนี้ด้วยของอื่น แต่จะตกลงกันเช่นนี้ในขณะทำสัญญาจำนำ หรือก่อนหนี้ถึงกำหนดหาได้ไม่

 

หน่วยที่ 4-6 การขายฝาก

๑. ความหมาย

สัญญาขายฝากเป็นสัญญาซื้อขายซึ่งสิทธิแห่งความเป็นเจ้าของ ในทรัพย์สินตกไปยังผู้ซื้อ โดยผู้ซื้อตกลงในขณะทำสัญญาว่า ผู้ขายมีสิทธิไถ่ทรัพย์สินนั้นคืนได้ภายในกำหนดเวลาเท่าใด แต่ต้องไม่เกินเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้ เช่น ขายที่ดินโดยมีข้อตกลงว่า ถ้าผู้ขายต้องการซื้อคืน ผู้ซื้อจะยอมขายคืนเช่นนี้ถือว่าเป็นข้อตกลงให้ไถ่คืนได้

ตัวอย่าง นายสีนำสวนทุเรียนไปขายกับผู้ใหญ่ผิน โดยมีข้อตกลง ในขณะทำสัญญาว่า ผู้ใหญ่ผิน ยินยอมให้นายสีไถ่ที่ สวนทุเรียนนั้นคืนได้ภายในกำหนด ๑ ปี นับแต่วันที่ซื้อขายที่สวนกัน สัญญาชนิดนี้เรียกว่า สัญญาขายฝาก ข้อตกลงที่ว่า ” ผู้ขายอาจไถ่ทรัพย์คืนได้ ” ข้อตกลงนี้จะต้องมีขึ้นในขณะที่ทำสัญญาซื้อขายกันเท่านั้น ถ้าทำขึ้นภายหลังจากที่ได้ทำสัญญาซื้อขายกันแล้ว สัญญาดังกล่าวไม่ใช่สัญญาฝากขาย แต่เป็นเพียงคำมั่นว่าจะ ขายคืน เท่านั้น

๒. ทรัพย์สินที่สามารถขายฝากได้

ทรัพย์สินทุกชนิดไม่ว่าจะเป็นประเภทใดก็ตาม เช่น ที่ดิน ที่สวน ไร่นา บ้าน รถยนต์ เรือ เกวียน โทรทัศน์ ฯลฯ ย่อมสามารถ ขายฝากได้เสมอ

๓. แบบของสัญญาขายฝาก

( ๑ ) ถ้าเป็นการขายฝากอสังหาริมทรัพย์ ( คือ ทรัพย์ที่เคลื่อนที่ไม่ได้ ) เช่น ที่ดิน ที่นา บ้าน ฯลฯ ต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ในกรณีที่ เป็นที่ดินต้องจดทะเบียนต่อเจ้าพนักงานที่ดิน ถ้าเป็นบ้านก็ จดทะเบียนต่อ ที่ว่าการอำเภอที่บ้านนั้นตั้งอยู่ ถ้าไม่ทำตามนี้แล้ว ถือว่าสัญญาขายฝากนี้เสียเปล่า เป็นอันใช่ไม่ได้ เท่ากับว่า ไม่ได้ทำสัญญากันเลย
ตัวอย่าง นายทุเรียนต้องการขายฝากที่ดิน ๑ แปลง แก่นายส้มโอ ก็ต้องทำสัญญา ขายฝากที่ดินและจดทะเบียนการขายฝากที่ดินนี้ ต่อเจ้าพนักงานที่ดิน ถ้าไม่ทำเช่นนี้ ถือว่าสัญญาขายฝาก รายนี้เสียเปล่าใช้ไม่ได้มาตั้งแต่แรก

( ๒ ) ถ้าเป็นการขายฝากสังหาริมทรัพย์ชนิดพิเศษ ( คือ ทรัพย์ที่เคลื่อนที่ได้ ซึ่งกฎหมายกำหนดไว้ เป็นพิเศษว่าจะต้องทำเป็นหนังสือและ จดทะเบียนต่อเจ้าหน้าที่ ) เช่น แพ เรือยนต์ สัตว์พาหนะ ฯลฯ ต้องทำเป็นหนังสือ และจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ โดยเรือจะต้องจดทะเบียนที่ กรมเจ้าท่าสัตว์พาหนะและแพจะต้อง จดทะเบียนที่อำเภอ ถ้าไม่ทำตามนี้แล้วถือว่าสัญญาขายฝากจะเสียเปล่า ใช้บังคับไม่ได้เลย

( ๓ ) ถ้าเป็นการขายฝากสังหาริมทรัพย์ชนิดธรรมดา ( คือ ทรัพย์ที่เคลื่อนที่ไม่ได้แต่กฎหมายไม่ได้กำหนดไว้ว่า ต้องทำเป็นหนังสือ และจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ) ที่มีราคาตั้งแต่ ๕๐๐ บาทขึ้นไป เช่น รถยนต์ ตู้เย็น แหวน สร้อย นาฬิกา โทรทัศน์ ฯลฯ การขายฝากชนิดนี้ ต้องมีหลักฐาน เป็นหนังสือลงลายมือชื่อฝ่ายที่ต้องรับผิดชอบเป็นสำคัญ หรือต้องมีการวางมัดจำหรือจำต้องมีการชำระหนี้บางส่วน อย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้ ถ้าไม่ทำตามนี้แล้วกฎหมายถือว่า สัญญาขายฝากรายนี้ต้องห้ามมิให้มีการฟ้องร้องบังคับคดี

๔. ข้อตกลงไม่ให้ผู้ซื้อฝากจำหน่ายทรัพย์สินที่ขายฝาก

ในการตกลงฝากคู่สัญญาจะตกลงกันไม่ให้ผู้ซื้อฝาก จำหน่ายทรัพย์สิน ที่ขายฝากก็ได้ แต่ถ้าผู้ซื้อฝากฝ่าฝืน ข้อตกลงที่กำหนดในสัญญาโดยนำทรัพย์สินที่ขายฝากไป จำหน่ายให้ผู้อื่น ผู้ซื้อฝากจะต้องรับผิดชดใช้ ความเสียหายใด ๆ ที่เกิดขึ้นแก่ผู้ขายฝาก
ตัวอย่าง นางดำ นำแหวนแต่งงานของตนซึ่งมีราคา ๗๐,๐๐๐ บาท ไปขายฝากต่อเถ้าแก่เฮงในราคา ๕๐,๐๐๐ บาท โดยในสัญญาตกลงว่า ” ห้ามเถ้าแก่เฮงนำแหวนไปขายให้แก่บุคคลอื่น ” ต่อมาเถ้าแก่เฮงนำแหวน ไปขายให้แก่นางจิ๋ว โดยนางจิ๋วไม่ทราบว่าแหวนนี้เป็นของผู้ใด เป็นเหตุ ให้นางดำไม่สามารถติดตามเอาแหวนคืนได้ เช่นนี้เถ้าแก่เฮงต้องชดใช้ ค่าเสียหายอันเป็นราคาแหวน ๒๐,๐๐๐ บาท ให้แก่นางดำ

๕. กำหนดเวลาในการไถ่ทรัพย์สินคืน

( ๑ ) ถ้าเป็นการขายฝากอสังหาริมทรัพย์ ต้องกำหนดเวลา ในการใช้สิทธิไถ่คืน ไม่เกิน ๑๐ ปีนับแต่วันที่มีการซื้อขายฝากกัน แต่ถ้าไม่ได้กำหนดเวลาในการไถ่เอาไว้ หรือกำหนดเวลาไว้เกินกว่า ๑๐ ปี กฎหมายให้ลดเวลาลงเหลือแค่ ๑๐ ปีเท่านั้น

( ๒ ) ถ้าเป็นสังหาริมทรัพย์ชนิดพิเศษและชนิดธรรมดา ต้องกำหนดเวลาไถ่คืนไม่เกิน ๓ ปีนับแต่วันที่มีการซื้อขายกัน แต่ถ้าไม่ได้ กำหนดเวลาในการไถ่คืนเอาไว้ หรือกำหนดเวลาไว้เกินกว่า ๓ ปี ให้ลดเวลาลงเหลือ ๓ ปี เท่านั้น

กฎหมายกำหนดไว้ว่า กำหนดเวลาไถ่นั้น อาจทำสัญญาขยายเวลาไถ่ถอนได้
กำหนดเวลาไถ่ถอนทรัพย์สินที่ขายฝากนั้น เดิมกฎหมายไม่อนุญาตให้ขยายเวลา แต่กฎหมายในปัจจุบัน ( ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๔๑ ) อนุญาตให้ขยายเวลาได้ โดยต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อของผู้รับไถ่ ส่วนทรัพย์สินที่ต้องจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ เช่น ที่ดิน บ้าน เป็นต้น การขยายเวลาไถ่ต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงาน เจ้าหน้าที่ อย่างไรก็ดีระยะเวลาที่ขยายไปจะต้องไม่เกินเวลา ที่อาจไถ่ทรัพย์ได้ ตาม ( ๑ ) หรือ ( ๒ )

๖. สินไถ่

ตามกฎหมายเดิม สินไถ่จะกำหนดไว้เท่าไรก็ได้ตามแต่จะตกลงกัน ซึ่งทำให้การกำหนดสินไถ่เป็นช่องทางให้ผู้ซื้อฝากคิดประโยชน์ ตอบแทนได้สูงกว่าการให้กู้โดยปกติ ซึ่งกฎหมายควบคุมการเรียกอัตราดอกเบี้ยไว้ไม่เกินร้อยละ ๑๕ ต่อปี แต่กฎหมายในปัจจุบัน ( พ.ศ. ๒๕๔๒ ) สินไถ่ถ้าไม่กำหนดกันไว้จะไถ่ได้ตามราคาขายฝาก แต่ถ้าสินไถ่นั้น กำหนดกันไว้ กฎหมายจำกัดการกำหนดสินไถ่ว่าจะต้องไม่เกิน ราคาขายฝากรวมกับประโยชน์ตอบแทนร้อยละ ๑๕ ต่อปี เช่น ทรัพย์ที่ขายฝากไว้ราคา ๑๐,๐๐๐ บาท กำหนดเวลาไถ่ ๑ ปี สินไถ่ที่จะตกลงกันต้องไม่เกิน ๑๑,๕๐๐ บาท ถ้าตกลงเกินกว่านั้น ผู้ขายฝากสามารถขอไถ่ได้ในราคา ๑๑,๕๐๐๐ บาท

ในกรณีที่ครบกำหนดเวลาไถ่ทรัพย์ถ้าผู้ซื้อฝากไม่ยอมรับไถ่ ผู้ขายฝาก มีสิทธิวางเงินสินไถ่ต่อสำนักงานวางทรัพย์ได้ และมีผลให้ทรัพย์ที่ขายฝากตกเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ขอไถ่ทันที

 

หน่วยที่ 4-5 การซื้อขาย

ในชีวิตประจำวันของเราแต่ละคนนั้น ต้องทำสัญญากันวันละหลาย ๆ ครั้ง ในบางครั้งเราเองอาจจะไม่รู้สึกว่าเป็นการทำสัญญา เพราะเป็นไปใน ได้แก่ สัญญาซื้อขาย เพียงแค่เราตื่นขึ้นมา เราอาจต้องทำสัญญาซื้อยาสีฟัน แปรงสีฟัน ต้องทำสัญญาซื้อข้าวรับประทานหรือซื้อเครื่องดื่ม แม้แต่โค้กแก้ว เดียวก็ถือว่าเราได้ทำสัญญาซื้อขายแล้ว ดังนั้น เราจะเห็นได้ว่า การซื้อขาย ที่ทำกันโดยปกติทั่วไปดังที่ได้ยกตัวอย่างมานั้นไม่ได้มีปัญหา หรือความสลับ ซับซ้อนอะไรมากมายจนจะทำให้เราต้องนึกถึงกฎหมายในเรื่องของสัญญาซื้อ ขาย แต่เนื่องจากการซื้อขายทรัพย์สินบางอย่างในปัจจุบัน อาจเป็นทรัพย์สิน ที่มีราคาค่างวด หรือมีความสำคัญต่อชีวิตของเราอย่างมาก กฎหมายจึง กำหนดวิธีการในการซื้อขายทรัพย์สินดังกล่าวไว้เป็นพิเศษว่า สัญญาซื้อขาย ทรัพย์สินดังกล่าวนั้นจะต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงาน เจ้าหน้าที่เพื่อที่ผู้ซื้อหรือผู้ขายจะได้คิดไตร่ตรองให้รอบคอบก่อนที่จะทำการ ซื้อขายกันให้เสร็จสิ้นไป และเพื่อที่จะได้มีหลักฐานในการซื้อขายกันอย่างชัด เจน ตลอดทั้งการที่จะรู้แน่นอนว่าใครเป็นเจ้าของทรัพย์สินดังกล่าวนั้น การ ซื้อขายทรัพย์สินเหล่านี้ก็เช่น การซื้อขายบ้านและที่ดินที่เราใช้อยู่อาศัย เป็นต้น

ดังนั้น เราจึงควรทำความเข้าใจหลักเกณฑ์ในการซื้อขายทรัพย์สิน ประเภทต่าง ๆ ไว้บ้าง เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นได้

สำหรับสัญญาซื้อขายนั้น ก็คือสัญญาที่ผู้ขายโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ สินให้แก่ผู้ซื้อ และผู้ซื้อตกลงว่าจะใช้ราคาทรัพย์สินนั้นให้แก่ผู้ขาย

การโอนกรรมสิทธิ์ หมายถึง การโอนความเป็นเจ้าของในทรัพย์สิน ที่ซื้อขายนั้นไปให้แก่ผู้ซื้อ ผู้ซื้อเมื่อได้เป็นเจ้าของก็สามารถที่จะใช้ ได้รับ ประโยชน์ หรือจะขายต่อไปอย่างไรก็ได้

สำหรับเรื่องราคาทรัพย์สิน จะชำระเมื่อไรนั้นเป็นเรื่องที่ผู้ซื้อผู้ขาย จะต้องตกลงกัน ถ้าตกลงกันให้ชำระราคาทันทีก็เป็นการซื้อขายเงินสด ถ้า ตกลงกันชำระราคาในภายหลังในเวลาใดเวลาหนึ่งเพียงครั้งเดียวตามที่ตกลง กันก็เป็นการซื้อขายเงินเชื่อ แต่ถ้าตกลงผ่อนชำระให้กันเป็นครั้งคราวก็เป็น การซื้อขายเงินผ่อน สำหรับการซื้อขายเงินผ่อนนั้นเป็นที่นิยมมากในปัจจุบัน เนื่องจากความต้องการในทางวัตถุมีมาก แต่รายได้มีน้อยไม่เพียงพอที่จะซื้อ สิ่งอำนวยความสะดวกได้ทันทีหลาย ๆ อย่าง เช่น โทรทัศน์ วิทยุ ตู้เย็น วิดีโอ ก็เลยนิยมที่จะซื้อเงินผ่อน

อย่างไรก็ตาม โดยปกติในการทำสัญญาซื้อขายทรัพย์สินนั้นทันทีที่ทำ สัญญา กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินชิ้นนั้นก็จะโอนไปยังผู้ซื้อทันที แม้ว่าจะยัง ไม่ได้ส่งมอบทรัพย์สินชิ้นนั้นให้ผู้ซื้อหรือแม้ผู้ซื้อจะยังไม่ได้ชำระเงินค่าทรัพย์ สินนั้นก็ตาม ผู้ซื้อก็ได้ความเป็นเจ้าของไปแล้ว ยกเว้นแต่ในกรณีของการ ซื้อเงินผ่อนนั้น ผู้ซื้อและผู้ขายอาจจะตกลงกันว่าเมื่อผ่อน ชำระเงินกันเสร็จ แล้ว กรรมสิทธิ์ค่อยโอนไปเช่นนี้ก็ทำได้ แต่เนื่องจากการซื้อเงินผ่อนนี้ ผู้ซื้อ มักได้ทรัพย์สินนั้นไปใช้ก่อน แล้วค่อย ๆ ผ่อนใช้ราคาของทรัพย์สินที่จะต้อง จ่ายจึงมักจะรวมดอกเบี้ยไปด้วย ทำให้ผู้ซื้อซื้อทรัพย์นั้นในราคาที่แพงกว่า ท้องตลาดหรือเมื่อซื้อเป็นเงิน ดังนั้น หากผู้ซื้อไม่ลำบากจนเกินไปใน การซื้อเป็นเงินสดแล้ว ก็ควรจะซื้อเป็นเงินสด จะได้ประหยัดไม่ต้องซื้อของ แพง

๑. หลักเกณฑ์ในการทำสัญญาซื้อขาย

(๑) ต้องมีบุคคล คือ ตัวผู้ซื้อและตัวผู้ขาย ซึ่งทั้งสองคนนั้นจะ ต้องมีความคิด สติปัญญาพอสมควรที่จะตัดสินใจทำสัญญากันได้เอง ซึ่งก็ คือต้องเป็นคนบรรลุนิติภาวะโดยปกติก็คือ มีอายุ ๒๐ ปีบริบูรณ์
(๒) ผู้ซื้อต้องมีความต้องการที่จะซื้อและผู้ขายต้องมีความต้องการ ที่จะขายทรัพย์สินสิ่งนั้นจริง ๆ โดยทั้งสองฝ่ายได้แสดงความต้องการของตน ให้อีกฝ่ายหนึ่งรู้ด้วย
(๓) ผู้ซื้อและผู้ขายต้องมีเป้าหมายในการทำสัญญาซื้อขาย ซึ่งก็คือ ผู้ซื้อมีเป้าหมายที่จะได้กรรมสิทธิ์หรือความเป็นเจ้าของทรัพย์สินนั้น ส่วนผู้ ขายก็มีเป้าหมายที่จะได้เงินหรือราคาของทรัพย์สินนั้น และเป้าหมายของทั้ง สองฝ่ายนี้จะต้องไม่มีกฎหมายห้ามไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรม อันดีของประชาชน และต้องเป็นเป้าหมายที่อาจจะเกิดขึ้นได้ด้วย ตัวอย่าง แดงทำสัญญาซื้อเฮโรอีนจากดำ สัญญาซื้อขายนี้บังคับกันไม่ได้ เพราะการ ซื้อขายเฮโรอีนมีเป้าหมายที่ผิดกฎหมาย หรือเขียวทำสัญญาซื้อบ้านจาก เหลืองเพื่อทำเป็นซ่องโสเภณี สัญญาซื้อขายนี้ก็บังคับไม่ได้เพราะเป็นเป้าหมาย ขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน หรือขาวทำสัญญาขายเด็กหญิงฟ้า ซึ่งเป็นบุตรสาวให้กับน้ำเงินสัญญาซื้อขายนี้ก็บังคับไม่ได้ เพราะมีเป้าหมาย ขัดต่อศีลธรรมอันดีของประชาชน
(๔) ผู้ขายต้องโอนกรรมสิทธิ์ให้กับผู้ซื้อ เราต้องเข้าใจด้วยว่าการ โอนกรรมสิทธิ์นี้ ตัวกรรมสิทธิ์เป็นสิ่งที่ไม่มีตัวตนแต่เป็นสิ่งที่กฎหมายสมมติ ขึ้น การโอนกรรมสิทธิ์จึงอาจจะเกิดขึ้น แม้ว่าผู้ซื้อจะยังไม่ได้รับมอบทรัพย์ ไปไว้ใช้สอยหรือไปไว้ในความครอบครองก็ตาม
(๕) ผู้ซื้อต้องตกลงว่าจะชำระราคาทรัพย์สินนั้นให้กับผู้ขาย ในกรณี นี้เพียงแต่ตกลงว่าจะชำระก็พอแล้ว ยังไม่จำเป็นต้องมีการชำระกันจริง ๆ ก็ได้

๒. วิธีการในการทำสัญญาซื้อขาย

(๑) วิธีการในการทำสัญญาซื้อขายโดยปกติ คือการที่ผู้ซื้อและผู้ขาย ต่างได้แสดงความจำนงว่าต้องการซื้อขายทรัพย์สินสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ซึ่งการ แสดงความจำนงนั้นอาจจะทำโดยปากเปล่าก็ได้ หรือทำเป็นลายลักษณ์อักษร ก็ได้ หรือโดยวิธีการอย่างอื่นก็ได้ และสำหรับตัวทรัพย์สินที่จะซื้อขายกัน โดยวิธีนี้ได้ คือ สังหาริมทรัพย์ธรรมดา ซึ่งก็คือทรัพย์ที่สามารถจะโยกย้าย เคลื่อนที่จากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งได้ เช่น โทรทัศน์ พัดลม โต๊ะ เก้าฮี้ รถยนต์ ปากกา ดินสอ ไม้บรรทัด เป็นต้น สำหรับการซื้อขายทรัพย์สิน ประเภทนี้ เมื่อไม่ต้องทำตามวิธีการเฉพาะอะไร ฉะนั้น เมื่อมีการตกลง ซื้อขายกันแล้วกรรมสิทธิ์โอนไปทันที และการเกิดสัญญาซื้อขายยังเป็นการ ก่อให้เกิด “หนี้”ที่ฝ่ายผู้ซื้อและผู้ขายจะต้องชำระให้แก่กันอีกด้วย
(๒) วิธีการเฉพาะที่กฎหมายกำหนดไว้ให้ผู้ซื้อผู้ขายต้องทำ และถ้าไม่ทำตามที่กฎหมายกำหนดไว้แล้ว สัญญาซื้อขายนั้นแม้จะได้ตกลงว่าจะ ซื้อจะขายก็ไม่อาจบังคับกันได้ เพราะกฎหมายถือว่าเสียเปล่าหรือเป็นโมฆะ คือ ใช้ไม่ได้นั่นเอง
วิธีการเฉพาะดังกล่าวนี้คือ การทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อ พนักงานเจ้าหน้าที่ ซึ่งกฎหมายกำหนดไว้สำหรับทรัพย์สินบางประเภท คือ อสังหาริมทรัพย์และสังหาริมทรัพย์ชนิดพิเศษ ซึ่งขออธิบายให้เข้าใจดังนี้

(ก) อสังหาริมทรัพย์ หมายถึง ทรัพย์ที่เคลื่อนที่ไม่ได้ ได้แก่
๑) ที่ดิน
๒) ทรัพย์ที่ติดกับที่ดินในลักษณะตรึงตราแน่นหนาถาวร เช่น บ้านเรือน ตึกแถว อาคารสิ่งปลูกสร้าง ซึ่งตรึงตรากับที่ดินอย่างถาวร ไม้ยืน ต้น เป็นต้น
๓) ทรัพย์ซึ่งประกอบเป็นอันเดียวกับที่ดิน เช่น แม่น้ำ ลำ-คลอง แร่ธาตุ กรวด ทราย เป็นต้น
๔) สิทธิทั้งหลายอันเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ในที่ดิน เช่น ภาระ- จำยอม สิทธิอาศัย สิทธิเก็บกิน และสิทธิจำนอง เป็นต้น

(ข) สังหาริมทรัพย์ชนิดพิเศษ ได้แก่
๑) เรือกำปั่น หรือเรือมีระวางตั้งแต่ ๖ ตันขึ้นไป เรือกลไฟ หรือเรือยนต์มีระวางตั้งแต่ ๕ ตันขึ้นไป
๒) แพ หมายความเฉพาะแต่แพที่เป็นที่อยู่อาศัยของคน
๓) สัตว์พาหนะ หมายความถึงสัตว์ที่ใช้ในการขับขี่ลากเข็ญ และบรรทุก ซึ่งสัตว์เหล่านี้ต้องทำตั๋วรูปพรรณแล้ว ได้แก่ ม้า ช้าง โค กระบือ

สำหรับสถานที่รับจดทะเบียนตามประเภทของทรัพย์ คือ
๑. ที่ดิน
(ก) ถ้าเป็นที่ดินมีโฉนด ต้องไปขอจดทะเบียนต่อเจ้าพนักงานที่ดิน ณ สำนักงานที่ดินจังหวัด หรือสำนักงานที่ดินสาขา
(ข) ถ้าเป็นที่ดินมีหนังสือสำคัญอย่างอื่น เช่น น.ส.๓ ต้องไปขอ จดทะเบียนต่อนายอำเภอ ณ ที่ว่าการอำเภอ
(ค) ถ้าเป็นการจดทะเบียนเกี่ยวกับโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่น เช่น จดทะเบียนเช่าอาคารบ้านเรือน ต้องไปขอจดทะเบียนต่อนายอำเภอ ณ ที่ว่าการอำเภอ แต่ถ้าจดทะเบียนโรงเรือนรวมกับที่ดินมีโฉนด ต้องไป ขอจดทะเบียนที่สำนักงานที่ดินจังหวัด หรือถ้าจดทะเบียนรวมกับที่ดินที่มี น.ส.๓ ก็ต้องไปขอจดทะเบียน ณ สำนักงานที่ดินจังหวัดหรือสำนักงานที่ดิน สาขาด้วยเช่นกัน
การขอจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมตามความดังกล่าว สำหรับที่ดิน มีโฉนด หรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ คู่กรณีอาจยื่นคำขอต่อพนักงาน เจ้าหน้าที่ ณ กรมที่ดิน เพื่อให้พนักงานเจ้าหน้าที่ดังกล่าวดำเนินการจด ทะเบียนให้ก็ได้ เว้นแต่การจดทะเบียนที่ต้องมีการประกาศหรือต้องมีการรังวัด
๒. เรือ การจดทะเบียน การเปลี่ยนใบอนุญาต และการเปลี่ยนชื่อ เจ้าของเรือต้องทำต่อนายทะเบียน ณ กรมเจ้าท่า
๓. แพ ต้องจดทะเบียนต่อนายอำเภอ ณ ที่ว่าการอำเภอ หรือเขต
๔. สัตว์พาหนะ ต้องจดทะเบียนต่อนายอำเภอ หรือผู้ที่ได้รับมอบ หมายจากรัฐมนตรีผู้รักษาการ ณ ที่ว่าการอำเภอ

๓. สาระสำคัญของสัญญาซื้อขาย

(ก) ต้องมีการโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ซื้อขาย ปัญหาว่ากรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ซื้อขายนั้นโอนไปเมื่อไร  หลักกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินนั้นจะโอนไปยังผู้ซื้อตั้งแต่เมื่อได้ตกลง ทำสัญญาซื้อขายกัน ข้อยกเว้นกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินนั้นยังไม่โอนไป ในกรณีดังต่อไปนี้

๑) สัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาดที่มีเงื่อนไขหรือเงื่อนเวลา ซึ่ง กรรมสิทธิ์จะโอนก็ต่อเมื่อเกิดเงื่อนไขหรือถึงกำหนดเงื่อนเวลา

สำหรับสัญญาซื้อขายที่มีเงื่อนไขนั้น หมายถึงการที่ผู้ซื้อผู้ขาย ตกลงกันเอาเหตุการณ์ในอนาคตที่ไม่แน่นอนบางอย่างมากำหนดไว้ว่า ถ้า เหตุการณ์นั้นเกิด กรรมสิทธิ์ก็โอน เพราะฉะนั้นกรรมสิทธิ์จึงยังไม่โอนจนกว่า เหตุการณ์นั้นจะเกิด ตัวอย่างเช่น จ้อยตกลงซื้อเครื่องสีข้าวโดยผ่อนใช้เงินกับด้วง โดยมีข้อตกลงกันว่าเครื่องสีข้าวยังเป็นขงด้วงอยู่จนกว่าจะใช้เงินเสร็จ เช่นนี้ตราบใดที่จ้อยยังไม่ใช้เงินจนครบจำนวนก็จะไม่ได้กรรมสิทธิ์ในเครื่องสีข้าวนั้น

ส่วนสัญญาซื้อขายที่มีเงื่อนเวลานั้น หมายถึง การที่ผู้ซื้อผู้ขาย ตกลงกันให้กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ซื้อขายนั้นโอนไปเมื่อถึงเวลาใดเวลาหนึ่ง ซึ่งได้กำหนดไว้ ตัวอย่างเช่น นายดำขายข้าวให้นายขาว แต่ตกลงกันว่าให้ กรรมสิทธิ์ในข้าวนั้นโอนไปยังนายขาวเมื่อถึงสิ้นเดือนสิงหาคม เช่นนี้ตราบใด ที่ยังไม่ถึงสิ้นเดือนสิงหาคม กรรมสิทธิ์ในข้าวนั้นก็ยังไม่โอนไปยังนายขาว

๒) สัญญาซื้อขายทรัพย์ที่ยังไม่เป็นทรัพย์เฉพาะสิ่ง หมายถึง สัญญาซื้อขายทรัพย์ที่ยังไม่ได้กำหนดประเภทหรือจำนวนไว้แน่นอนว่าอันไหน สิ่งไหน ตัวไหน ในกรณีเช่นนี้กรรมสิทธิ์จะโอนก็ต่อเมื่อได้ทำให้เป็นทรัพย์ เฉพาะสิ่งแล้ว โดยการนับ ชั่ง ตวง วัด หรือคัดเลือกทรัพย์ เพื่อให้เกิด ความแน่นอนว่า ชิ้นไหน อันไหน ตัวไหน หรือจำนวนไหน ตัวอย่างเช่น ตกลงซื้อมะพร้าว ๕๐ ลูก ซึ่งรวมอยู่ในกองใหญ่ กรรมสิทธิ์ยังไม่โอนจน กว่าจะเลือกมะพร้าว ๕๐ ลูกนั้นออกมาจากกองก่อน

๓) สัญญาซื้อขายทรัพย์เฉพาะสิ่งที่ยังต้องดำเนินการบางอย่าง เพื่อให้รู้ราคาแน่นอน ในกรณีนี้กรรมสิทธิ์ยังไม่โอนไปจนกว่าจะได้มีการกระทำ เพื่อให้รู้ราคานั้นก่อน ตัวอย่างเช่น ซื้อมะพร้าวทั้งกองในราคาลูกละ ๑ บาท ความจริงมะพร้าวทั้งกองนั้นก็เป็นทรัพย์เฉพาะสิ่งแล้ว เพียงแต่ยังไม่ทราบว่า มะพร้าวทั้งกองนั้นมีกี่ลูกเพื่อที่จะคำนวณราคาเท่านั้น เพราะฉะนั้นจะต้องรู้ ก่อนว่ามะพร้าวกองนั้นมีกี่ลูก กรรมสิทธิ์จึงจะโอน

๔) การซื้อขายอสังหาริมทรัพย์หรือสังหาริมทรัพย์ชนิดพิเศษ กรรมสิทธิ์จะโอนก็ต่อเมื่อมีการทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่เรียบร้อยแล้ว
(ข) ต้องมีการตกลงว่าจะชำระราคา เพียงแต่ตกลงกันว่าจะ ชำระราคาก็เป็นการเพียงพอแล้ว ยังไม่ต้องชำระราคากันทันที จะตกลงชำระ กันในภายหลัง หลังจากที่สัญญาเกิดขึ้นแล้วก็ได้

(ค) บุคคลที่มีสิทธิทำสัญญา ดังได้กล่าวมาในตอนแรกแล้วว่า ทั้งผู้ซื้อและผู้ขาย จะต้องเป็นคนบรรลุนิติภาวะ คืออายุ ๒๐ ปีบริบูรณ์ หรือ บรรลุนิติภาวะโดยการสมรส ถ้าทั้งชายและหญิงต่างมีอายุ ๑๗ ปีบริบูรณ์ แล้ว อย่างไรก็ตาม เหตุการณ์ที่เราพบกันอยู่ในชีวิตประจำวัน จะเห็นว่า ผู้เยาว์หรือคนที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะต่างก็ไปทำสัญญาซื้อขายต่าง ๆ มากมาย เช่น ซื้อสมุด ดินสอ ยางลบ หรืออาหารกลางวันรับประทานที่โรงเรียน ตรงนี้ปัญหาว่าเขาจะทำได้หรือไม่ คำตอบอยู่ในบทยกเว้นในเรื่องการทำ นิติกรรมของผู้เยาว์ ซึ่งในกรณีเหล่านี้ถือว่าสามารถที่จะทำได้ เพราะเป็นการ กระทำที่สมแก่ฐานานุรูปและจำเป็นแก่การดำรงชีพด้วย

สำหรับผู้ซื้อนั้น เมื่อมีคุณสมบัติที่กล่าวข้างต้นก็พอเพียงที่จะเป็นผู้ซื้อ แล้ว สำหรับผู้ขายนั้นเพียงแต่บรรลุนิติภาวะอย่างเดียวยังไม่พอยังต้องเป็น ผู้มีสิทธิที่จะขายทรัพย์สินนั้น เพื่อที่ผู้ซื้อจะได้กรรมสิทธิ์โดยสมบูรณ์ได้อีกด้วย สำหรับผู้ที่ถือว่า “มีสิทธิที่จะขายทรัพย์สิน”นั้น ได้แก่

๑) เจ้าของกรรมสิทธิ์ หมายถึง ผู้ที่เป็นเจ้าของทรัพย์สินที่จะ ขายนั่นเอง ซึ่งตามหลักกฎหมายแล้วผู้ที่เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ย่อมมีอำนาจ ในการจำหน่ายจ่ายโอนทรัพย์สินของตน ซึ่งคำว่า “จำหน่าย” ในที่นี้หมายถึง การโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินนั้นไม่ว่าโดยการกระทำใด ๆ ก็ตาม เพราะ ฉะนั้นในเวลาที่จะทำสัญญาซื้อขาย ผู้ซื้อก็จะต้องมีความระมัดระวังพิจารณา ดูให้ดีว่าผู้ขายเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์หรือไม่เพราะถ้าไม่เป็น หากผู้ซื้อทำ การซื้อไปก็จะไม่ได้กรรมสิทธิ์ ตามหลักเรื่อง “ผู้รับโอนไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอน” เพราะถ้าผู้โอนหรือผู้ขายในกรณีนี้ไม่มีกรรมสิทธิ์ ผู้รับโอนหรือผู้ซื้อก็ย่อม ไม่มีกรรมสิทธิ์ไปด้วย ตัวอย่างเช่น นายแดงซื้อเรือมาดจากนายดำซึ่งเป็น เรือมาดที่นายดำขโมยนายขาวมาเมื่อนายดำไม่มีกรรมสิทธิ์ ไปขายให้นาย แดง นายแดงก็ไม่ได้กรรมสิทธิ์ไปด้วย เพราะเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่แท้จริง ของเรือมาดลำนี้คือนายขาว

๒) บุคคลอื่นซึ่งมีสิทธิขายได้ตามกฎหมาย เช่น
๒.๑) ผู้จัดการมรดก ซึ่งมีหน้าที่ตามกฎหมายที่จะรวบ รวมทรัพย์สินของเจ้ามรดกผู้ตาย เพื่อชำระหนี้ และแบ่งปันให้แก่ทายาท
๒.๒) ผู้ใช้อำนาจปกครอง ซึ่งมีสิทธิขายอสังหาริมทรัพย์ ของผู้อยู่ในอำนาจปกครอง เช่น ของผู้เยาว์ แต่จะขายได้ก็ต่อเมื่อได้รับอนุญาตจากศาลแล้ว
๒.๓) เจ้าพนักงานขายทอดตลาดบังคับคดี มีสิทธิขาย ทอดตลาดทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำสั่งศาล
๒.๔) เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ มีอำนาจจัดการทรัพย์สิน ของลูกหนี้ผู้ที่ถูกศาลพิพากษาให้ล้มละลาย และมีอำนาจขายทรัพย์สินของลูกหนี้ผู้ที่ถูกศาลพิพากษาให้ล้มละลายได้

๔.หน้าที่และความรับผิดของผู้ขาย 

เมื่อสัญญาซื้อขายเกิดขึ้นแล้ว กล่าวคือเมื่อมีการแสดงเจตนาที่ประสงค์ต้องตรงกันระหว่างผู้ซื้อกับผู้ขาย (ที่บรรลุนิติภาวะแล้ว) ในทรัพย์สิ่งใด สิ่งหนึ่ง เพื่อที่ผู้ซื้อจะได้ไปซึ่ง กรรมสิทธิ์ในทรัพย์และเพื่อที่ผู้ขายจะได้รับราคา ของทรัพย์นั้น ดังนี้ เราเรียกว่า สัญญาได้เกิดขึ้นแล้ว และผู้ขายก็มี“หนี้” หรือ ” หน้าที่ “ ที่จะต้องปฏิบัติตามสัญญาซื้อขายต่อไป ถ้าผู้ขายบิดพริ้ว ให้เกิด “ความรับผิด” ตามมาสำหรับ“หนี้”หรือ“หน้าที่”ของผู้ขายนั้น ได้แก่

(๑) การส่งมอบ ผู้ขายต้องส่งมอบทรัพย์สินที่ขายให้แก่ผู้ซื้อด้วย ความสมัครใจ ซึ่งจะส่งมอบด้วยวิธีการใด ๆ ก็ได้ ขอเพียงให้ทรัพย์สินนั้น เข้าไปอยู่ในเงื้อมมือของผู้ซื้อก็พอแล้ว เช่น การส่งมอบหนังสือ อาจใช้วิธี ยื่นให้ การส่งมอบรถยนต์ อาจใช้วิธีส่งมอบกุญแจก็ได้ แต่ที่สำคัญคือว่าจะ ต้องส่งมอบภายในเวลาและ ณ สถานที่ที่ตกลงกันไว้ ถ้าไม่มีการตกลงกัน และทรัพย์ที่ซื้อขายนั้นเป็นทรัพย์เฉพาะสิ่งแล้ว ตามกฎหมายผู้ขายต้องส่งมอบ ณ สถานที่ที่ทรัพย์นั้นอยู่ในเวลาที่ทำสัญญาซื้อขาย แต่ถ้าไม่ใช่ทรัพย์เฉพาะ สิ่งต้องส่งมอบ ณ ภูมิลำเนาปัจจุบันของผู้ซื้อ

ผู้ขายต้องส่งมอบทรัพย์สินตามจำนวนที่ตกลงกันไว้ไม่มากเกินไปหรือไม่น้อยเกินไป และต้องไม่นำทรัพย์อื่นมาปะปนด้วย เพราะถ้าส่งมอบ น้อยเกินไปสำหรับสังหาริมทรัพย์ ผู้ซื้อมีทางเลือก ๒ ทางคือ (ก) ไม่รับ มอบไว้เลย หรือ (ข) รับมอบไว้ แต่ใช้ราคาน้อยลงตามส่วนของทรัพย์สิน ที่ส่งมอบ แต่ถ้าส่งมอบมากเกินไปสำหรับสังหาริมทรัพย์ ผู้ซื้อมีทาง เลือก ๓ ทางคือ (ก) อาจจะรับไว้เฉพาะตามจำนวนที่ตกลงกันในสัญญา และส่วนที่เกินก็ไม่รับเลยได้ (ข) ไม่รับทั้งหมดเลย หรือ (ค) รับไว้ทั้งหมด แต่ ต้องใช้ราคาสำหรับส่วนที่รับไว้เกินด้วย ส่วนกรณีที่ผู้ขายส่งมอบทรัพย์สินตามสัญญาปะปนกับทรัพย์สินอื่น ๆ มาด้วย ผู้ซื้อมีทางเลือก ๒ ทางคือ (ก) รับมอบเฉพาะทรัพย์สินตามที่ตกลงในสัญญา และไม่รับมอบทรัพย์สิน ส่วนที่ปะปนมา หรือ (ข) ไม่รับมอบไว้เลยไม่ว่าส่วนที่เป็นไปตามสัญญาหรือ ส่วนที่ปนเข้ามาก็ตาม

แต่ถ้าการส่งมอบทรัพย์สินที่มากเกินไปหรือน้อยเกินไปนั้นเป็นอสัง-หาริมทรัพย์ ผู้ซื้อมีทางเลือก ๒ ทางคือ (ก) รับมอบเฉพาะทรัพย์ตาม จำนวนที่สัญญากันไว้ แล้วใช้ราคาตามจำนวนที่รับไว้จริง หรือ (ข) ไม่รับ มอบไว้เสียเลย

(๑)    ผู้ขายต้องส่งมอบทรัพย์สินที่ไม่ชำรุดบกพร่อง ซึ่ง ความชำรุดบกพร่องในที่นี้หมายถึง ลักษณะที่ทรัพย์สินที่ซื้อขายในตัวของ มันเองมีความชำรุดหรือมีความบกพร่องอยู่จน เป็นเหตุให้ทรัพย์นั้นราคาตกหรือไม่เหมาะแก่การใช้ประโยชน์ตามปกติหรือตามสภาพของทรัพย์สินนั้น และความชำรุดหรือความบกพร่องนี้จะต้องมีอยู่ก่อนหรือในเวลาที่ทำสัญญาซื้อ ขายเท่านั้น ตัวอย่างเช่น นายเขียวซื้อแจกันจากนายเหลืองหนึ่งใบ ในราคา ๕๐ บาท ปรากฏว่าก่อนส่งมอบหรือขณะส่งมอบนั้นแจกันเกิดร้าวขึ้นมา นายเหลืองผู้ขายก็จะต้องรับผิดไม่ว่าจะรู้หรือไม่รู้ว่ามีความชำรุดบกพร่องอยู่ ก็ตาม ยิ่งถ้ารู้หรือเป็นคนทำให้ทรัพย์สินที่ซื้อขายนั้นชำรุดบกพร่องเองด้วย แล้ว ยิ่งต้องรับผิดเลยทีเดียว

(๒)  อย่างไรก็ตาม ในบางกรณีแม้ทรัพย์สินที่ซื้อขายนั้นจะชำรุดบกพร่อง มาก่อน หรือในขณะที่ซื้อขายกัน ผู้ขายอาจจะไม่ต้องรับผิด ในกรณี
๑) ถ้าผู้ซื้อได้รู้อยู่แล้วในเวลาซื้อขายว่ามีความชำรุดบกพร่อง หรือควรจะได้รู้ ถ้าเขาใช้ความระมัดระวังตามปกติ ตัวอย่างเช่น ผู้ซื้อเห็น ทุเรียนเน่าอยู่แล้วในเวลาซื้อขาย หรือผู้ขายเจาะไว้ให้ดู ควรจะดูก็ไม่ดู กลับ ซื้อไป ผู้ขายก็ไม่ต้องรับผิด
๒) ถ้าความชำรุดบกพร่องนั้นได้เห็นอยู่แล้วในเวลาส่งมอบ และผู้ซื้อรับไว้โดยมิได้ทักท้วงประการใด
๓) ถ้าผู้ซื้อซื้อทรัพย์สินนั้นจากการขายทอดตลาด เพราะใน การขายทอดตลาดนั้นเป็นการขายที่เปิดเผยต่อสาธารณะ ผู้ซื้อน่าจะได้มีโอกาสตรวจสอบก่อนแล้ว
๔) ทั้งผู้ซื้อและผู้ขายได้ตกลงกันไว้ว่า ผู้ขายไม่ต้องรับผิดใน ความชำรุดบกพร่องของทรัพย์สินที่ซื้อขาย

(๓) ผู้ขายมีหน้าที่ต้องส่งมอบทรัพย์สินที่ปลอดจากการ ถูกรอนสิทธิ 

กล่าวคือเมื่อผู้ขายส่งมอบทรัพย์สินที่ซื้อขายไปแล้ว ผู้ซื้อจะ ต้องไม่ถูกคนอื่นมารบกวน ขัดสิทธิในการครองทรัพย์สินนั้นโดยปกติสุข ตัวอย่าง เช่น นายแดงซื้อเรือมาดจากนายดำ ต่อมานายขาวอ้างว่าตนเป็นเจ้าของเรือ มาดที่แท้จริง เพราะนายดำได้ขโมยเรือมาดของตนไป ดังนี้ ถือว่าเป็นกรณี ที่บุคคลภายนอกเข้ามาอ้างว่าตนมีสิทธิดีกว่าผู้ซื้อ เท่ากับผู้ซื้อคือนายแดง ถูกรอนสิทธิแล้ว

อย่างไรก็ตาม มีบางกรณีที่ผู้ขายไม่ต้องรับผิดเมื่อผู้ซื้อถูกรอนสิทธิ คือ

๑) ผู้ซื้อรู้อยู่แล้วในเวลาซื้อขายว่าบุคคลภายนอกมีสิทธิดีกว่า เท่ากับสมัครใจยอมรับผลที่จะเกิดตามมา
๒) ถ้าการรอนสิทธิเกิดจากความผิดของผู้ซื้อเอง ในกรณีดังต่อไปนี้ ๒.๑) เมื่อไม่มีการฟ้องคดีและผู้ขายพิสูจน์ได้ว่าสิทธิของ ผู้ซื้อได้สูญไปเพราะผู้ซื้อเอง ตัวอย่างเช่น ผอมซื้อของมาจากอ้วน ต่อมา โอ่งมาบอกว่าของนั้นเป็นของโอ่ง ผอมก็เชื่อและให้ของนั้นแก่โอ่งไปโดยไม่ถามอ้วน เช่นนี้อ้วนไม่ต้องรับผิด ๒.๒) เมื่อมีการฟ้องคดี และผู้ซื้อไม่ได้เรียกผู้ขายเข้ามา ในคดี ทั้งผู้ขายยังพิสูจน์ได้ว่าถ้าได้เรียกเข้ามาในคดี คดีฝ่ายผู้ซื้อจะชนะ ดังนี้ ผู้ขายก็ไม่ต้องรับผิด ๒.๓) เมื่อมีการฟ้องคดี และผู้ขายได้เข้ามาในคดีแล้ว แต่ศาลยกคำร้องเพราะความผิดของผู้ซื้อเอง เช่นผู้ซื้อขาดนัด (ไม่มาศาลตามเวลาที่ศาลนัดไว้) หรือไม่นำพยานมาสืบ
๓) มีข้อตกลงในสัญญาว่าผู้ขายไม่ต้องรับผิดในการรอนสิทธิ แต่ข้อตกลงไม่ให้ผู้ขายต้องรับผิดนี้ไม่คุ้มครองผู้ขาย ถ้าการรอนสิทธิเกิดเพราะความ
ผิดของผู้ขายเอง หรือผู้ขายรู้อยู่แล้วว่ามีการรอนสิทธิแต่ปกปิดเสีย

๕. สิทธิของผู้ซื้อ

เมื่อกล่าวถึง “หนี้”หรือ “หน้าที่” ของผู้ขายแล้ว ย่อมต้องมีสิทธิ ของผู้ซื้ออยู่ด้วยซึ่งได้แก่
(๑) สิทธิที่จะได้ตรวจตราดูทรัพย์สินที่ผู้ขายส่งมอบ
(๒) สิทธิที่จะไม่รับมอบทรัพย์สินจากผู้ขาย เมื่อผู้ขายส่งมอบทรัพย์ สินนั้นน้อยเกินไป (ขาดตกบกพร่อง) กว่าที่ได้ตกลงกัน หรือมากเกินไป (ล้ำ จำนวน) กว่าที่ได้ตกลงกัน
(๓) สิทธิที่จะเรียกให้ผู้ขายปฏิบัติการชำระหนี้หรือปฏิบัติการชำระหนี้ให้ถูกต้องตรงตามที่ได้ตกลงกันไว้
(๔) สิทธิที่จะยึดหน่วงราคา ในกรณีดังต่อไปนี้
(ก) ผู้ซื้อพบเห็นความชำรุดบกพร่องในทรัพย์สินที่ซื้อ ผู้ซื้อมีสิทธิที่จะไม่ชำระราคา จนกว่าผู้ขายจะหาประกันอันสมควรให้
(ข) ผู้ซื้อถูกผู้รับจำนองหรือคนที่จะเรียกร้องเอาทรัพย์สินที่ขายนั้น ขู่ว่าจะฟ้องเป็นคดีหรือมีสาเหตุที่เชื่อได้ว่าจะถูกขู่ ผู้ซื้อจะชำระราคาให้ต่อเมื่อผู้ขายหาประ กันให้ หรือต่อเมื่อผู้ขายได้แก้ไขให้เป็นที่เรียบร้อยแล้ว
(ค) เมื่อผู้ขายผิดนัดไม่ส่งมอบทรัพย์สินที่ขายให้ ผู้ซื้อก็จะยังไม่ชำระราคาจนกว่าผู้ขายจะจัดการส่งมอบทรัพย์สินที่ขายให้
(๕) สิทธิในการได้รับการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนความเสียหายเมื่อ
ผู้ขายปฏิบัติการชำระหนี้ไม่ถูกต้อง เช่น ส่งมอบทรัพย์ที่ชำรุดบกพร่อง หรือ ทรัพย์ที่บุคคลอื่นมีสิทธิเหนือ ทรัพย์นั้นดีกว่าผู้ซื้อ (ถูกรอนสิทธิ)
(๖) สิทธิในการเลิกสัญญาและเรียกค่าเสียหายได้อีก ตามหลักทั่วไป

๖. หน้าที่และความรับผิดของผู้ซื้อ

ผู้ซื้อมี “หนี้” หรือ “หน้าที่”ที่เกิดจากสัญญาซื้อขายเช่นเดียวกับ ผู้ขาย ซึ่งถ้าผู้ซื้อไม่ปฏิบัติตาม “หนี้” หรือ “หน้าที่” ดังกล่าวแล้วย่อม ก่อให้เกิด ความรับผิด ตามมาในทำนองเดียวกัน
สำหรับหน้าที่หลักของผู้ซื้อ ได้แก่

(๑) หน้าที่ในการรับมอบทรัพย์สินที่ซื้อขายตามเวลา ตามสถานที่ และด้วยวิธีการตามที่ตกลงกันในสัญญาซื้อขาย เว้นแต่ผู้ซื้อจะมีสิทธิบอกปัด ในกรณีที่เป็นสังหาริมทรัพย์เมื่อผู้ขายส่งมอบทรัพย์สินให้มากเกินไปหรือน้อย เกินไปกว่า ที่ได้ตกลงกัน หรือผู้ขายส่งมอบทรัพย์สิน ตามที่ตกลงกันปะปนกับ ทรัพย์สินอย่างอื่น หรือในกรณีที่เป็นอสังหาริมทรัพย์ ผู้ขายส่งมอบ อสังหาริมทรัพย์นั้นมากเกินไปหรือน้อยเกินไปจากที่ได้ตกลงกันไว้
(๒) หน้าที่ในการชำระราคาทรัพย์สินที่ซื้อขายตามราคาที่กำหนดไว้ ในสัญญา หรือตามทางการที่คู่สัญญาเคยประพฤติปฏิบัติต่อกัน แต่ถ้าไม่ได้ กำหนดราคาไว้เป็นที่แน่นอน
ผู้ซื้อก็ต้องชำระราคาตามสมควร และการชำระ ราคาก็ต้องชำระภายในเวลาที่กำหนดตามสัญญาด้วย แต่ถ้าหากไม่ได้กำหนด เวลาไว้ ให้ชำระราคาในเวลาเดียวกับเวลาที่ส่งมอบทรัพย์สินที่
ซื้อขายนั้น
(๓) หน้าที่ในการชำระค่าธรรมเนียมในการซื้อขาย หากตกลงกันไว้ ในสัญญาว่าให้ผู้ซื้อชำระคนเดียวทั้งหมด แต่ถ้าไม่ได้ตกลงกันไว้ ผู้ซื้อก็มี หน้าที่ต้องชำระค่าธรรมเนียมครึ่งหนึ่ง

๗. สิทธิของผู้ขาย

เมื่อกล่าวถึง หนี้ หรือ หน้าที่ ของผู้ซื้อแล้ว ย่อมต้องมีสิทธิ ของผู้ขายเคียงคู่มาด้วย ซึ่งได้แก่

(๑) สิทธิที่จะยึดหน่วงทรัพย์สินนั้นไว้จนกว่าจะได้รับการชำระราคา จากผู้ซื้อ ซึ่งการยึดหน่วงจะมีได้ก็ต่อเมื่อ ทรัพย์สินที่ซื้อขายนั้นยังอยู่ในความครอบครอง ของผู้ขายเท่านั้น
(๒) สิทธิที่จะยึดหน่วงทรัพย์สินนั้นไว้ ในกรณีที่ผู้ซื้อกลายเป็นคน ล้มละลายภายหลังการซื้อขาย แต่ก่อนการส่งมอบทรัพย์สิน หรือในกรณีที่ ผู้ซื้อล้มละลายอยู่แล้วในเวลาที่ทำการซื้อขายโดยที่ผู้ขายไม่รู้ถึงการล้มละลาย นั้นหรือผู้ซื้อทำให้หลักทรัพย์ที่ให้ไว้เป็นประกัน การชำระราคานั้นเสื่อมเสีย หรือลดน้อยถอยลง เช่น นายแสดซื้อตู้จากนายส้มในวันที่ ๑ มีนาคม ๒๕๓๖ กำหนดส่งตู้กันในวันที่ ๑๕ มีนาคม ๒๕๓๖ ชำระราคาวันที่ ๑๘ มีนาคม ๒๕๓๖ ต่อมาในวันที่ ๗ มีนาคม ๒๕๓๖ นายแสดถูกศาลสั่งให้เป็นคนล้มละลาย ดังนี้นายส้มไม่ต้องส่งตู้ให้นายแสดในวันที่ ๑๕ มีนาคม ๒๕๓๖
(๓) สิทธิที่จะเรียกให้ผู้ซื้อชำระหนี้ ซึ่งถ้าผู้ซื้อไม่ชำระ ผู้ขายอาจ นำทรัพย์สินที่ยึดหน่วงไว้ออกขายทอดตลาดก็ได้
(๔) สิทธิในการริบมัดจำ (ถ้าได้มีการให้มัดจำกันไว้) และเรียกค่า เสียหาย
(๕) สิทธิในการเลิกสัญญา และเรียกค่าเสียหายได้อีก

๘. อายุความในการฟ้องร้อง

เมื่อผู้ขายปฏิบัติการชำระหนี้ หรือปฏิบัติหน้าที่ตามสัญญาซื้อขายไม่ถูกต้อง ผู้ซื้อมีสิทธิที่จะฟ้องร้องต่อศาลภายในอายุความตามกรณี ดังต่อไปนี้

(๑) ในกรณีที่ผู้ขายส่งมอบทรัพย์สินให้มากเกินไปหรือน้อยเกินไปกว่าที่ตกลงกันในสัญญา ผู้ซื้อจะต้องฟ้องร้องภายใน ๑ ปีนับแต่เวลาที่ส่งมอบทรัพย์สิน
(๒) ในกรณีที่ผู้ขายส่งมอบทรัพย์สินที่ชำรุดบกพร่อง ผู้ซื้อจะต้อง ฟ้องร้องภายใน ๑ ปี นับแต่เวลาที่พบเห็นความชำรุดบกพร่องนั้น เช่น นาย ดำทำสัญญาซื้อโทรทัศน์จากนายเหลือง โดยส่งมอบโทรทัศน์กัน ในวันที่ ๕ เมษายน ๒๕๓๖ และนายดำก็รับมอบไว้แล้ว ต่อมาวันที่ ๒๐ เมษายน ๒๕๓๖ จึงพาช่างมาตรวจสอบดู ปรากฏว่าหลอดภาพเสียใช้ไม่ได้ ดังนี้ นายดำก็ต้องฟ้องคดี เพื่อความชำรุดบกพร่องภายในวันที่ ๒๐ เมษายน ๒๕๓๗ การที่ไปต่อว่าทวงถามเรียกค่าเสียหายจากผู้ขายไม่ใช่การฟ้องคดี
(๓) ในกรณีที่มีการรอนสิทธิ ผู้ซื้อต้องฟ้องร้องภายใน ๓ เดือนนับแต่คำพิพากษาเดิมถึงที่สุด หรือนับตั้งแต่วันที่มีข้อตกลงยอมความกันหรือ วันที่ยอมตามบุคคลภายนอก
คำว่า “คดีเดิม” หมายถึงคดีที่เป็นความกันระหว่างผู้ซื้อกับบุคคล ภายนอก โดยที่ผู้ซื้อไม่ได้เรียกผู้ขายเข้ามาเป็นโจทก์ร่วมกับตนในคดีนั้นด้วย ดังกล่าวมาแล้ว
ตัวอย่าง
(ก) ผู้ซื้อถูกบุคคลภายนอกซึ่งเป็นเจ้าของที่แท้จริงฟ้อง เรียกทรัพย์สินคืน ผู้ซื้อไม่ได้เรียกผู้ขายเข้ามาในคดี ศาลพิพากษาให้ผู้ซื้อแพ้คดี คดีถึงที่สุดเมื่อใดผู้ซื้อต้องฟ้องผู้ขายภายใน ๓ เดือน
(ข) ผู้ซื้อซึ่งถูกเจ้าของที่แท้จริงฟ้องเรียกทรัพย์สินคืน ผู้ซื้อทำสัญญาประนีประนอมยอมความส่งทรัพย์สินคืน เช่นนี้ ผู้ซื้อต้องฟ้อง ผู้ขาย ภายใน ๓ เดือนนับแต่วันประนีประนอมยอมความ
(ค) ผู้ซื้อถูกเจ้าของทรัพย์สินเรียกร้อง โดยอ้างว่ามีคน ร้ายลักทรัพย์นั้นมาแล้วก็โอนให้ผู้ซื้อ ผู้ซื้อจึงยอมโอนทรัพย์สินนั้นให้ ก็ต้อง ฟ้องคดีภายใน ๓ เดือนนับแต่วันที่ยอมตามข้อเรียกร้องของเจ้าของที่แท้จริง

 

หน่วยที่ 4-4 การกู้ยืม

๑. ความหมาย

การกู้ยืมเงินเป็นสัญญาอย่างหนึ่ง ซึ่งเกิดจากบุคคลใดบุคคลหนึ่งซึ่งเรียกว่า “ผู้กู้” มีความต้องการจะใช้เงิน แต่ตนเองมีเงินไม่พอ หรือไม่มี เงินไปขอกู้ยืมจากบุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่า “ผู้ให้กู้” และผู้กู้ตกลงจะใช้คืน ภายในกำหนดเวลาใดเวลาหนึ่ง การกู้ยืมจะมีผลสมบูรณ์ก็ต่อเมื่อ มีการส่ง มอบเงินที่ยืมให้แก่ผู้ที่ให้ยืม ในการกู้ยืมนี้ผู้ให้กู้จะคิดดอกเบี้ยหรือไม่ก็ได้

๒. ดอกเบี้ย

ในการกู้ยืมเงินกันนี้ เพื่อป้องกันมิให้นายทุนบีบบังคับคนจน กฎหมายจึงได้กำหนดอัตราดอกเบี้ยขั้นสูงสุดที่ผู้ให้กู้สามารถเรียกได้ ว่าต้อง ไม่เกินร้อยละ ๑๕ ต่อปี คือร้อยละ ๑.๒๕ ต่อเดือน (เว้นแต่เป็นการกู้ยืม เงินจากบริษัทเงินทุนหรือธนาคาร ซึ่งสามารถเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราดังกล่าว ได้ตาม พ.ร.บ. ดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงิน) ถ้าเรียกดอกเบี้ย เกินอัตราดังกล่าวถือว่าข้อตกลงเรื่องดอกเบี้ยนั้นเป็นอันเสียไปทั้งหมด คือ ไม่ต้องมีการใช้ดอกเบี้ยกันเลยและผู้ให้กู้อาจมีความผิดทางอาญาฐานเรียก ดอกเบี้ยเกินอัตราด้วย คือ อาจต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน ๑ ปี หรือปรับ ไม่เกิน ๑,๐๐๐ บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ตาม พ.ร.บ. ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ. ๒๔๗๕

ในกรณีการกู้ยืมเงินจากบริษัทเงินทุนหรือธนาคาร ซึ่งบริษัทเงินทุนหรือธนาคารมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยจากผู้กู้ยืมได้เกินอัตราร้อยละ 15 ต่อปีนั้น เมื่อปรากฏว่าผู้กู้ยืมผิดนัดชำระหนี้แล้วบริษัทเงินทุนหรือธนาคารได้ดำเนินคดีกับผู้กู้ยืม หากผู้กู้ยืมต่อสู้คดีว่าดอกเบี้ยที่ผู้ให้กู้เรียกจากผู้กู้ในกรณีผู้กู้ผิดนัดไม่ชำระหนี้เป็นเบี้ยปรับที่กำหนดไว้สูงเกินไป ถ้าศาลเห็นด้วยว่าเป็นเบี้ยปรับและศาลเห็นสมควรศาลก็ลดลงได้ ตัวอย่างเช่น นาย ก. กู้ยืมเงินจากธนาคาร จำนวน 1,000,000 บาท อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 11.75 ต่อปีหรือร้อยละ 16 ต่อปี ผู้กู้ตกลงผ่อนชำระต้นเงินและดอกเบี้ยคืนให้แก่ผู้ให้กู้ทุกเดือน เดือนละ 25,000 บาท หากผิดนัดชำระงวดใดงวดหนึ่งถือว่าผิดนัดชำระหนี้ทั้งหมด ผู้กู้ตกลงชำระดอกเบี้ยผิดนัดในอัตราร้อยละ 19 ต่อปี หรือในอัตราสูงสุดตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนดให้ ธนาคารพาณิชย์เรียกจากลูกค้าได้ ถ้าหากนาย ก. ผิดนัดชำระงวดใดงวดหนึ่ง ผล คือ นาย ก. ต้องจ่ายดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 19 ต่อปี ตามที่กำหนดไว้ในสัญญา เมื่อธนาคารฟ้องเรียกดอกเบี้ยจากนาย ก. อัตราร้อยละ 19 ต่อปี เช่นนี้ถ้าศาลเห็นว่าดอกเบี้ยระหว่างผิดนัดถือเป็นเบี้ยปรับ และหากศาลเห็นสมควรอาจลดลงได้ ซึ่งอาจกำหนดให้นาย ก. จ่ายให้แก่ธนาคารในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี หรือเกินกว่านี้ แต่ไม่ถึงร้อยละ 19 ต่อปี ตามที่กำหนดไว้ในสัญญาซึ่งต่างจากการกู้ยืมเงินจากบุคคลธรรมดา หากกำหนดอัตราดอกเบี้ยไว้ร้อยละ 15 ต่อปี ศาลจะใช้ดุลพินิจลดลงไม่ได้

๓. หลักฐานการกู้ยืม

ในการตกลงทำสัญญากู้ยืมเงินนั้น ถ้าหากว่ากู้ยืมกันเป็นจำนวนเงิน เล็กน้อยไม่เกิน ๒,๐๐๐ บาท กฎหมายไม่ได้บังคับว่าต้องทำหลักฐานเป็นหนังสือ แสดงถึงการกู้ยืมหรือทำสัญญาไว้ต่อกัน เช่น ยืมเงิน ๒๐๐ บาท หรือ ๓๐๐ บาทแล้วเพียงแต่พูดจาตกลงกันก็พอ แต่ถ้าหากว่ากู้ยืมเป็นจำนวนเกินกว่า ๒,๐๐๐ บาท ต้องทำหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือหรือทำ หนังสือสัญญากู้ ไว้ต่อกัน เพื่อจะได้ใช้เป็นหลักฐานในการฟ้องร้องบังคับคดีในกรณีที่ไม่ปฏิบัติตามสัญญา ในหลักฐานแห่งการกู้เป็นหนังสือดังกล่าวนี้ต้องมีข้อความแสดงว่าได้กู้ยืม เงินเป็นจำนวนเท่าใด มีกำหนดใช้คืนเมื่อใดและที่สำคัญจะต้องมีการลงลายมือชื่อผู้กู้

หากว่าในขณะกู้ยืมเงินกันแต่มีการตกลงรับเอาสิ่งของแทนจำนวนเงิน ที่กู้ยืมกันนั้น ต้องคิดราคาของตลาดของสิ่งนั้นเป็นจำนวนเงินที่กู้จริงนั้น เช่น มีการตกลงกู้ยืมเงินกัน ๕,๐๐๐ บาท แต่มีการตกลงให้รับข้าวสารแทน ๑๐ กระสอบ ซึ่งในขณะนั้นข้าวสารกระสอบละ ๒๐๐ บาท ดังนั้น เราถือว่า มีการกู้ยืมเงินกันจริงเพียง ๓,๐๐๐ บาทเท่านั้น

๔. อายุความ

การฟ้องร้องเรียกเงินตามสัญญากู้จะต้องกระทำภายในกำหนดอายุ ความ ซึ่งกฎหมายกำหนดไว้ว่าจะต้องฟ้องภายใน ๑๐ ปีนับแต่วันที่ถึง กำหนดชำระเงินคืน

๕. ข้อควรระมัดระวังในการกู้ยืม

(๑) อย่าได้ลงลายมือชื่อในกระดาษเปล่าเป็นอันขาด
(๒) อย่าได้นำโฉนดไปให้เจ้าหนี้ยึดถือไว้เป็นประกัน
(๓) จะต้องนับเงินให้ถูกต้องครบถ้วนตามสัญญา
(๔) ผู้ยืมจะต้องเขียนจำนวนเงินเป็นตัวหนังสือด้วย
(๕) สัญญาที่กู้ต้องทำอย่างน้อย ๒ ฉบับ โดยให้ผู้กู้ยึดถือไว้ฉบับหนึ่ง และให้ผู้ให้กู้ยึดถือไว้อีกฉบับหนึ่ง
(๖) ในสัญญากู้ควรมีพยานฝ่ายผู้กู้ลงลายมือชื่อเป็นพยานอย่างน้อย ๑ คน

๖. ข้อปฏิบัติในการชำระเงิน

เมื่อผู้กู้นำเงินไปชำระไม่ว่าจะเป็นการชำระทั้งหมดหรือบางส่วนก็ตาม ผู้กู้ควรทำอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ มิฉะนั้นจะอ้างยันผู้ให้กู้ว่าชำระเงินกู้ ให้เขาคืนแล้วไม่ได้

สิ่งที่ผู้กู้ควรกระทำเมื่อชำระเงิน คือ

(๑)    รับใบเสร็จรับเงินหรือหนังสือที่มีข้อความว่า ได้ชำระเงินที่กู้มาแล้วทั้งหมด หรือเพียงบางส่วนและมีลายเซ็นผู้ให้กู้กำกับไว้ด้วย

(๒)    รับหนังสือสัญญากู้เงินที่ได้ทำไว้แก่ผู้ให้กู้มาในกรณีที่ชำระเงินครบตามจำนวนเงินที่กู้

(๓)    มีการบันทึกลงในสัญญากู้ว่าได้นำเงินมาชำระแล้วเท่าไร และให้ ผู้ให้กู้เซ็นชื่อกำกับไว้ ผู้ให้กู้ต้องเซ็นชื่อกำกับไว้ทุกครั้งที่มีการชำระเงิน จึงจะอ้างยันได้ว่าได้ชำระเงินไปแล้ว

หน่วยที่ 4-3 มรดก

เมื่อเจ้ามรดกตาย ปัญหาที่มีอยู่เสมอคือการแบ่งมรดกของเจ้ามรดกให้แก่ทายาท ว่ายาทในระดับใดจะมีสิทธิได้รับส่วนแบ่งในมรดกและจะได้เท่าใด  แต่มักจะเถียงว่าตัวเองมีสิทธิได้มากกว่าบุคคลอื่นบ้างหรือว่าบางคนไม่มีสิทธิบ้างเป็นต้น  ก่อให้เกิดปัญหามาสู่ศาลเสมอ

ดังนั้น  หากบุคคลใดเข้าใจในเรื่องสิทธิในการรับมรดกแล้วก็จะช่วยให้ลดปัญหาที่จะโต้เถียงกันในเรื่องนี้ไปเป็นอันมาก  จึงเสนอเรื่องง่ายๆ  เบื้องต้นของการแบ่งมรดกให้แก่ทายาทโดยทั่วๆ ไป  เพื่อประโยชน์ที่จะใช้งานทางปฏิบัติได้อย่างง่ายๆ ดังนี้

 

1. ทายาทได้แก่ใครบ้าง

สำหรับทายาทของผู้ตายนี้  มิได้กำหนดไว้ว่ามีใครบ้าง  ก็ต้องมองดูจากเจ้ามรดกไปเริ่มจากญาติใกล้ตัวเจ้ามรดกไปจนถึงห่างออกไป และก็รวมถึงคู่สมรสของเจ้ามรดกด้วย  หรือเจ้ามรดกจะทำเป็นหนังสือกำหนดว่าเมื่อตายลงแล้ว ให้มรดกของตนตกได้แก่ใครก็ได้

ฉะนั้นจึงแบ่งทายาทออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ คือ

  1. ทายาทที่มีสิทธิตามกฎหมาย หมายความว่าพวกนี้กฎหมายกำหนดเลยว่าได้แก่ใครบ้าง เช่น บุตรของผู้ตาย  บิดามารดาของผู้ตาย  คู่สมรสของผู้ตาย พวกนี้พอเจ้ามรดกตายปุ๊บก็ได้ปั๊บทันทีดังที่กล่าวแล้ว  ทายาทประเภทนี้เรียกกันว่า ทายาทโดยธรรม  ซึ่งประกอบด้วยทายาทที่เป็นญาติ เช่น ผู้สืบสันดานอันได้แก่บุตรของผู้ตายเป็นต้น  และทายาทที่เป็นคู่สมรสคือภริยาหรือสามีของผู้ตาย
  2. อีกประเภทหนึ่งคือทายาทที่มีสิทธิตามพินัยกรรม คือเป็นเรื่องของผู้ตายทำพินัยกรรมยกทรัพย์สินให้ซึ่งอาจเป็นคนอื่นก็ได้คือจะทำยกให้ใครแม้ไม่ใช่ญาติของตนก็ได้  เรียกทายาทประเภทนี้กันว่าผู้รับพินัยกรรม

 

2. ทายาทโดยธรรมได้แก่ใครบ้าง

ทายาทโดยธรรมแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ ทายาทที่เป็นญาติกับที่เป็นคู่สมรส ที่เป็นญาติ ได้แก่ ญาติของผู้ตายต่อไปนี้ เรียงลำดับกันจากใกล้ชิดสนิทที่สุด

(1) ผู้สืบสันดาน

(2) บิดามารดา

(3) พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน

(4) พี่น้องร่วมบิดาหรือร่วมมารดาเดียวกัน

(5) ปู่ ย่า ตา ยาย

(6) ลุง ป้า น้า อา

 

เช่นนาย ก. มีบุตรสองคนได้แก่ นาย  ข. และ ค. และมีบิดามารดา  ได้แก่นายเอก นางโท คือนายดำ นายแดง ดังนี้ หากนาย  ก. ตาย  ทายาทโดยธรรมของนาย ก. ที่ยังมีชีวิตอยู่

ลำดับที่ 1  ผู้สืบสันดาน ก็คือ นาย ข.  นาย ค.  บุตรของนาย  ก.

ลำดับที่ 2  บิดามารดาก็คือนายเอก นางโท  บิดามารดาของนาย ก.

ลำดับที่ 3   พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน   ก็คือ นายดำ นายแดง  พี่ชายน้องชายของนาย ก. ฉะนั้นเมื่อกล่าวถึงทายาทที่เป็นญาติก็จะมีถึงหกลำดับนี้เท่านั้น  ห่างจากนี้ไปก็ไม่ใช่ทายาทแล้ว  แต่จะได้รับส่วนแบ่งมรดกทุกลำดับหรือไม่  ต้องดูกันต่อไปอีกชั้นหนึ่ง  เมื่อกล่าวถึงทายาทของผู้ตายก็ต้องเอาผู้ตายเป็นหลักคือศูนย์กลางดังตัวอย่างที่ยกขึ้นก็จะเห็นได้ง่ายๆ

ส่วนทายาทที่เป็นคู่สมรสยิ่งง่ายใหญ่ คือ  สามีหรือภริยาของผู้ตายนั้นเอง  ทายาทประเภทนี้ถือว่าอยู่ในลำดับเดียวกับทายาทที่เป็นญาติทุกลำดับ คือ มีสิทธิได้รับมรดกของผู้ตายตลอด เช่น ขณะนาย ก. ตาย มีลูกสองคน และมีนางแดงเป็นภริยา  ถือว่าผู้ตายมีทายาทโดยธรรม คือลูกสองคนและนางแดงภริยาผู้ตายมีสิทธิได้รับมรดก  หรือขณะที่นาย ก. ตายมีทายาท  ลำดับที่ 6 คือ ลุง ป้า น้า อา ของผู้ตายยังมีชีวิตอยู่  และมีนางแดงภริยายังมีชีวิตอยู่ฉะนั้นทายาทของผู้ตายได้แก่  ลุง ป้า น้า อา และนางแดง  ภริยาซึ่งมีสิทธิได้รับส่วนแบ่งมรดกแต่กรณีหลังนี้นางแดงก็จะได้ส่วนแบ่งมากขึ้นเท่านั้น

3. การแบ่งมรดกให้แก่ทายาทโดยธรรมแบบง่ายๆ ทำอย่างไร

เรื่องการแบ่งมรดกก็ดีหรือใครเป็นทายาทโดยธรรมที่มีสิทธิในมรดกนี้ก็ดี  หากใครรู้ว่าตนมีสิทธิหรือไม่เพียงใด ก็จะเป็นการดี  ถ้ารู้ว่าไม่มีสิทธิแล้วก็จะได้ชิดซ้ายไปไม่มายุ่งกับเขาหรือผู้มีสิทธิถ้ารู้ว่าตนจะได้แบ่งเท่าใดก็ได้อีกเช่นกัน  ไม่ต้องมาแย่งชิงกัน  หรือไม่ใช่เลือกเอาแต่ของดีๆ เช่น จะเอาบ้านหลังนั้นบ้างละที่ดินแปลงโน่นบ้างละ  ซึ่งโดยแท้ที่จริงแล้วทายาทที่มีสิทธิทุกคนถือว่าเป็นเจ้าของมรดกร่วมกันทุกชิ้น  แม้เข็มเล่มเดียวของเจ้ามรดก  ทายาทก็เป็นเจ้าของร่วมกันจนกว่าจะได้แบ่งปันกันแล้วเสร็จ  จึงจะถือว่าที่แบ่งให้ใครไปแล้วเป็นของคนนั้น

 

4. ทายาทใดได้รับส่วนแบ่งอย่างไร

ตามแผนผังต่อไปนี้ก็เป็นวิธีการแบ่งว่าเขาแบ่งมรดกกันอย่างไร  โดยให้หลักทั่วๆไป  ก่อนว่า ทายาทที่เป็นญาติซึ่งมีอยู่ 6 ลำดับ  นับแต่ผู้สืบสันดานไปจนถึง ลุง ป้า น้า อา นั้นหากทั้ง 6 ลำดับยังมีชีวิตอยู่  ก็ใช่ว่าจะมีสิทธิรับมรดกทุกคนไม่ เพียงแต่อยู่ในข่ายหรือเป็นทายาทที่อยู่ใกล้ตัวเจ้ามรดกหน่อยเท่านั้น  เรียกว่าพอมีความหวังหรือได้ลุ้นบ้าง ถ้าหากให้มีสิทธิพร้อมกันทั้ง 6 ลำดับ แบ่งเสร็จสรรพก็อาจได้คนละหกสลึงเท่านั้น จึงสำทับไปอีกว่า 

ทายาทที่อยู่ลำดับถัดลงไปไม่มีสิทธิรับมรดกของผู้ตาย  เว้นแต่ (1)  กับ (2) ไม่ตัดกัน  ก็เอาเจ้ามรดกเป็นศูนย์กลาง  ถ้าดูลำดับแล้ว ลำดับ (1) คือผู้สืบสันดาน ลำดับ (2) คือ บิดามารดา ลำดับ (3) คือ พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน  จนถึงลำดับ( 6) คือ ลุง ป้า น้า อา ทั้งหมดนี้คือทายาทที่เป็นญาติโกโหติกาของเจ้ามรดกหรือผู้ตายนั่นเอง

ลำดับแรกคือ (1) ได้แก่ผู้สืบสันดาน คือ ลูกของเจ้ามรดก ถัดไปอีก คือพ่อแม่ นั่นเอง

ถัดไปไม่มีสิทธิก็หมายความว่า มีทายาทหลายลำดับแล้ว  ลำดับที่มาก่อนจึงจะมีสิทธิรับมรดก แต่ก็ยกเว้นกันเพียงสองลำดับ คือ ลูกเจ้ามรดก (ทายาทลำดับที่หนึ่ง) กับพ่อแม่เจ้ามรดก (ทายาทลำดับสอง) สองประเภทนี้ไม่ตัดกันคือได้ทั้งคู่  เรียกกันว่าทายาทลำดับหนึ่งกับลำดับสองไม่ตัดกัน ก็สมควรนะครับ เจ้ามรดกตายที่ใกล้ตัวเจ้ามรดกที่สุดนอกจากสามีภริยาเขาแล้วก็พ่อแม่และลูกเขานั่นเอง

ทีนี้ถ้าขณะตายเจ้ามรดกเป็นโสดมีแต่พ่อแม่ (อันดับสอง) และพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน(อันดับสาม) เช่นนี้ ผู้ได้รับมรดกก็คือพ่อแม่เท่านั้น  ทายาทอันดับถัดลงไป คือพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันนั้นไม่มีสิทธิ จำง่ายๆ มีอันดับสองแล้วอันดับถัดไปคือสามก็ไม่มีสิทธิ  หรือมีอันดับสามแล้วอันดับถัดไปคือสี่ไม่มีสิทธิไล่กันไปเรื่อยๆ

 

5. ทายาทชั้นใดได้รับมรดก

นอกจากลำดับทายาทของเจ้ามรดก  ก็ยังมีชั้นของทายาทอีก  อันนี้ก็มีปัญหาเหมือนกันคือทายาทลำดับหนึ่งได้แก่ผู้สืบสันดานของเจ้ามรดกนั่นเอง  แต่ผู้สืบสันดานก็ประกอบด้วย  ลูก หลาน เหลน ลื้อ ของเจ้ามรดกมีตั้งหลายชั้น คำว่าผู้สืบสันดานนั้น มีทั้งชั้นลูกของตัว  ชั้นหลาน ชั้นเหลน ชั้นลื้อ อีก เรื่องนี้มีข้อสงสัยกันอยู่ เพราะอันดับอื่นๆ  ก็คงไม่ต้องสงสัยความจริงในเรื่องนี้ท่านขยายความเรื่องผู้สืบสันดานไว้ว่า ในระหว่างผู้สืบสันดานต่างชั้นกันบุตรของเจ้ามรดกชั้นสนิทที่สุดมีสิทธิรับมรดก  ส่วนผู้สืบสันดานชั้นถัดลงไปจะรับมรดกได้ก็แต่โดยอาศัยสิทธิในการรับมรดกแทนที่  ผู้สืบสันดานชั้นลูกเท่านั้นมีสิทธิรับมรดกของเจ้ามรดกส่วนชั้นหลานเหลนมีสิทธิก็เพียงแต่จะรับมรดกแทนที่เท่านั้น เช่น ก. มีลูกคือ ข. ข. มีลูกคือ ค.  ค. มีลูกคือ ง. ผู้สืบสันดานของ ก. ก็คือ ข. ค. และ ง. แต่ผู้สืบสันดานชั้นสนิทติดเจ้ามรดกก็คงได้แก่ ข. ลูกของ ก. เจ้ามรดกเท่านั้น  ส่วนผู้สืบสันดานชั้นถัดลงไป คือ ค. เป็นผู้สืบสันดานชั้นหลาน ง.เป็นผู้สืบสันดานชั้นเหลนไม่มีสิทธิรับมรดก  จึงเป็นอันว่าหาก ก. ตายลงไปโดย ข. ค. และ ง. ยังมีชีวิตอยู่ ข. เท่านั้นมีสิทธิรับมรดกของ ก. ส่วน ค. ง. อาจมีสิทธิก็โดยการรับมรดกแทนที่ ข. หรือ ค. ตามลำดับ เช่น ข.ตายก่อน ก. ต่อมา ก.ตาย เช่นนี้ในส่วนที่ ข. มีสิทธิรับมรดกของ ก. นั้น ค. ลูกของ ข. ก็เข้ารับมรดกแทนที่ ข.ไป ฉะนั้นหลานๆ เหลนๆเฉยไว้ก่อน

 

6.ทายาทลำดับเดียวกันได้เท่านั้น

สำหรับส่วนแบ่งนั้นถ้าลำดับใดมีสิทธิได้รับมรดกก็ได้เท่ากัน เช่น เจ้ามรดกมีผู้สืบสันดานชั้นลูกห้าคนก็ได้รับส่วนแบ่งเท่ากัน  ในเรื่องทายาทอันดับหนึ่งและอันดับสองนั้นคือ ลูกของเจ้ามรดกกับพ่อแม่ของเจ้ามรดก ในการแบ่งมรดกก็ให้พ่อแม่ได้รับส่วนแบ่งเหมือนเป็นลูกไม่ใช่ให้พ่อแม่เป็นลูกเจ้ามรดกนะครับอย่าเพิ่งโกรธพาลน้อยอกน้อยใจไม่รับมรดกลูกเสียล่ะก็หมายความว่าได้รับส่วนแบ่งมรดก ดังนี้ พ่อคนหนึ่งเท่ากับลูกคนหนึ่ง  แม่คนหนึ่งเท่ากับลูกคนหนึ่ง เช่น ก. เจ้ามรดกมีลูก 3 คน พ่อแม่ยังมีชีวิตอยู่ ขณะ ก. ตายมีเงิน 500,000 บาทดังนั้น  ทั้งลูกทั้งพ่อแม่เจ้ามรดกมีสิทธิรับมรดกโดยมีส่วนแบ่งเท่ากัน ลูก 3 ส่วน พ่อแม่ถือเป็นลูกได้ 2 ส่วน รวม 5 ส่วน แบ่งแล้วส่วนละ 100, 000 บาท ก็ได้คนละแสนบาท

7. ทายาทที่เป็นคู่สมรสคือสามีหรือภริยาได้รับส่วนแบ่งอย่างไร

ทางฝ่ายคู่สมรสคือสามีหรือภริยาของเจ้ามรดกบ้าง มีสิทธิได้รับกับเขาบ้างไหม แค่ไหน เพียงไร ไม่น่าถามเลย ถ้าไม่ได้ก็บ้านแตกแน่ โดยเฉพาะภริยายังไงก็ต้องได้แน่ๆ ทางฝ่ายคู่สมรสนี้จะได้มากขึ้นเรื่อยๆ ทีเดียวแหละ  ดูตามแผนผังจะเห็นได้ชัดทีเดียว คือถ้าเจ้ามรดกตายยังมีลูกอยู่หรือหลานแทนที่ลูกอยู่  และคู่สมรสซึ่งอาจเป็นสามีหรือภริยายังมีชีวิตอยู่ ท่านว่าให้ถือว่าเป็นลูกนั่นเอง เช่น  สามีตาย ขณะตายมีลูก 2  คน และภริยาดังนี้ มรดกก็แบ่งเป็น 3 ส่วน ลูกได้คนละส่วน ภริยาก็ได้ไปอีกส่วนหนึ่ง เป็นต้น คู่สมรสอย่าไปตกอกตกใจว่าได้น้อย เพราะท่านได้ในฐานะเป็นสินสมรสมาครึ่งหนึ่งแล้ว ที่เอามาแบ่งนี้เป็นมรดก หรือส่วนของสามีหรือภริยาท่านเท่านั้น ทีนี้ถ้าขณะเจ้ามรดกตาย เจ้ามรดกมีลูก 2 คน พ่อแม่ยังมีชีวิตอยู่ สามีหรือภริยาเจ้ามรดกมีชีวิตอยู่ ดังนี้ ทายาทเจ้ามรดกมีสิทธิรับมรดกก็ได้แก่ลูก 2 คน พ่อแม่เจ้ามรดก สามีหรือภริยาเจ้ามรดก

ฉะนั้น เมื่อมีลูกอยู่ให้ถือว่าพ่อแม่หรือสามีหรือภริยาของเจ้ามรดกได้รับส่วนแบ่งเหมือนลูก ก็เรียกกันง่ายๆ ว่าได้เท่ากับลูก เป็นอันว่าลูก 2 คน ก็สองส่วน พ่อแม่รวม 2 คน ก็สองส่วน ภริยาหรือสามีก็หนึ่งส่วน รวมเป็น 5 ส่วน ฉะนั้น ถ้าเจ้ามรดกมีทรัพย์สินตีเป็นเงิน 500,000บาท ก็ได้ไปคนละแสนบาท  ทีนี้ถ้าเจ้ามรดกยังไม่มีลูกเลยแต่มีพ่อแม่อยู่และสามีหรือภริยาอยู่  ดังนี้สามีหรือภริยาเจ้ามรดกได้มากขึ้น คือได้ครึ่งหนึ่งของกองมรดกเลย  ส่วนที่เหลือครึ่งหนึ่งก็ได้แก่ พ่อแม่ของเจ้ามรดก เช่น ขณะตายมีทรัพย์สินเป็นเงิน 1,000,000 บาท ก็แบ่งให้สามีหรือภริยาของเจ้ามรดกไปก่อนครึ่งหนึ่งคือ 500,000 บาท อีกครึ่งหนึ่งคือ 500,000 บาท  ก็ให้พ่อแม่ของเจ้ามรดกไป

จะเห็นว่าสามีหรือภริยาของผู้ตายนั้นจะได้มากขึ้นเรื่อยๆ และถ้าหากเจ้ามรดกมีทายาทห่างๆ ออกไป เช่น อันดับ 4 พี่น้องร่วมแต่บิดามารดาของเจ้ามรดก หรืออันดับ 5 ปู่ ย่า ตา ยาย ของเจ้ามรดก หรืออันดับ 6 สุดท้าย ลุง ป้า น้า อา ของเจ้ามรดก แล้วสามีหรือภริยาของเจ้ามรดกจะได้ถึงสองในสามส่วน เช่น ขณะเจ้ามรดกตายมีทายาทที่เป็นญาติได้แก่ ลุง ป้า น้า อา ของเจ้ามรดกนั้น และมีสามีภริยาของเจ้ามรดกซึ่งเป็นทายาทที่เป็นคู่สมรส ถ้าเจ้ามรดกมีทรัพย์สินคิดเป็นเงิน 300,000 บาท คู่สมรสก็เอาไปสองในสามส่วนคือเอาไป 200,000 บาทอีกหนึ่งในสามส่วน คือ 100,000 บาท  ก็ให้ลุง ป้า น้า อาไป ถ้ามีอยู่สี่ท่านดังกล่าวก็ได้ไปคนละ 25,000 บาท เป็นต้น

เรียกว่า สามีภริยาได้มากขึ้นเรื่อยๆ ก็น่าจะชอบด้วยเหตุผล  ผัวเมียขืนได้น้อยกว่าก็แย่นะสิ  ว่ากันจริงๆ แล้วที่เราท่านพบกันอยู่เสมอๆ ผู้ที่จะได้ส่วนแบ่งมรดกก็คือบุตรกับสามีหรือภริยาเจ้ามรดกเท่านั้น ส่วนพ่อแม่เจ้ามรดกก็อาจตายไปก่อนแล้ว  แต่แม้มีชีวิตอยู่ท่านก็ไม่เอาด้วย ให้หลานๆ ไปก็เป็นสิทธิของท่าน แต่จะยุ่งยากมากก็กรณีเจ้ามรดกที่เป็นชายไปเที่ยวมีลูกอยู่ทั่วบ้านทั่วเมือง  ไปอยู่จังหวัดไหนก็ไปมีภริยาน้อยไว้ที่นั่นจนมีลูกด้วยกัน  พอตายลงก็แห่กันมาเผาศพ ทำเอาภริยาแท้จริงของเจ้ามรดกดีอกดีใจว่าผู้ตายช่างมีพรรคพวกมากมายจริงๆ มีบุญญาธิการเหลือเกิน  ที่ไหนได้ปรากฏว่าเป็นภริยาน้อยซึ่งเป็นการเรียกกันทั่วๆไป ความจริงแล้วภริยาประเภทนี้เรียกกันว่าไม่ชอบด้วยกฎหมาย  เพราะตามกฎหมายของเรานั้นบังคับให้มีผัวเดียวเมียเดียวเท่านั้น คือที่ต้องไปจดทะเบียนสมรสนั่นเอง  ฉะนั้น ประเภทนี้ไม่มีสิทธิได้มรดกของสามี ส่วนใหญ่เขาก็ไม่อยากได้หรอกครับ  เพราะเจ้ามรดกขนมาให้มากแล้วตั้งแต่ครั้งยังมีชีวิตอยู่ แหวนเพชรเอย ตุ้มหูเพชรเอยสร้อยมุกเอย บ้านเอย ที่ดินเอย ฯลฯ อะไรต่อมิอะไรเรียบร้อยแล้ว  อมยิ้มลูกเดียว แต่ส่งลูกมาประกบขอแบ่งด้วย  ยังมีสิทธิลุ้นครับ ประเภทนี้ก็คือลูกนอกกฎหมายนั่นเอง  แต่เจ้ามรดกรับรอง เช่น ส่งเสียให้ค่าเล่าเรียนแสดงออกให้ปรากฏว่าเป็นบุตรเช่นเดียวกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย  ระบุไว้ในใบเกิดว่าเป็นบิดาหรือระบุไว้ในสำเนาทะเบียนบ้านว่าเป็นบิดา เป็นต้น ลูกพวกนี้มีสิทธิรับมรดกเช่นกัน ก็น่าเห็นใจลูก ไม่รู้อิโหน่อิเหน่อะไรหลงโคจรมาเกิดเช่นนี้  ที่ว่ารับรองในที่นี้ก็มิใช่ว่าไปจดทะเบียนรับรองว่าเป็นบุตรที่อำเภอ  ถ้าอย่างนั้นเขามีสิทธิได้รับมรดกเต็มที่อยู่แล้ว  การรับรองที่กล่าวถึงคือการแสดงออกโดยพฤติการณ์ทั่วไปของชาวบ้านเรานี้เองว่าเป็นลูก  พูดแล้วก็น่าเห็นใจเกิดมาเป็นข้าวนอกนาก็อย่างนี้แหละ

8. ภริยาหลวงภริยาน้อยตามกฎหมายมีสิทธิในมรดกอย่างไรหรือไม่

เรื่องคู่สมรสของเจ้ามรดกนี้ท่านเห็นคำว่า ภริยาหลวงภริยาน้อย ก็อาจเอะใจสงสัยอันนี้เป็นเรื่องตกค้างมาตั้งแต่สมัยก่อนครับ คือ ผัวเมียตามกฎหมายเก่าที่มีใช้กันอยู่ก่อนวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2478 สมัยนั้นเขามีภริยามากได้ คือมีภริยาหลวงและก็มีประเภทเล็กๆ ลงไปอีกหลายคน พวกนี้ก็เรียกกันว่าภริยาน้อย กฎหมายครอบครัวสมัยใหม่คือที่ใช้มาตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2478 ได้กำหนดทางแก้เอาไว้ว่าภริยาที่ว่านั้นอาจมีชีวิตยืนยาวมาถึงขณะนี้ทั้งคู่คือทั้งหลวงและน้อย  และสามีเพิ่งมาตายขณะนี้ แล้วส่วนแบ่งของคู่สมรสที่ได้มาก็ต้องซอยมาอีกที  คือให้ภริยาน้อยแต่ละคนได้ครึ่งหนึ่งของภริยาหลวง เช่น สามีภริยาตามกฎหมายเก่าสมรสกันเมื่อ พ.ศ. 2475 และยังมีภริยาน้อยอีก 2 คน เมื่อ พ.ศ. 2476, 2477 ตามลำดับ  ก็อยู่กินกันมาจนถึงเวลานี้สามีเพิ่งตาย และมีการแบ่งมรดกของผู้ตายแล้ว  โดยส่วนของภริยาได้มาคิดเป็นเงิน 4,000,000 บาท ฉะนั้นระหว่างภริยาด้วยกัน  ก็มาแบ่งกันอีก กรณีนี้ มีภริยาน้อยอยู่สองคนมีสิทธิได้ครึ่งหนึ่งของภริยาหลวงก็คิดกันง่ายๆ ว่า ภริยาหลวงๆ ได้ 2 ส่วน  ภริยาน้อยได้คนละ 1 ส่วน รวมสองคนเป็น 2 ส่วน รวมทั้งหมดเป็น 4 ส่วน  ภริยาหลวงได้ไปสองส่วนเป็นเงิน 2,000,000 บาท ภริยาน้อยคนละ 1 ส่วน เป็นเงินคนละ1,000,000บาท เป็นอันว่าภริยาน้อยแต่ละคนก็ได้ครึ่งหนึ่งของภริยาหลวง  ปัจจุบันกฎหมายรับรองภริยาเพียงคนเดียว จะนำหลักนี้มาใช้ไม่ได้ ก็หาทางใช้ลูกเล่นเอาเองก็แล้วกัน  สำหรับผู้เป็นภริยาน้อยสมัยใหม่ที่ไม่มีกฎหมายรับรองฐานะท่านไว้

9.ลองมาแบ่งมรดกของผู้ตายกัน

เผื่อสักวันเขาเชิญไปแบ่ง ท่านควรจะดูแผนผังประกอบด้วย แบ่งง่ายๆเล่นไม่ยากเมื่อดูตามตัวอย่าง ก็อาจมีอาชีพใหม่เป็นผู้เชี่ยวชาญการแบ่งมรดก  อย่างไรก็ตามแบ่งให้ดีๆ  ก็แล้วกัน ถ้าแบ่งให้เขาทะเลาะกันดีไม่ดีผู้แบ่งจะถูกล่าข้ามทวีปเอาได้

อุทาหรณ์ที่ 1

นาย ก. ขณะตายมีบุตรอยู่สองคน ภริยาตายไปก่อนแล้ว  บิดามารดาของนาย ก. ก็ตายไปนานแล้ว  นาย  ก. มีทรัพย์สินอันเป็นกองมรดกทั้งบ้านเรือนและที่ดินรวมทั้งเงินสด คือคำนวณเป็นเงินรวมเบ็ดเสร็จ 101,000 บาท ดังนี้ ทายาทของนาย ก. ก็คือบุตรสองคน ซึ่งเป็นทายาทอันดับ 1  มีสิทธิได้ส่วนแบ่งเท่ากัน  มีอยู่สองคนก็แบ่งทรัพย์มรดกออกเป็นสองส่วนเท่ากันบุตรของนาย ก. ได้ไปคนละหนึ่งส่วนเท่ากันคือ คนละ 50,500  บาท

อุทาหรณ์ที่ 2

นาย ก. มีนาง ข.เป็นภริยา ยังไม่มีบุตรไม่มีทายาทอื่นๆ เลย  บิดามารดาของนาย ก.ตายไปนานแล้ว ดังนี้ ถือว่านาย ก. มีทายาทเฉพาะนาง ข. ที่ เป็นคู่สมรสเท่านั้น มรดกของนาย ก. ทั้งหมดจึงตกได้แก่ นาง ข. คนเดียว

อุทาหรณ์ที่ 3

นาย ก. แต่งงานกับนาง ข. โดยไม่ได้จดทะเบียนสมรสกันมาได้ 15 ปี แล้ว มีลูกด้วยกันสามคน  ซึ่ง นาย ก. ก็อุปการะเลี้ยงดู ส่งเสียค่าเล่าเรียนและอยู่ร่วมบ้านเดียวกันตลอดมา  แสดงให้ปรากฏแก่คนทั้งหลายว่าบุคคลเหล่านี้เป็นภริยาและบุตรของตน นาย ก. ตายลงโดยไม่มีทายาทอื่นอีกเลย มีทรัพย์มรดกคิดเป็นเงิน 1,200,000 บาท ดังนี้ สำหรับนาง ข. ภริยานั้นเมื่อไม่ได้จดทะเบียนสมรสกับนาย ก. ตามกฎหมายปัจจุบันบังคับไว้ จึงไม่ใช่ภริยาถูกต้องตามกฎหมาย ไม่ถือว่าเป็นทายาทที่เป็นคู่สมรส  ไม่มีสิทธิรับมรดกนาย ก. ส่วนบุตรสามคนก็เป็นบุตรนอกกฎหมายของนาย ก. ไม่ได้จดทะเบียนว่าเป็นบุตรจึงเป็นบุตรไม่ชอบด้วยกฎหมายเรียกว่าเป็นดอกผลของข้าวนอกนา  แต่กรณีเช่นนี้ถือว่าเป็นการรับรองโดยพฤติการณ์  มีสิทธิรับมรดกบุตรทั้งสามของนาย ก. จึงมีสิทธิรับมรดกโดยได้รับส่วนแบ่งเท่ากันคนละ400,000 บาท

อุทาหรณ์ที่ 4

นาย ก. มีบุตรสองคน ภริยาและบิดามารดาของนาย ก. ยังมีชีวิตอยู่ นาย ก. ตายมีทรัพย์มรดกคิดเป็นเงิน 500,000 บาท ดังนี้ ทายาท ของนาย ก. ได้แก่บุตรบิดามารดาและภริยาของนาย ก. โดยบิดามารดาและภริยา นาย ก. ได้รับส่วนแบ่งเหมือนทายาทชั้นบุตรของนาย ก. ดังนั้นบุตรสองคนเป็น 2 ส่วนภริยา 1 ส่วน รวมเป็น 5 ส่วน มรดกรายนี้จึงตกได้แก่บุตรคนละ 100,000 บาท บิดามารดาคนละ 100,000 บาท  และภริยาได้ 100,000  บาท

อุทาหรณ์ที่ 5

นาย ก. มีบิดามารดาและภริยา แต่ไม่มีบุตร ดังนี้ หากนาย ก. มีมรดก 200,000 บาท ภริยาก็ได้ไปก่อนครึ่งหนึ่ง คือ 100,000 บาท อีก 100,000 บาท ได้แก่บิดามารดาไป หากมีแต่บิดาหรือมารดาก็ได้ไปคนเดียว

อุทาหรณ์ที่ 6

นาย ก.มีบิดามารดาและพี่น้องร่วมบิดาเดียวกัน  ทายาทอื่นไม่มีอีก  ดังนี้บิดามารดาของนาย ก. ซึ่งเป็นทายาทอันดับสองได้มรดกไป  ส่วนพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันของนาย ก. ซึ่งเป็นทายาทลำดับสามไม่มีสิทธิ

อุทาหรณ์ที่ 7

นาย ก. ทายาทของนาย ข. ผู้ตาย นาย ข.ทำพินัยกรรมยกทรัพย์สินให้นาย ก. ห้าแสนบาท แต่ยังมีทรัพย์สินที่ยังไม่ได้ระบุไว้ในพินัยกรรมอีกประมาณหนึ่งล้านบาท นาย ข.ยังมีทายาทอื่นอีก ดังนี้ ปัญหามีว่านาย ก. จะมีสิทธิในส่วนแบ่งของทรัพย์สินก้อนหลังนี้หรือไม่  ดังนั้นถือว่านาย ก.เป็นทายาทสองฐานะคือผู้รับพินัยกรรม  500,000 บาท และทายาทโดยธรรมอีกฐานะหนึ่ง มีสิทธิได้รับส่วนแบ่งในทรัพย์สินหนึ่งล้านบาทด้วย โดยได้รับแบ่งตามหลักเกณฑ์และอุทาหรณ์ในตอนต้น

 

10. ถ้าไม่มีทายาทมรดกได้แก่ใคร

ถ้าไม่มีทายาท มรดกตกได้แก่แผ่นดิน  คือตกเป็นของรัฐบาลไป  แต่จริงๆ แล้วก็มักจะมีทายาทมาขอรับจนได้

11. อายุความมรดก

อายุความมรดก โดยทั่วไปแล้วควรถือหนึ่งปีเป็นเกณฑ์ไว้ก่อน  คือต้องดำเนินการอะไรให้แล้วเสร็จเสียภายในหนึ่งปีนับแต่เจ้ามรดกตายเป็นการดีที่สุด ถึงแม้อาจมีข้อยกเว้นว่ามีอายุความสิบปีหรือไม่มีอายุความ  ซึ่งก็มักมีปัญหามาก  หากรีบจัดการภายในหนึ่งปี นับแต่เจ้ามรดกตายก็จะปลอดภัย

 

หน่วยที่ 4-2 การหมั้น

การหมั้น  การหมั้นจะสมบูรณ์ต่อเมื่อฝ่ายชายได้ส่งมอบหรือโอนทรัพย์สินอันเป็นของหมั้นให้แก่หญิงเพื่อเป็นหลักฐานว่าจะสมรสกับผู้หญิง การหมั้นจะทำได้ต่อเมื่อชายและหญิงมีอายุ 17 บริบูรณ์แล้ว

ผู้เยาว์จะทำการหมั้นได้ต้องได้รับความยินยอมของบิดาและมารดา ผู้รับบุตรบุญธรรมหรือผู้ปกครองแล้วแต่กรณี การหมั้นไม่เป็นเหตุที่จะร้องขอให้ศาลบังคับให้สมรสได้ กล่าวคือ เมื่อหมั้นกันแล้วฝ่ายหนึ่งไม่ยอมสมรสด้วย อีกฝ่ายหนึ่งจะฟ้องบังคับไม่ได้ แต่อาจฟ้องเรียกค่าทดแทนความเสียหายได้

กฎหมายมิได้บัญญัติว่าจะทำการสมรสได้ต่อเมื่อมีการหมั้นกันก่อน ฉะนั้นชายหญิงอาจทำการสมรสกันโดยไม่มีการหมั้นก็ได้

ของหมั้น  เป็นทรัพย์สินของฝ่ายชายได้ส่งมอบหรือโอนให้แก่หญิงเพื่อเป็นหลักฐานว่าจะสมรสกับหญิงนั้น เมื่อหมั้นแล้วของหมั้นตกเป็นสิทธิแก่หญิง ถ้าฝ่ายหญิงผิดสัญญาหมั้นให้คืนของหมั้นแก่ฝ่ายชาย

สินสอด  เป็นทรัพย์สินของฝ่ายชายให้แก่บิดามารดา ผู้รับบุตรบุญธรรมหรือผู้ปกครองฝ่ายหญิงแล้วแต่กรณี เพื่อตอบแทนการที่หญิงยอมสมรส ถ้าไม่มีการสมรสโดยมีเหตุสำคัญอันเกิดแก่หญิง หรือโดยมีพฤิตการณ์ซึ่งฝ่ายหญิงต้องรับผิดชอบทำให้ชายไม่สมควรหรือไม่อาจสมรสกับหญิงนั้น ฝ่ายชายเรียกสินสอดคืนได้

  1. 1.      เงื่อนไขแห่งการสมรส  การสมรสจะทำได้ต่อเมื่อชายและหญิงมีอายุ 17 ปีบริบูรณ์แล้ว แต่ในกรณีที่มีเหตุอันสมควรศาลอาจอนุญาตให้ทำการสมรสก่อนนั้นได้ เช่น ชายหรือหญิงหรือทั้งสองคนอายุไม่ครบ 17 ปีบริบูรณ์ แต่มีความจำเป็นต้องทำการสมรสเพราะต้องเดินทางไปต่างประเทศในฐานะครอบครัวที่เป็นสามีภรรยากัน ศาลอาจเห็นสมควรอนุญาตให้ทำการสมรสก่อนอายุครบ 17ด ปีบริบูรณ์

ข้อห้ามมิให้ทำการสมรส

1.  ถ้าชายหรือหญิงเป็นบุคคลวิกลจริต หรือเป็นบุคคลซึ่งศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ

2.  ชายหญิงซึ่งเป็นญาติสืบสายโลหิตโดยตรงขึ้นไปหรือลงมา หรือเป็นพี่น้องร่วมบิดา มารดา หรือร่วมแต่บิดาหรือมารดา กรณีเช่นนี้ลูกพี่ลูกน้องแม้จะใช้ชื่อสกุลเดี่ยวกันก็อาจจะทำการสมรสกันได้ เพราะกฎหมายมิได้บัญญัติห้ามไว้

3.  ชายหรือหญิงขณะที่ตนมีคู่สมรสอยู่แล้ว

4.  ผู้รับบุตรบุญธรรมจะสมรสกันไม่ได้  การสมรสจะมีผลสมบูรณ์ต่อเมื่อได้จดทะเบียนสมรสแล้วเท่านั้น ผู้เยาว์จะทำการสมรสได้จะต้องได้รับความยินยอมจากบิดาและมารดา ผู้รับบุตรบุญธรรมหรือผู้ปกครองแล้วแต่กรณี การจดทะเบียนสมรส ตามปกติแล้วจะจด ณ ที่ว่าการอำเภอหรือสำนักงานเขตแห่งใดก็ได้ ไม่จำเป็นต้องไปจดทะเบียนสมรส ณ ที่ว่าการอำเภอ ที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีภูมิลำเนาอยู่

  1. 2.      ความสัมพันธ์ระหว่างสามีภริยา    สามีภรรยาต้องอยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยา ต้องช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูกันตามความสามารถและฐานะของตน

ทรัพย์สินระหว่างสามีภริยา  ถ้าสามีภริยาได้ทำสัญญาก่อนสมรสในเรื่องทรัพย์สินไว้เป็นพิเศษอย่างไรก็ให้เป็นไปตามนั้น ทรัพย์สินระหว่างสามีภริยา นอกจากที่ได้แยกไว้เป็น “สินส่วนตัว” ย่อมเป็น“สินสมรส”

สินส่วนตัว  ได้แก่  ทรัพย์สินดังต่อไปนี้

(1) ที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีอยู่ก่อนสมรส

(2) ที่เป็นเครื่องใช้สอยส่วนตัว เครื่องแต่งกาย หรือเครื่องประดับกายตามควรแก่ฐานะ หรือเครื่องมือเครื่องใช้ที่จำเป็นในการประกอบอาชีพ หรือวิชาชีพของคู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง

(3) ที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้มาระหว่างสมรสโดยการรับมรดก หรือโดยการให้โดยเสน่หา

(4) ที่เป็นของหมั้น

สินส่วนตัวของฝ่ายใดถ้าได้แลกเปลี่ยนเป็นทรัพย์สินอื่นซื้อทรัพย์สินอื่นมาหรือขายได้เป็นเงินมาทรัพย์สินอื่นหรือเงินนั้นเป็นส่วนตัวของฝ่ายนั้น สินส่วนตัวของฝ่ายใดให้ฝ่ายนั้นเป็นผู้จัดการ

                   สินสมรส  ได้แก่  ทรัพย์สินดังต่อไปนี้

(1)  ที่คู่สมรสได้มาระหว่างสมรส

(2)  ที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้มาระหว่างสมรสโดยพินัยกรรมหรือโดยการให้เป็นหนังสือเมื่อพินัยกรรมหรือหนังสือยกให้ระบถว่าเป็นสินสมรส

(3)  ที่เป็นดอกผลของสินส่วนตัว

ถ้ากรณีเป็นที่สงสัยว่าทรัพย์สินอย่างหนึ่งเป็นสินสมรสหรือมิใช่ ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นสินสมรส

ตารางแสดงทรัพย์สินระหว่างสามีภริยา

ทรัพย์สินระหว่างสามีภริยา

สินส่วนตัว สินสมรส
 1. ทรัพย์สินที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีอยู่ก่อนสมรส  1. ทรัพย์สินที่คู่สมรสได้มาระหว่างการสมรส
 2. ทรัพย์สินที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้มาระหว่างสมรสโดยการรับมรดกหรือโดยการให้โดยเสน่หา  2. ทรัพย์สินที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้มาระหว่างสมรสโดย พินัยกรรมหรือโดยการให้เป็นหนังสือ เมื่อพินัยกรรมหรือหนังสือยกให้ระบุว่าเป็นสินสมรส
3. ทรัพย์สินที่เป็นเครื่องใช้สอยส่วนตัว เครื่องแต่งกาย หรือเครื่องมือเครื่องใช้ที่จำเป็นในการประกอบอาชีพหรือวิชาชีพของคู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง 3. ทรัพย์สินที่เป็นดอกผลของสินส่วนตัว

 

4. ทรัพย์สินที่เป็นของหมั้น (เป็นของภริยา) 4. ทรัพย์สินระหว่างสามีภริยานอกจากที่ได้แยกไว้เป็น“สินส่วนตัว” ย่อมเป็นสินสมรส

 

4. การสิ้นสุดแห่งการสมรส  การสมรสย่อมสิ้นสุดลงด้วยความตาย การหย่า หรือศาลพิพากษาให้เพิกถอนหรือให้หย่า

ศาลพิพากษาให้เพิกถอน หมายความว่า การสมรสตกเป็นโมฆียะ เช่น คู่สมรสอายุไม่ครบ 17 ปีบริบูรณ์ ผู้เยาว์ทำการสมรสโดยไม่ได้รับความยินยอมจากบิดามารดาหรือสำคัญผิดในตัวคู่สมรสถูกกลฉ้อฉลหรือถูกข่มขู่ การสมรสนั้นตกเป็นโมฆียะและเมื่อศาลพิพากษาให้เพิกถอนการสมรสนั้นก็สิ้นสุดลง

การหย่า  การหย่านั้นจะทำได้แต่โดยความยินยอมของทั้งสองฝ่าย หรือโดยคำพิพากษาของศาล การหย่าโดยความยินยอมต้องทำเป็นตัวหนังสือและมีพยานลงลายมือชื่ออย่างน้อย 2 คน และจะสมบูรณ์ต่อเมื่อได้จดทะเบียนการหย่าแล้ว

เหตุฟ้องหย่าเพื่อให้ศาลมีคำพิพากษาให้หย่ามีหลายกรณี แต่จะยกมากล่าวเฉพาะที่สำคัญ ๆ ดังนี้

(1) สามีอุปการะเลี้ยงดูหรือยกย่องหญิงอื่นฉันสามีภรรยาหรือภริยามีชู้ อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้

(2) สามีหรือภริยาทำร้ายหรือทรมานร่างกายหรือจิตใจ หรือหมิ่นประมาท หรือเหยียดหยาม อีกฝ่ายหนึ่ง หรือบุพการีของอีกฝ่ายหนึ่ง ทั้งนี้ถ้าเป็นการร้ายแรงอีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้

(3) สามีหรือภริยาจงใจละทิ้งร้างอีกฝ่ายหนึ่งไปเกินหนึ่งปี อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้

(4) สามีหรือภริยาถูกศาลสั่งให้เป็นคนสาบสูญหรือไปจากภูมิลำเนาหรือถิ่นที่เป็นอยู่เป็นเวลาเกินสามปีโดยไม่มีใครทราบแน่ว่าเป็นตายร้ายดีอย่างไร อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้

(5) สามีหรือภริยาผิดทัณฑ์บนที่ทำให้ไว้เป็นหนังสือในเรื่องความประพฤติอีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้

(6) สามีหรือภริยาเป็นโรคติดต่ออย่างร้ายแรง อันอาจเป็นภัยแก่อีกฝ่ายหนึ่งและโรคมีลักษณะเรื้อรังไม่มีทางหายได้ อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้

(7) สามีหรือภริยามีสภาพแห่งกาทำให้สามีหรือภริยานั้นไม่อาจร่วมประเวณีได้ตลอดกาล อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้

บิดามารดากับบุตร

1. บุตรชอบด้วยกฎหมาย  กรณีที่เกิดปัญหามีเฉพาะว่าบุตรที่เกิดมาเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของบิดาหรือไม่ ซึ่งจะมีผลไปถึงอำนาจปกครองของบิดา ค่าอุปกรณ์เลี้ยงดูและการรับมรดกส่วนมรดกนั้นไม่มีปัญหา กล่าวคือ กฎหมายบัญญัติว่า เด็กเกิดจากหญิงที่มิได้มีการสมรสกับชายให้ถือว่าเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของหญิงนั้น

บุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของบิดามีได้ 3 ประการคือ

(1) บุตรที่เกิดจากบิดามารดาที่ทำการสมรสกันโดยชอบด้วยกฎหมาย

(2) บุตรที่เกิดจากบิดามารดาที่มิได้จดทะเบียนสมรสกัน แต่ต่อมาบิดามารดาได้จดทะเบียนสมรสกันในภายหลัง

(3) บิดาจดทะเบียนว่าเป็นบุตร หรือศาลพิพากษาว่าเป็นบุตรของบิดา

นอกจาก  3   กรณีดังกล่าวแล้วจะมีบุตรชอบด้วยกฎหมายของบิดาอีกไม่ได้ แต่อย่างไรก็ตาม ถ้าบิดาแสดงพฤติการณ์รับรองว่าเป็นบุตร (ไม่ได้จดทะเบียนว่าเป็นบุตร) เช่น ส่งเสียอุปการะเลี้ยงดูให้ใช้ชื่อสกุล เป็นต้น บุตรดังกล่าวมีสิทธิรับมรดกของบิดาเหมือนบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย ต่างกันแต่ไม่มีสิทธิเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูตามกฎหมาย เช่น บุตรที่ชอบด้วยกฎหมายเท่านั้น

2. สิทธิ หน้าที่ ของบิดามารดาและบุตร

(1) บุตรมีสิทธิใช้ชื่อสกุลของบิดา ในกรณีที่บิดาไม่ปรากฎ บุตรมีสิทธิใช้ชื่อสกุล

(2) บิดามารดาจำต้องอุปการะเลี้ยงดูและให้การศึกษาตามสมควรแก่บุตรในระหว่างที่เป็นผู้เยาว์

(3) บุตรจำต้องอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดา

(4) บุตรซึ่งยังไม่บรรลุนิติภาวะต้องอยู่ใต้อำนาจปกครองของบิดามารดา อำนาจปกครองหรือสิทธิของบิดามารดา ได้แก่

ก. กำหนดที่อยู่ของบุตร

ข. ทำโทษบุตรตามสมควร เพื่อว่ากล่าวสั่งสอน

ค. ให้บุตรทำการงานตามสมควรแก่ความสามารถและฐานานุรูป

ง. เรียกบุตรคืนจากบุคคลอื่น ๆ ซึ่งกักบุตรไว้โดยมิชอบด้วยกฎหมาย

(5)  ผู้ใดจะฟ้องบุพการีของตนเป็นคดีแพ่งหรือคดีอาญามิได้ แต่เมื่อผู้นั้นหรือญาติสนิทของผู้นั้นร้องขอ อัยการจะยกคดีขึ้นว่ากล่าวก็ได้ กล่าวคือลูก หลาน (ลูกของลูก) จะฟ้องพ่อ แม่ ปู่ ย่า ตา ยาย และทวดของตนเป็นคดีแพ่งหรือคดีอาญาไม่ได้ ซึ่งแต่ก่อนเรียกคดีประเภทนี้ว่า “อุทลุม”

มรณบัตร เป็นเอกสารสำคัญทางราชการซึ่งเป็นหลักฐานรายละเอียดเกี่ยวกับการตายของบุคคล

3. การย้ายที่อยู่  เมื่อย้ายที่อยู่ให้เจ้าบ้านแจ้งต่อนายทะเบียนผู้รับแจ้งดังต่อไปนี้

(1)  เมื่อผู้อยู่ในบ้านย้ายที่อยู่ออกจากบ้านให้แจ้งการย้ายออกภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ผู้อยู่ในบ้านย้ายออก

(2)  เมื่อมีผู้ย้ายที่อยู่เข้าอยู่บ้านให้แจ้งภายใน 15 วัน นับแต่วันสร้างเสร็จ เพื่อขอเลขหมายประจำบ้าน

การแจ้งการสร้างบ้านใหม่และการรื้อถอนบ้านไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียม

ความผิด  ไม่แจ้งตามข้อ (1)  (2)  ภายในกำหนด มีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท

สถานที่แจ้งขอเลขบ้าน กรณีสร้างบ้านใหม่และการแจ้งรื้อถอนบ้าน

(1)  ในเขตเทศบาล  ให้แจ้งขอเลขบ้านกรณีสร้างบ้านใหม่หรือแจ้งรื้อถอนบ้านที่สำนักงานเทศบาล

(2)  นอกเขตเทศบาล ให้แจ้งขอเลขบ้านกรณีสร้างบ้านใหม่หรือแจ้งรื้อถอนบ้านที่ที่ว่าการอำเภอหรือที่ผู้ช่วยนายทะเบียนประจำหมู่บ้าน

(3)  ในเขตกรุงเทพมหานคร ให้แจ้งขอเลขบ้านกรณีสร้างบ้านใหม่หรือแจ้งรื้อถอนบ้านที่สำนักงานเขต

 

หน่วยที่ 4-1 นิติกรรม บุคคล

     กฎหมายแพ่ง มีลักษณะเป็นกฎหมายเอกชน ที่กำหนดความสัมพันธ์ระหว่างเอกชนกับเอกชนด้วยกัน เป็นเรื่องที่รัฐไม่เข้ามายุ่งเกี่ยว เพราะไม่มีผลกระทบต่อสังคมส่วนรวม จึงปล่อยให้ประชาชนมีอิสระในการกำหนดความสัมพันธ์ระหว่างกันเองภายในกรอบของกฎหมาย

หลักทั่วไปที่ควรทราบเป็นพื้นฐาน

       1. นิติกรรม

       2. บุคคล

            2.1 บุคคลธรรมดา

            2.2 นิติบุคคล

     1. นิติกรรม หมายถึง การกระทำของบุคคลที่ชอบด้วยกฎหมายและโดยใจสมัครมุ่งโดยตรงต่อการผูกนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่างบุคคล เพื่อก่อให้เกิดความเคลื่อนไหวแห่งสิทธิ นิติกรรมจะมีผลสมบูรณ์ต้องกระทำให้ถูกหลักเกณฑ์ตามกฎหมายกำหนดไว้ คือ วัตถุที่ประสงค์ของนิติกรรมไม่ต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย ไม่เป็นการพ้นวิสัย ไม่เป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน หากกระทำการฝ่าฝืนวัตถุที่ประสงค์ดังกล่าว นิติกรรมนั้น เป็นโมฆะคือเสียเปล่าไม่มีผลบังคับตามกฎหมาย

   ความสมบูรณ์ของนิติกรรม

กฎหมายได้บัญญัติถึงเรื่องความสมบูรณ์ของนิติกรรมที่ทำขึ้นเป็น 3 กรณีคือ

        1) กรณีที่นิติกรรมกระทำขึ้นถูกต้อง ตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนดทุกประการ ย่อมสมบูรณ์มีผลใช้บังคับ

        2) กรณีนิติกรรมที่กระทำขึ้นมีข้อที่อาจเสื่อมเสียบางประการกฎหมายจึงเข้าคุ้มครองปกป้องสิทธิของฝ่ายที่เสียเปรียบโดยกำหนดให้นิติกรรมนั้นมีผลสมบูรณ์ตลอดไปหรือสิ้นผลไป สุดแท้แต่ฝ่ายที่เสียเปรียบนั้นจะเลือก  เรียกว่านิติกรรมที่เป็นโมฆียะ

       3) กรณีนิติกรรมที่กระทำขึ้นไม่ถูกต้องตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมายบัญญัติในเรื่องที่เป็นสาระสำคัญ จึงตกเป็นโมฆะ แยกเหตุแห่งโมฆะกรรมอันเกิดจากวัตถุประสงค์ของนิติกรรม ได้อีกเป็น 3 กรณี คือ

            3.1) นิติกรรมมีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย เช่น ทำสัญญาซื้อขายเฮโรอีน วัตถุประสงค์ของสัญญาซื้อขายจึงเป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย เพราะขัดต่อพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522

            3.2) นิติกรรมมีวัตถุประสงค์เป็นการพ้นวิสัย คือ ทำในสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ เช่น ไก่ทำสัญญาจ้างไข่ไปเก็บดวงดาวบนท้องฟ้า สัญญานี้ย่อมตกเป็นโมฆะ

            3.3) นิติกรรมมีวัตถุประสงค์เป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน เช่น สมยศมีภรรยา และได้ทำสัญญากับดาริกาซึ่งเป็นหญิงว่าจะอยู่กินฉันสามีภรรยา สัญญานี้เป็นโมฆะเพราะขัดต่อศีลธรรมอันดีของประชาชน

        2. บุคคล  ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ บุคคลธรรมดา (Natural Persons) และ นิติบุคคล (Juristic Persons)

               2.1 บุคคลธรรมดา (Natural Persons)  ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 15 บัญญัติหลักเกณฑ์การเริ่มสภาพบุคคลว่า “สภาพบุคคลย่อมเริ่มแต่เมื่อคลอดแล้วอยู่รอดเป็นทารก. .” จากบทบัญญัตินี้จึงถือว่าการเริ่มสภาพบุคคลประกอบด้วยหลักเกณฑ์ 2 ประการ คือ

                    1) มีการคลอด คือ การที่ทารกได้พ้นออกมาจากช่องคลอด โดยไม่มีอวัยวะส่วนใดเหลือติดอยู่ ส่วนจะมีการตัดสายสะดือหรือไม่ไม่เป็นข้อสำคัญ

                   2) มีการอยู่รอดเป็นทารก คือ ต้องปรากฏว่าทารกที่คลอดออกมานั้นได้มีการหายใจแล้วซึ่งอาจจะเป็นการหายใจด้วยตนเองหรือการช่วยเหลือของแพทย์ก็ได้ และไม่ว่าการหายใจนั้นจะมีระยะเวลานานเพียงใดก็ตามประโยชน์และความจำเป็นที่ต้องรู้ว่ามนุษย์มีสภาพบุคคลเมื่อใด และสิ้นสุดลงเมื่อใดนี้ ก็เพื่อนำมาวินิจฉัยปัญหาในทางกฎหมายบางประการ เช่น การที่ทารกตายก่อนคลอดหรือขณะที่ยังคลอดไม่เสร็จนั้นมีผลเกี่ยวกับตัวผู้กระทำให้ทารกตายก่อนคลอด หรือขณะยังคลอดไม่เสร็จโดยผู้กระทำย่อมมีความผิดเพียงฐานทำให้แท้งลูก แต่ถ้าทำให้ทารกตายภายหลังที่การคลอดเสร็จเรียบร้อย  ผู้กระทำอาจมีความผิดฐานฆ่าผู้อื่นตามประมวลกฎหมายอาญา อนึ่ง การคลอดแล้วอยู่รอดเป็นทารกนั้น แม้จะมีชีวิตอยู่เพียงระยะเวลาไม่กี่นาที ก็ได้ชื่อว่ามีสภาพบุคคล สามารถมีสิทธิและหน้าที่ได้ตามกฎหมาย เช่น กรณีที่มารดาคลอดบุตรออกมาเรียบร้อยแล้ว บิดาของเด็กก็ตายลง หลังจากนั้นบุตรซึ่งเพิ่งคลอดเสร็จก็ตายลงอีกคน คงเหลืออยู่แต่มารดา ดังนี้ บุตรมีสภาพบุคคลอยู่ในขณะบิดาตาย จึงมีสิทธิรับมรดกของบิดา และทันทีที่เด็กตายลง มรดกส่วนที่ได้รับจากบิดา ก็จะตกทอดต่อไปยังทายาทของเด็กนั้น ซึ่งได้แก่ มารดา โดยปกติ ทารกในครรภ์มารดายังไม่มีสภาพบุคคล จึงยังไม่อาจมีสิทธิและหน้าที่ต่าง ๆ ได้อย่างเช่นบุคคลธรรมดาทั่วไป แต่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 15 วรรคสอง ก็ได้บัญญัติรับรองสิทธิของทารกในครรภ์มารดาไว้ว่าทารกในครรภ์มารดาก็สามารถจะมีสิทธิต่าง ๆ ได้ ถ้าหากว่าภายหลังคลอดแล้วอยู่รอดเป็นทารก” และการมีสิทธินั้นจะมีผล “ย้อนหลัง” ไปถึงวันที่ทารกยังอยู่ในครรภ์มารดาด้วยสิทธิต่าง ๆ ที่ทารกในครรภ์มารดาสามารถมีได้ หากภายหลังได้คลอดออกมาและอยู่รอดเป็นทารกนั้นจะเป็นสิทธิเกี่ยวกับอะไรก็ได้ ถ้าสิทธินั้นโดยสภาพอาจตกเป็นประโยชน์แก่ทารกได้ กฎหมายก็ย่อมให้ทารกได้รับสิทธินั้น เช่น สิทธิในการรับมรดกหรือสิทธิในครอบครัว เป็นต้น

 ความสามารถของบุคคล (Capacity)

                          ความสามารถของบุคคล หมายถึง ความสามารถในการมีสิทธิหรือใช้สิทธิตามกฎหมาย ซึ่งโดยปกติบุคคลทุกคนย่อมมีความสามารถในการใช้สิทธิได้ทัดเทียมกัน แต่มีบางกรณีเพื่อคุ้มครองบุคคลบางประเภท กฎหมายจึงได้จำกัดหรือตัดทอนความสามารถของบุคคลประเภทนั้น ๆ เสีย ซึ่งบุคคลเหล่านี้ได้แก่ ผู้หย่อนความสามารถซึ่งแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท คือ ผู้เยาว์ คนไร้ความสามารถ และคนเสมือนไร้ความสามารถ

                     ก. ผู้เยาว์

                     ผู้เยาว์ หมายถึง บุคคลผู้ยังไม่บรรลุนิติภาวะการบรรลุนิติภาวะหรือการพ้นจากภาวะผู้เยาว์มีได้ 2 กรณี คือ (1) อายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ (2) อายุยังไม่ครบ 20 ปีบริบูรณ์ แต่ได้ทำการสมรสโดยชอบด้วยกฎหมาย คือ สมรสเมื่อชายและหญิงมีอายุสิบเจ็ดปีบริบูรณ์แล้ว หรือเมื่อศาลอนุญาตให้ทำการสมรสก่อนนั้นได้ความสามารถในการใช้สิทธิของผู้เยาว์ แยกได้ 2 กรณี คือกรณีที่ต้องได้รับความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรม และกรณีที่ผู้เยาว์สามารถใช้สิทธิกระทำได้เอง
 

                  (1) กรณีที่ต้องได้รับความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 21 บัญญัติว่า “ผู้เยาว์จะทำนิติกรรมใด ๆ ต้องได้รับความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรมก่อน การใด ๆ ที่ผู้เยาว์ได้ทำลงปราศจากความยินยอมเช่นว่านั้นเป็นโมฆียะ เว้นแต่จะบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น”การใด ๆ ในที่นี้ หมายความถึงเฉพาะการทำ “นิติกรรม” เท่านั้น ถ้าเป็นการกระทำอย่างอื่นที่มิใช่นิติกรรม เช่น ผู้เยาว์กระทำละเมิดต่อผู้อื่น ผู้เยาว์จะต้องรับผิดชอบในการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการนั้น จะอ้างว่าการกระทำนั้นมิได้รับความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรมไม่ได้”ผู้แทนโดยชอบธรรม” หมายถึง ผู้ที่มีอำนาจทำนิติกรรมต่าง ๆ แทนผู้เยาว์ หรือให้ความยินยอมแก่ผู้เยาว์ในการทำนิติกรรม ผู้แทนโดยชอบธรรมได้แก่

                – ผู้ใช้อำนาจปกครอง คือ บิดาและมารดา ซึ่งเป็นผู้ใช้อำนาจ ปกครองร่วมกันในกรณีที่ผู้เยาว์นั้นมีทั้งบิดาและมารดา หรืออาจจะเป็นบิดาหรือมารดาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งก็ได้ ในกรณีที่บิดาหรือมารดาตาย ไม่แน่นอนว่าบิดาหรือมารดามีชีวิตอยู่ บิดาหรือมารดาถูกศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถหรือเสมือนไร้ความสามารถ บิดาหรือมารดาต้องเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลเพราะจิตฟั่นเฟือน ศาลสั่งให้อำนาจปกครองอยู่กับบิดาหรือมารดา

                – ผู้ปกครอง ผู้ปกครองของผู้เยาว์จะมีได้ก็แต่เฉพาะในกรณีอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ ผู้เยาว์ไม่มีบิดา หรือมีบิดามารดาแต่ได้ถูกถอนอำนาจปกครองแล้ว

                (2) กรณีที่ผู้เยาว์สามารถใช้สิทธิกระทำได้เอง

                นิติกรรมที่กฎหมายอนุญาตให้ผู้เยาว์กระทำได้โดยลำพังตนเองไม่จำเป็นต้องขอความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรมอันเป็นข้อยกเว้นหลักทั่วไป คือ

                                1) นิติกรรมที่เป็นคุณประโยชน์แก่ผู้เยาว์ฝ่ายเดียว ได้แก่ นิติกรรมที่ทำให้ผู้เยาว์ได้ไป ซึ่งสิทธิอันใดอันหนึ่ง หรือทำให้หลุดพ้นจากหน้าที่อันใดอันหนึ่ง นิติกรรมที่ทำให้ได้ไปซึ่งสิทธิ เช่น การรับการให้โดยเสน่หา โดยไม่มีภาระผูกพัน นิติกรรมที่ทำให้หลุดพ้นจากหน้าที่ เช่น การที่เจ้าหนี้ทำนิติกรรมปลดหนี้ให้

                                2) นิติกรรมที่ผู้เยาว์ต้องทำเองเฉพาะตัว เช่น รับรองบุตร

                                3) นิติกรรมที่จำเป็นเพื่อการเลี้ยงชีพของผู้เยาว์ ซึ่งเป็นการสมควรแก่ฐานานุรูป เช่น การซื้ออาหารกิน ซื้อสมุดดินสอ ขึ้นรถประจำทาง ทั้งนี้ต้องพิจารณาถึงฐานะความเป็นอยู่ของผู้เยาว์เป็นรายๆ ไป

                                4) การทำพินัยกรรม ผู้เยาว์ทำพินัยกรรมได้เมื่ออายุ 15 ปี บริบูรณ์ ถ้าผู้เยาว์ทำพินัยกรรมในขณะที่อายุยังไม่ครบ 15 ปีบริบูรณ์ แม้ได้รับความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรม พินัยกรรมนั้นก็ยังคงเป็นโมฆะ

                              5) การจำนำตามพระราชบัญญัติโรงรับจำนำ พ.ศ.2505 ผู้เยาว์ที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป สามารถจำนำสิ่งของในโรงรับจำนำได้ แต่การจำนำตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 748 ต้องได้รับความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรม

              ข. คนไร้ความสามารถ

                 คือ บุคคลวิกลจริตที่คู่สมรส บุพการี ผู้สืบสันดานของผู้นั้น หรือพนักงานอัยการ ร้องขอต่อศาล และศาลได้สั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถการสิ้นสุดแห่งการเป็นคนไร้ความสามารถ จะมีได้ในกรณีที่คนไร้ความสามารถถึงแก่ความตาย หรือเมื่อศาลได้สั่งเพิกถอนคำสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถบุคคลที่ศาลได้สั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถต้องจัดให้อยู่ในความอนุบาลของผู้อนุบาล ผู้อนุบาลของคนไร้ความสามารถ ได้แก่ บิดามารดา ในกรณีที่คนไร้ความสามารถยังมิได้ทำการสมรส หรืออาจจะเป็นภริยาหรือสามี ในกรณีที่คนไร้ความสามารถทำการสมรสแล้วนิติกรรมที่คนไร้ความสามารถได้ทำลงตกเป็นโมฆียะทั้งสิ้น ไม่ว่าจะได้รับความยินยอมจากผู้อนุบาลหรือไม่ก็ตาม จะต้องให้ผู้อนุบาลเป็นผู้ทำแทนข้อสังเกต คนวิกลจริตที่ศาลยังมิได้สั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถย่อมถือว่าอยู่ในฐานะเป็นผู้มีความสามารถเหมือนบุคคลธรรมดาทั่วไป จึงสามารถทำนิติกรรม ใดๆ ได้สมบูรณ์เว้นแต่ อาจจะเป็นโมฆียะได้ถ้าหากพิสูจน์ได้ว่านิติกรรมนั้นได้ทำขึ้นในขณะที่ผู้นั้นวิกลจริตอยู่ และคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งได้รู้อยู่ว่าผู้นั้นเป็นคนวิกลจริต

                 ค. คนเสมือนไร้ความสามารถ

                คือ บุคคลที่ไม่สามารถจัดทำการงานของตนเองได้เพราะมีกายพิการ จิตฟั่นเฟือน ไม่สมประกอบ ประพฤติสุรุ่ยสุร่าย เสเพลเป็นอาจิณ ติดสุรายาเมา และคู่สมรส บุพการี ผู้สืบสันดาน หรือพนักงานอัยการร้องขอต่อศาลแล้วศาลสั่งให้เป็นคนเสมือนไร้ความสามารถการสิ้นสุดแห่งการเป็นคนเสมือนไร้ความสามารถ จะมีได้ในกรณีที่บุคคลนั้นถึงแก่ความตาย ศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ หรือเมื่อศาลได้สั่งถอนคำสั่งให้เป็นคนเสมือนไร้ความสามารถนั้นบุคคลที่ศาลสั่งให้เป็นคนเสมือนไร้ความสามารถจะตกอยู่ในความพิทักษ์ของบุคคลที่เรียกว่าผู้พิทักษ์ และจะถูกจำกัดความสามารถบางชนิด กล่าวคือ โดยหลักทั่วไปคนเสมือนไร้ความสามารถย่อมสามารถที่จะทำนิติกรรมใด ๆ ได้และมีผลสมบูรณ์ เว้นแต่ นิติกรรมที่กำหนดไว้ใน ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 34 เช่น การนำทรัพย์สินไปลงทุน การทำสัญญากู้ยืมหรือรับประกัน การประนีประนอมยอมความ การเช่าหรือให้เช่าอสังหาริมทรัพย์เกินกว่า 6 เดือน หรืออสังหาริมทรัพย์เกินกว่า 3 ปี เป็นต้น จะต้องได้รับความยินยอมจากผู้พิทักษ์ก่อน มิฉะนั้นเป็นโมฆียะ

 

       การสิ้นสภาพบุคคล

               ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 15 บัญญัติถึงเรื่องการสิ้นสภาพบุคคลไว้ว่า “…สภาพบุคคลย่อมสิ้นสุดลงเมื่อตาย” การตายนี้แยกออกเป็น 2 กรณี คือ

                1) ตายธรรมดา เป็นการตายตามธรรมชาติ สภาพบุคคลย่อมสิ้นสุดลงตั้งแต่วันที่ตายโดยปกติเมื่อบุคคลใดตายก็ย่อมสามารถทราบได้ว่าบุคคลนั้นตายเมื่อใด แต่บางกรณีอาจจะเกิดปัญหาขึ้นได้ ถ้ามีบุคคลหลายคนถึงแก่ความตายพร้อมกันในเหตุภยันตรายร่วมกัน และไม่ทราบว่าใครตายก่อนตายหลังกันแน่ ปัญหาสำคัญที่เกิดขึ้นก็คือต้องทราบว่าใครตายก่อนหลัง เพราะจะต้องเกี่ยวพันถึงมรดก ด้วยเหตุนี้ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 17 จึงบัญญัติว่า “ในกรณีบุคคลหลายคนตายในเหตุภยันตรายร่วมกัน ถ้าเป็นการพ้นวิสัยจะกำหนดได้ว่าคนไหนตายก่อนหลัง ให้ถือว่าตายพร้อมกัน”

                2) สาบสูญ เป็นการตายตามกฎหมาย กล่าวคือบุคคลใดเมื่อถูกศาลสั่งให้เป็นคนสาบสูญแล้วกฎหมายถือว่าบุคคลนั้นได้ถึงแก่ความตาย การจะถือว่าบุคคลใดเป็นคนสาบสูญต้องประกอบด้วยหลักเกณฑ์ตามที่กฎหมายได้กำหนดไว้ดังนี้ คือ

                    2.1) บุคคลนั้นได้ไปจากภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่โดยไม่ทราบข่าวว่าเป็นตายร้ายดีประการใด เป็นระยะเวลา 5 ปี ในกรณีธรรมดา โดยนับตั้งแต่วันที่ออกไปจากบ้านหรือวันที่ส่งข่าวให้ทราบเป็นครั้งสุดท้าย  2 ปี ในกรณีพิเศษ ได้แก่ กรณีที่บุคคลได้ไปถึงที่สมรภูมิแห่งสงคราม หรือไปตกอยู่ในเรือเมื่ออับปาง หรือไปตกอยู่ในฐานะที่จะเป็นอันตรายแก่ชีวิต ประการอื่น การนับระยะเวลา 2 ปี นี้จะนับตั้งแต่สงครามสงบ หรือเมื่อเรืออับปาง หรือนับแต่ภยันตรายอย่างอื่นนั้นได้ผ่านพ้นไปแล้ว แล้วแต่กรณี

                    2.2) มีคำสั่งของศาลแสดงการสาบสูญ ซึ่งศาลจะสั่งได้ก็ต่อเมื่อผู้มีส่วนได้เสีย ได้แก่ บิดา มารดา บุตร ภริยา สามี หรือพนักงานอัยการ แล้วแต่กรณี ร้องขอต่อศาล และเมื่อศาลได้สั่งให้บุคคลใดสาบสูญแล้วให้โฆษณาคำสั่งนั้นในราชกิจจานุเบกษาเมื่อศาลได้สั่งให้บุคคลใดเป็นคนสาบสูญแล้วจะมีผลดังนี้ คือ

                         (1) ถือว่าบุคคลนั้นเป็นคนสาบสูญ (ถึงแก่ความตาย) นับตั้งแต่เมื่อครบกำหนดระยะเวลา 5 ปี หรือ 2 ปี แล้วแต่กรณี (มิใช่เริ่มนับตั้งแต่วันที่ศาลสั่ง)

                         (2) เมื่อเป็นคนสาบสูญแล้ว ทรัพย์สมบัติทั้งหลายของคนสาบสูญจะตกเป็นมรดกแก่ทายาท ยกเว้นเรื่องการสมรส การสาบสูญไม่ทำให้การสมรสขาดจากกันเป็นเพียงเหตุฟ้องหย่าเท่านั้นคนสาบสูญจะพ้นสภาพจากการเป็นคนสาบสูญได้ตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้คือ

                                1) ถ้าพิสูจน์ได้ว่าบุคคลสาบสูญนั้นยังมีชีวิตอยู่ หรือตายในเวลาอื่นผิดจากระยะเวลาที่มีการร้องขอให้ศาลสั่งเป็นคนสาบสูญ

                                2) เมื่อบุคคลผู้นั้นเอง ผู้มีส่วนได้เสียหรือพนักงานอัยการร้องขอและ

                                3) ศาลมีคำสั่งถอนคำสั่งให้เป็นสาบสูญ และคำสั่งนี้ต้องโฆษณาในราชกิจจานุเบกษา เช่นเดียวกับคำสั่งแสดงการสาบสูญ การเพิกถอนคำสั่งแสดงการสาบสูญ ไม่กระทบกระเทือนถึงความสมบูรณ์แห่งการทั้งหลายที่ได้กระทำโดยสุจริต ในระหว่างเวลาตั้งแต่ศาลมีคำสั่งแสดงการสาบสูญจนถึงเวลาเพิกถอนคำสั่งนั้น อนึ่ง บุคคลที่ได้รับทรัพย์สินมาเนื่องแต่การที่ศาลสั่งแสดงการสาบสูญ แต่ต้องเสียสิทธิของตนไป เพราะศาลสั่งถอนคำสั่งแสดงการสาบสูญนั้น จำต้องส่งคืนทรัพย์สินแต่เพียงเท่าที่ยังได้เป็นลาภอยู่แก่ตน

     2.2  นิติบุคคล (Juristic Persons)

                 คือ บุคคลตามกฎหมายที่กฎหมายสมมติขึ้น และรับรองให้มีสิทธิและหน้าที่เช่นเดียวกับบุคคลธรรมดา เว้นแต่ สิทธิและหน้าที่บางอย่างซึ่งบุคคลธรรมดามีอยู่นั้น นิติบุคคลจะมีไม่ได้ เช่น สิทธิในด้านครอบครัว สิทธิในทางการเมือง เป็นต้น

                 ประเภทของนิติบุคคล

การเป็นนิติบุคคล แบ่งตามอำนาจของกฎหมายที่ก่อตั้งขึ้นได้เป็น 2 ประเภท คือ นิติบุคคลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และนิติบุคคลตามกฎหมายอื่น ๆ

                1) นิติบุคคลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ได้แก่

                                1.1) ห้างหุ้นส่วนที่จดทะเบียน ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ ห้างหุ้นส่วนสามัญ และห้างหุ้นส่วนจำกัด

                                1.2) บริษัทจำกัด คือ บริษัทที่ตั้งขึ้นด้วยการแบ่งทุนเป็นหุ้นมีมูลค่าเท่า ๆ กัน โดยมีผู้ถือหุ้น ๗ คนขึ้นไป และผู้ถือหุ้นทุกคนต่างรับผิดจำกัดเพียงไม่เกินจำนวนเงินที่ตนยังส่งใช้ไม่ครบมูลค่าของหุ้นที่ตนถือ และบริษัทจำกัดนี้กฎหมายบังคับให้จดทะเบียนซึ่งเมื่อจดทะเบียนแล้วก็จะมีสภาพเป็นนิติบุคคล

                                1.3) สมาคม คือ การที่บุคคลหลายคนตกลงเข้ากันเพื่อทำการอันใดอันหนึ่งอันมีลักษณะต่อเนื่องร่วมกัน และมิใช่เป็นการหากำไรหรือรายได้มาแบ่งปันกัน จึงต่างกับบริษัทจำกัดหรือห้างหุ้นส่วนซึ่งมุ่งหากำไร สมาคมที่ได้จดทะเบียนแล้วเป็นนิติบุคคล

                                1.4) มูลนิธิ คือ ทรัพย์สินอันจัดสรรไว้โดยเฉพาะสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อการกุศลสาธารณะ การศาสนา ศิลปะวิทยาศาสตร์ วรรณคดี การศึกษาหรือเพื่อ สาธารณประโยชน์อย่างอื่นโดยมิได้มุ่งหมายหาผลประโยชน์มาแบ่งปันกันและต้องจดทะเบียนตามกฎหมาย มูลนิธิที่ได้จดทะเบียนแล้วเป็นนิติบุคคล

                2) นิติบุคคลตามกฎหมายอื่น ๆ

                นิติบุคคลตามกฎหมายอื่น ๆ นอกจากประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์นั้นจะต้องมีกฎหมายกำหนดไว้เป็นเรื่อง ๆ ไป เช่น สหกรณ์เป็นนิติบุคคลตามพระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. 2471 ราชบัณฑิตสถานเป็นนิติบุคคลตามพระราชบัญญัติราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2485
                นอกจากนี้ยังมีนิติบุคคลตามกฎหมายอื่นอีก เช่น ทบวงการเมือง ได้แก่ กระทรวง ทบวง และกรมในรัฐบาล จังหวัด องค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล กรุงเทพมหานคร และเมืองพัทยา วัดวาอาราม เฉพาะวัดที่ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา แต่ไม่รวมถึงสำนักสงฆ์ เป็นต้น

                     สิทธิและหน้าที่ของนิติบุคคล

                1) สิทธิและหน้าที่ภายในขอบเขตวัตถุประสงค์ ซึ่งย่อมเป็นไปตามที่ได้กำหนดไว้ในกฎหมาย ข้อบังคับ หรือตราสารจัดตั้งของนิติบุคคลนั้น จะทำการใดนอกขอบเขตวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ไม่ได้

                2) สิทธิและหน้าที่ซึ่งเหมือนกับบุคคลธรรมดา เว้นเสียแต่สิทธิและหน้าที่ซึ่งว่าโดยสภาพจะพึงมีพึงเป็นได้เฉพาะแก่บุคคลธรรมดา เช่น ไม่อาจที่จะทำการสมรส ไม่มีหน้าที่รับราชการทหาร ไม่มีสิทธิทางการเมือง เป็นต้น

                 การจัดการนิติบุคคล

                เนื่องจากนิติบุคคลเป็นสิ่งไม่มีชีวิตจิตใจจึงไม่สามารถที่จะแสดงเจตนาหรือทำการโดยตนเองได้ ดังนั้น ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 70 วรรคสอง จึงบัญญัติว่า “ความประสงค์ของนิติบุคคลย่อมแสดงออกโดยผู้แทนของนิติบุคคล”

                ผู้แทนนิติบุคคล คือ ผู้มีอำนาจหน้าที่จัดการแทนนิติบุคคล อาจจะมีคนเดียวหรือหลายคนก็ได้ เช่น รัฐมนตรีเป็นผู้แทนกระทรวง อธิบดีเป็นผู้แทนกรม เจ้าอาวาสเป็นผู้แทนวัดวาอาราม กรรมการเป็นผู้แทนบริษัท เป็นต้น ซึ่งเมื่อผู้แทนได้จัดการอย่างใดให้แก่นิติบุคคลภายในขอบวัตถุประสงค์ และตามบทบัญญัติของกฎหมายแล้ว การนั้นย่อมผูกพันนิติบุคคลอำนาจของผู้แทนนิติบุคคล โดยปกติแล้วย่อมมีกำหนดไว้ในกฎหมายหรือในข้อบังคับหรือตราสารจัดตั้งนิติบุคคลนั้น และถ้ามีผู้จัดการหลายคนและมิได้มีข้อกำหนดไว้เป็นประการอื่น การทำความตกลงต่าง ๆ ในทางอำนวยกิจการให้เป็นไปตามเสียงข้างมากถ้าผู้แทนของนิติบุคคล หรือผู้มีอำนาจทำการแทนนิติบุคคล ได้ทำการตามหน้าที่และทำให้เกิดความเสียหายอย่างหนึ่งอย่างใดแก่บุคคลอื่น นิติบุคคลนั้นจำต้องเสียค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายนั้น แต่มีสิทธิไล่เบี้ยเอาแก่ตัวผู้เป็นต้นเหตุที่ทำให้เกิดความ เสียหายในภายหลังได้แต่ถ้าความเสียหายนั้น เกิดจากการกระทำซึ่งมิได้อยู่ภายในขอบวัตถุประสงค์ของนิติบุคคล หรืออำนาจหน้าที่ของนิติบุคคล บุคคลทั้งหลายเหล่านั้นที่ได้เห็นชอบให้ทำการนั้นกับผู้จัดการและผู้แทนอื่น ๆ ที่ได้เป็นผู้จัดการและผู้แทนอื่น ๆ ที่ได้เป็นผู้ลงมือทำการ จะต้องร่วมกันรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทน

      1. ความผิดเพื่อละเมิดในการกระทำของตนเอง

      2.  ความรับผิดในการกระทำของบุคคลอื่น

      3. ความรับผิดในความเสียหายที่เกิดขึ้นจากทรัพย์

ความผิดเพื่อละเมิดในการกระทำของตนเอง

                ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420 บัญญัติไว้ว่า ผู้ใดจงใจหรือประมาทเลินเล่อทำต่อบุคคลอื่นโดยผิดกฎหมายให้เขาเสียหายถึงแก่ชีวิตก็ดี แก่ร่างกายก็ดี อนามัยก็ดี เสรีภาพก็ดี ทรัพย์สินหรือสิทธิอย่างหนึ่งอย่างใดก็ดี ท่านว่าผู้นั้นทำละเมิดจำต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการนั้น  คำว่า ผู้ใด หมายถึง บุคคลทุกชนิด ไม่ว่าบุคคลที่บรรลุนิติภาวะแล้วหรือผู้เยาว์ บุคคลวิกลจริต ประการต่อมาต้องพิจารณาว่า บุคคลนั้นต้องมีการกระทำด้วย ซึ่งการกระทำนั้นนอกจากจะหมายถึงการเคลื่อนไหวในอิริยาบถโดยรู้สำนึกในความเคลื่อนไหว แล้ว ยังหมายความรวมถึง การงดเว้นไม่กระทำ (omission) แต่ต้องภายใต้เงื่อนไขว่า การงดเว้นหรือละเว้นไม่กระทำการที่มีหน้าที่ต้องทำหน้าที่นี้ อาจเกิดจากกฎหมายหรือเกิดจากสัญญาหรือความสัมพันธ์ทางข้อเท็จจริงที่มีอยู่ระหว่างผู้งดเว้นกับผู้เสียหายหรือเป็นผลมาจากฐานะทางข้อเท็จจริงซึ่งผู้งดเว้นได้ก่อขึ้น

สิ่งต้องทำความเข้าใจ

      1. หน้าที่ตามกฎหมาย หมายความว่า มีกฎหมายบัญญัติไว้เกี่ยวกับหน้าที่ที่ต้องทำ เช่น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1461 สามีภริยาต้องช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูกันตามความสามารถและฐานะของตน จะเห็นได้ว่า หากไม่อุปการะเลี้ยงดูจนผู้มีสิทธิได้รับการอุปการะเลี้ยงดูได้รับความเสียหาย ย่อมเป็นละเมิด เกิดจากการงดเว้นการะทำของผู้มีหน้าที่ อย่างไรก็ดี การงดเว้นไม่กระทำในสิ่งที่กฎหมายมิได้บัญญัติให้กระทำหรือตนไม่มีหน้าที่ก็ไม่ถือเป็นละเมิด

ฎ. 857/2512 การที่จำเลยไม่จัดคนเฝ้าบ้านของบุคคลที่ยกให้จำเลยหรือไม่รื้อถอนอาการดังกล่าว ไม่มีกฎหมายบัญญัติให้จำเลยมีหน้าที่ต้องทำ การที่คนร้ายเข้าไปในบริเวณบ้านดังกล่าวแล้ววางเพลิงเผาบ้านและทรัพย์สินของโจทก์ จะถือว่าจำเลยประมาทเลินเล่อไม่ได้

      2. หน้าที่ตามสัญญา ตัวอย่างเช่น  มีสัญญาจ้างแพทย์รักษาโรค แต่แพทย์ไม่ปฏิบัติตามสัญญา เป็นผลให้เกิดความเสียหาย ถือเป็นการงดเว้น จึงเป็นทั้งผิดสัญญาและละเมิด

      3. หน้าที่เกิดจากความสัมพันธ์ทางข้อเท็จจริงที่มีอยู่ระหว่างผู้งดเว้นกับผู้เสียหาย หรือเป็นผลมาจากฐานะทางข้อเท็จจริงซึ่งผู้งดเว้นได้ก่อขึ้น เช่น แขกมาเยี่ยมบ้าน เจ้าของบ้านก็ต้องจัดเก้าอี้ที่อยู่ในสภาพเรียบร้อยให้แขก เป็นต้น ส่วนหน้าที่อันเป็นผลมาจากฐานะทางข้อเท็จจริง เช่น แพทย์ประจำโรงพยาบาลระหว่างเดินทางกลับบ้าน เห็นผู้เจ็บป่วยก็เข้าช่วยเหลือรักษาพยาบาลอันมิใช่หน้าที่ตามกฎหมายหรือตามสัญญา หากงดเว้นไม่ทำหน้าที่ต่อไปให้ตลอด ก็ย่อมเป็นการงดเว้น

ความรับผิดในการกระทำของบุคคลอื่น

                ศาสตราจารย์ไพจิตร ปุญญพันธุ์ ให้ความหมายว่า เป็นความรับผิดของบุคคลผู้หนึ่งในการกระทำละเมิดของบุคคลอีกผู้หนึ่ง โดยที่บุคคลที่ต้องรับผิดนั้นไม่ได้กระทำละเมิดด้วยตนเอง ทั้งนี้โดยมีบทกฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะให้ต้องรับผิด 

                หากพิจารณาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 425 ซึ่งบัญญัติไว้ว่า นายจ้างต้องร่วมกันรับผิดกับลูกจ้างในผลแห่งละเมิดซึ่งลูกจ้างได้กระทำไปในทางการที่จ้างนั้น จะเห็นว่าในบทบัญญัติดังกล่าวนั้นจะกล่าวเฉพาะนายจ้างกับลูกจ้าง ดังนั้นต้องศึกษาเกี่ยวกับความหมายของนายจ้างและลูกจ้างว่าคืออะไร นายจ้างเป็นบุคคลซึ่งมีคำสั่งและควบคุมงานลูกจ้าง ส่วนลูกจ้างเป็นเพียงบุคคลที่อยู่ภายใต้คำสั่งของนายจ้างและต้องเชื่อฟังคำสั่งของนายจ้าง

                กรณีที่ผู้ประกอบวิชาชีพฯที่ทำงานในส่วนของภาครัฐ ไม่ว่าจะเป็นโรงพยาบาล สถานีอนามัย เป็นต้น  นั้นจะได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ หากมีการทำละเมิดเกิดขึ้น เพราะเจตนารมณ์ของกฎหมายฉบับนี้ มุ่งคุ้มครองการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ของรัฐ เว้นแต่ว่าการละเมิดเกิดจากการประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง กฎหมายจะไม่คุ้มครอง     

                ส่วนผู้ประกอบวิชาชีพฯทำงานในสถานพยาบาลเอกชน ไม่ว่าจะเป็น โรงพยาบาล ต่าง ๆนั้นจะต้องอยู่ภายใต้บังคับของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

ความรับผิดในความเสียหายที่เกิดขึ้นจากทรัพย์

                     เป็นความรับผิดในความเสียหายที่เกิดจากยานพาหนะอันเดินด้วยกำลังเครื่องจักรกลหรือทรัพย์อันตราย บุคคลที่ต้องรับผิด  ได้แก่ ผู้ครอบครองหรือควบคุมสำหรับทรัพย์อันตราย

อย่างไรก็ดี มีข้อยกเว้นความรับผิดเอาไว้ คือ หากพิสูจน์ได้ว่าความเสียหายเกิดจากเหตุสุดวิสัยหรือความผิดของผู้ต้องเสียหายเอง

ค่าสินไหมทดแทนเพื่อละเมิด

                ความมุ่งหมายในการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนอันเป็นหลักการพื้นฐานก็คือ ให้ผู้เสียหายกลับคืนสู่ฐานะเดิมเมื่อยังไม่มีการกระทำละเมิด ศาลเป็นผู้วินิจฉัยว่าค่าสินไหมทดแทนจะพึงใช้โดยสถานใดเพียงใด ตามควรแก่พฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิด

 

หน่วยที่ 3-3 ความรู้เกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษ

ยาเสพติดให้โทษคืออะไร

ยาเสพติดให้โทษคือ  สารเคมีหรือวัตถุชนิดใดๆ ที่เมื่อเสพรับเข้าสู่ร่างกายไม่ว่าจะโดยการรับประทาน  ดม  ฉีด  หรือด้วยประการใด ๆ แล้ว จะทำให้เกิดผลต่อร่างกายและจิตใจ  ในลักษณะสำคัญ เช่น ต้องเพิ่มขนาดเสพขึ้นเป็นลำดับๆ  มีอาการถอนยา (ลงแดง) เมื่อขาดยา มีความต้องการเสพทั้งทางร่างกายและจิตใจอย่างรุนแรงตลอดเวลา  สุขภาพทั่วไปจะทรุดโทรมลง  และหมายความรวมถึงพืชหรือส่วนของพืชที่เป็นหรือให้ผลผลิตที่เป็นยาเสพติดให้โทษหรืออาจใช้เป็นยาเสพติดให้โทษ  และรวมทั้งสารเคมีที่ใช้ในการผลิตยาเสพติดให้โทษด้วยแต่ไม่หมายรวมถึง  ยาสามัญประจำบ้านบางตำรับตามกฎหมายว่าด้วยยาที่มียาเสพติดให้โทษผสมอยู่

ประเภทของยาเสพติดให้โทษ

ยาเสพติดให้โทษตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ  พ.ศ. 2522  แบ่งออกเป็น 5  ประเภท  คือ

ประเภทที่ 1  ยาเสพติดให้โทษชนิดร้ายแรง  เช่น เฮโรอีน ,ยาบ้า (แอมเฟตามีน) เอ็มดีเอ็มเอ (ยาอี)

ประเภทที่ 2  ยาเสพติดให้โทษทั่วไป  เช่น มอร์ฟีน โคคาอีน  โคเคอีน ฝิ่น ยาฝิ่น มูลฝิ่น

ประเภทที่ 3  ยาเสพติดให้โทษทั่วไปที่มียาเสพติดให้โทษประเภทที่ 2 เป็นส่วนผสมอยู่ด้วยตามที่ได้ขึ้นทะเบียนตำรับยาไว้ตามกฎหมาย  เช่น ยาแก้ไอผสมโคเคอีน ฯ

ประเภทที่ 4  สารเคมีที่ใช้ในการผลิตยาเสพติดให้โทษประเภทที่ 1 หรือประเภทที่ 2 เช่น อาเซติดแอนด์ไฮไดรด์ อาเซติดคลอไรด์

ประเภทที่ 5  ยาเสพติดให้โทษที่ไม่ได้เข้าอยู่ในประเภทที่ 1  ถึง ประเภทที่  4 เช่นกัญชา , พืชกระท่อม , พันธุ์ฝิ่น , พืชเห็ดขี้ควาย

ยาเสพติดให้โทษประเภทที่ 1

ยาเสพติดให้โทษประเภทที่ 1 ได้แก่ เฮโรอีน เมทแอมเฟตามีน (ยาบ้า)  เอ็มดีเอ็มเอ(ยาอี) ไม่มีประโยชน์ทางการแพทย์

พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522  มาตรา 15 บัญญัติว่า “ห้ามมิให้ผู้ใดผลิต นำเข้า ส่งออก จำหน่าย หรือมีไว้ในครอบครองซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภทที่ 1”

มาตรา 67 บัญญัติว่า “ผู้ใดมีไว้ในครอบครองซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภทที่ 1 โดยไม่ได้รับอนุญาต ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 1 ปี ถึง 10 ปี หรือปรับตั้งแต่ 20,000  บาท ถึง 200,000  บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ หากผู้ใดครอบครองยาเสพติดให้โทษในประเภทที่ 1 ไว้เพื่อจำหน่าย ซึ่งมีอัตราโทษจำคุกตั้งแต่ 4 ปี ถึงตลอดชีวิต”

มาตรา 91   บัญญัติว่า “ผู้ใดเสพยาเสพติดให้โทษประเภทที่ 1 ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 6 เดือน ถึง 3 ปี หรือปรับตั้งแต่ 10,000  บาท ถึง 60,000  บาท  หรือทั้งจำทั้งปรับ”

ยาเสพติดให้โทษประเภทที่ 2

ได้แก่ มอร์ฟีน โคเดอีน เพทิดีน เมทาโดน และฝิ่น  มีประโยชน์ทางการแพทย์ แต่มีโทษมาก ใช้กรณีที่จำเป็นภายใต้ความควบคุมของแพทย์

ยาเสพติดให้โทษประเภทที่ 3

เป็นยาสำเร็จรูปที่ผลิตขึ้นตามทะเบียนตำรับ ที่ได้รับอนุญาตจากกระทรวงสาธารณสุข มีจำหน่ายตามร้านขายยา ได้แก่ ยาแก้ไอที่มีตัวยาโคเดอีน หรือยาแก้ท้องเสียที่มีตัวยาไดเฟนอกซิน มีประโยชน์ทางการแพทย์มีโทษน้อยกว่ายาเสพติดให้โทษประเภทอื่น

ยาเสพติดให้โทษประเภทที่  4

เป็นยาเคมีที่นำมาใช้ในการผลิต ยาเสพติดให้โทษประเภท 1  ได้แก่นำยาเคมี   อาซิติกแอนไฮไดรด์ อาซิติลคลอไรด์ เอทิลิดีน ไดอาเซเตท สารเออร์โกเมทรีน และคลอซูโดอีเฟดรีน  ส่วนใหญ่ไม่มีการนำมาใช้ประโยชน์ทางการแพทย์แต่อย่างใด

ยาเสพติดให้โทษประเภทที่ 5

ได้แก่ พืชกัญชา พืชกระท่อม พืชฝิ่น และพืชเห็ดขี้ควาย ไม่มีประโยชน์ทางการแพทย์

ตาม พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 92 บัญญัติว่า “ผู้ใดเสพยาเสพติดให้โทษประเภทที่ 5 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000  บาท หรือทั้งจำ ทั้งปรับ” ดังนั้น ผู้ใดเสพกัญชา ไม่ว่าด้วยวิธีการใด ๆ เช่น เอากัญชาผสมบุหรี่แล้วสูบ หรือเสพกัญชาโดยใช้บ้องกัญชา ถือว่าผู้นั้นมีความผิดฐานเสพยาเสพติดให้โทษประเภท 5 ซึ่งมีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000  บาท

พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ กำหนดบทลงโทษสำหรับผู้ทำการผลิต นำเข้า ส่งออก  จำหน่าย มีไว้ในครอบครอง และการเสพยาเสพติดให้โทษประเภท 1 , 2, 3 และ 5  และยังมีบทลงโทษสำหรับผู้ยุยง หรือสงเสริม หรือกระทำการใด ๆ อันเป็นการช่วยเหลือ หรือให้ความสะดวกในการที่ผู้อื่นเสพยาเสพติดให้โทษ

ผู้ติดยาเสพติดให้โทษ ถ้าสมัครเข้ารับการบำบัดรักษาในสถานพยาบาล ที่กระทรวงสาธารณสุข กำหนดเป็นสถานพยาบาลสำหรับบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติด ก่อนที่ความผิดจะปรากฏ และได้ปฏิบัติครบถ้วนตามระเบียบของสถานพยาบาลแล้ว กฎหมายจะเว้นโทษสำหรับการเสพยา

ผู้ที่ใช้อุบายหลอกลวงให้ผู้อื่นเสพยาเสพติดให้โทษมีความผิดหรือไม่

เนื่องจากยาเสพติดให้โทษทุกชนิดเมื่อเสพแล้วย่อมก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพของผู้เสพและต้องทวีจำนวนการเสพมากขึ้นทุกครั้ง  เป็นเหตุให้ต้องเสียเงินในการซื้อยาเสพติดให้โทษเป็นจำนวนมาก เมื่อไม่มีเงินซื้อ ก็ย่อมต้องลงมือกรทำความผิดเพื่อให้ได้เงินมาซื้อยาเสพติดให้โทษซึ่งนับว่าเป็นภัยต่อความมั่นคงของประเทศ กฎหมายจึงกำหนดโทษเกี่ยวกับการใช้อุบายหลอกลวงให้ผู้อื่นเสพยาเสพติดให้โทษไว้ โดยระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 1 ปี ถึง 10 ปี และปรับตั้งแต่ 100,000  บาท ถึง 1,000,000  บาท

ถ้าเป็นการใช้อาวุธ  หรือร่วมกันกระทำความผิดตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป  ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 2 ปี ถึง 15 ปี และปรับตั้งแต่ 200,000  บาท ถึง 1,500,000  บาท

หากเป็นการกระทำต่อหญิง หรือต่อบุคคลที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 3 ปี จำคุกตลอดชีวิต และปรับตั้งแต่ 300,000 บาท ถึง 5,000,000 บาท

อัตราโทษของข้าราชการที่กระทำความผิด

บรรดากรรมการหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 หรือข้าราชการ หรือพนักงานองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ ผู้ใด ผลิต นำเข้า ส่งออก จำหน่ายหรือมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายยาเสพติดให้โทษ หรือสนับสนุนในการกระทำดังกล่าวต้องระวางโทษเป็น 3 เท่า ของโทษที่กำหนดไว้สำหรับความผิดนั้น

เหตุบรรเทาโทษสำหรับผู้ให้ข้อมูลสำคัญแก่เจ้าพนักงาน

ผู้ใดให้ข้อมูลที่สำคัญ และเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษต่อพนักงานฝ่ายปกครอง หรือตำรวจ หรือพนักงานสอบสวน ศาลจึงลงโทษผู้นั้นน้อยกว่าอัตราโทษขั้นต่ำที่กำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นได้

เครื่องมือ เครื่องใช้ ยานพาหนะที่ใช้ในการกระทำความผิดต้องริบทั้งสิ้น

บรรดาเครื่องมือ เครื่องใช้ ยานพาหนะหรือวัตถุอื่นที่บุคคลได้ใช้ในการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษให้ริบเสียทั้งสิ้น เว้นแต่เป็นของผู้อื่นที่ไม่ได้รู้เห็นเป็นใจในการกระทำความผิด

ข้อสันนิษฐานบางประการตามกฎหมาย

ผู้ใดมีไว้ในครอบครอง  ซึ่งยาเสพติดให้โทษประเภท 1 (ยาบ้า) มีปริมาณคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ตั้งแต่ 375 มิลลิกรัมขึ้นไป หรือมียาเสพติดที่มีสารดังกล่าวผสมอยู่จำนวน 15 หน่วยการใช้ขึ้นไป (15 เม็ด) หรือมีน้ำหนักสุทธิตั้งแต่ 1.50 กรัมขึ้นไป ให้ถือว่าผู้นั้นมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย

คดีถึงที่สุด เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษา

ตามปกติเมื่อศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษาแล้วคดีมักจะมีการฎีกาได้ แต่ตาม พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ. 2550 มาตรา 18  กำหนดว่า เมื่อศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษาคดีความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดแล้วให้เป็นที่สุด เว้นแต่เข้าข้อยกเว้นให้ฎีกาได้ตามมาตรา 116 และมาตรา 19 เท่านั้น

มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด

ตามพระราชบัญญัติมาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. 2534 กำหนดให้ริบทรัพย์สินที่เกี่ยวเนื่องกับการกระทำความผิดทั้งสิ้น

ทรัพย์สินที่เกี่ยวเนื่องกับการกระทำความผิด หมายความว่า เงินหรือทรัพย์สินที่ได้รับมาจากการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด และให้หมายความรวมถึง เงิน หรือทรัพย์สินที่ได้มาโดยการใช้เงิน หรือทรัพย์สินดังกล่าวซึ่งหรือกระทำไม่ว่าด้วยประการใด ๆ ให้เงิน หรือทรัพย์สินนั้นเปลี่ยนสภาพไปจากเดิม ไม่ว่าจะมีการเปลี่ยนสภาพกี่ครั้ง และไม่ว่าเงินหรือทรัพย์สินนั้นจะอยู่ในความครอบครองของบุคคลอื่น โอนไปเป็นของบุคคลอื่น หรือปรากฏตามหลักฐานทางทะเบียนว่าเป็นของบุคคลอื่นก็ตาม

ยกตัวอย่างเช่น นำเงินที่ได้จากการขายยาบ้า ไปซื้อสร้อยคอทองคำ โทรทัศน์ รถยนต์  บ้าน  ที่ดิน ฯลฯ สิ่งต่าง ๆ ดังกล่าวนี้ จะต้องถูกริบทั้งสิ้น

หน่วยที่ 3-2 กฎหมายอาญา

กฎหมายอาญา คือ กฎหมายที่บัญญัติว่าการกระทำใดเป็นความผิดและได้กำหนดโทษซึ่งจะลงแก่ความผิดนั้นได้แก่ ประหารชีวิต จำคุก กักขัง ปรับ ริบทรัพย์สิน
กฎหมายอาญา มีความมุ่งหมายในอันที่จะป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้นแก่สังคม เพื่อให้สังคมอยู่ด้วยความร่มเย็นเป็นสุข
กฎหมายอาญา มีประเภทต่างๆ หลายประเภท ประมวลกฎหมายอาญา พระราชบัญญัติต่างๆ ที่ได้ระบุว่าการกระทำใดเป็นความผิด และมีกำหนดโทษไว้ ล้วนเป็นกฎหมายอาญาทั้งสิ้น เช่นพระราชบัญญัติยาเสพย์ติดให้โทษ พระราชบัญญัติความผิดเกิดจากการใช้เช็ค พระราชบัญญัติอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืนและวัตถุระเบิดเป็นต้น

ขอบเขตในการใช้กฎหมายอาญา
1. เวลาที่กฎหมายใช้บังคับ

กฎหมายอาญามีผลใช้บังคับต่อเมื่อขณะที่กระทำผิดนั้น มีกฎหมายบัญญัติว่าการกระทำเช่นนั้นเป็นความผิดและมีกำหนดโทษไว้ และโทษที่จะลงแก่ผู้กระทำผิดนั้น ต้องเป็นโทษที่บัญญัติไว้ในกฎหมาย
หากการกระทำของบุคคลใดในขณะที่กระทำนั้น ไม่มีกฎหมายบัญญัติเป็นความผิดและไม่ได้กำหนดโทษไว้ ผู้กระทำนั้นไม่ต้องรับโทษทางอาญา

 

2. สถานที่ที่กฎหมายอาญาใช้บังคับ

กฎหมายอาญาใช้บังคับได้เฉพาะในราชอาณาจักรไทย การกระทำผิดนอกราชอาณาจักรไม่ต้องรับโทษตามกฎหมายอาญาของไทย  แต่การกระทำผิดในเรือไทย หรืออากาศยานไทยไม่ว่าจะอยู่ที่ใด ให้ถือว่ากระทำผิดในราชอาณาจักร

 

3. บุคคลที่กฎหมายอาญาใช้บังคับ

บุคคลทุกคนไม่ว่าสัญชาติใด หากมากระทำผิดในราชอาณาจักรไทย หรือถือว่าการกระทำนั้น เป็นการกระทำผิดในราชอาณาจักรไทย  ใช้กฎหมายอาญาของไทยลงโทษผู้กระทำผิดนั้นได้
สาระสำคัญของความผิดทางอาญา

ความผิดทางอาญา หมายถึง การกระทำหรือละเว้นการกระทำที่กฎหมายบัญญัติว่าเป็นความผิดและกำหนดโทษไว้ โดยปกติการกระทำความผิดอาญาจะต้องเป็นการกระทำภายในราชอาณาจักร ยกเว้นบางกรณี เช่นความผิดต่อความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร การปลอมแปลงเงินตราและการทำความผิดในเรือไทย หรืออากาศยานไทย ให้ถือว่าเป็นความผิดที่กระทำภายในราชอาณาจักรด้วยการกระทำ แบ่งเป็น

กระทำโดยเจตนา

และกระทำโดยประมาท

 

กระทำโดยเจตนา หมายถึง กระทำโดยรู้สำนึกและขณะเดียวกันก็ประสงค์ต่อผลหรือย่อมเล็งเห็นผล
กระทำโดยรู้สำนึก คือ ขณะที่กระทำนั้นรู้ว่าตนทำอะไร

กระทำโดยประสงค์ต่อผล คือ ทำไปโดยต้องการให้เกิดผลเช่น แล้วเกิดผลเช่นนั้น ตามที่ตนต้องการ

กระทำโดยย่อมเล็งเห็นผล คือ ผู้กระทำไม่ต้องการให้เกิดผลเช่นนั้นขึ้น แต่รู้อยู่ว่าเมื่อทำเช่นนั้นแล้วต้องเกิดผลเช่นนั้นขึ้นอย่างแน่นอน

กระทำโดยประมาท หมายถึง การกระทำโดยไม่ใช้ความระมัดระวัง ซึ่งบุคคลในฐานะเช่นนั้นสามารถใช้ความระมัดระวังได้แต่ไม่ใช้ให้เพียงพอ

ละเว้นการกระทำ คือ กฎหมายบังคับให้ทำแล้วไม่ทำ ถือว่าละเว้นการกระทำ โดยมีกฎหมายกำหนดว่าเป็นความผิด

 

ผู้ร่วมกระทำผิดอาญา

การกระทำผิดอาญานั้น ผู้ใดทำผิดผู้นั้นต้องรับโทษ แต่หากมีบุคคลอื่นเข้ามามีส่วนร่วมในการกระทำผิดผู้นั้นก็ต้องร่วมรับโทษด้วย

1. ตัวการ คือ คนตั้งแต่ 2 คน ขึ้นไปร่วมมือร่วมใจกันกระทำผิด

ร่วมมือ คือ ร่วมกระทำที่แสดงออกมาภายนอก

ร่วมใจ คือ มีเจตนาร่วมกระทำผิด เป็นการกระทำที่อยู่ภายใน สามารถทราบได้ทางพฤติกรรมต่างๆ ที่ส่อแสดงให้เห็นว่า ผู้กระทำมีเจตนาเช่นนั้น เช่น นาย ก กับ นาย ข ได้ตกลงกันที่จะทำร้ายร่างกายนายดำ แล้วนายก กับนาย ข ได้ร่วมกันชกต่อยเตะทำร้ายร่างกายนายดำ กรณีเช่นนี้ ทั้งนาย ก และนาย ข มีเจตนาร่วมทำผิดด้วยกัน เรียกว่าร่วมใจ

ตัวการนั้น ผู้กระทำผิดต้องร่วมมือและร่วมใจ หากขาดไปประการใดประการหนึ่งไม่ถือเป็นตัวการ
2. ผู้ใช้ให้กระทำความผิด

ผู้ใช้ให้กระทำความผิด หมายถึง บุคคลที่คิดและตกลงใจจะกระทำความผิดอย่างหนึ่งแต่ไม่ได้กระทำกลับใช้คนอื่นโดย การจ้าง การวาน การยุยงส่งเสริม การบังคับ การขู่เข็ญ ด้วยวิธีการอย่างใดอย่างหนึ่งให้ผู้อื่นทำแทน
3. ผู้สนับสนุน

ผู้สนับสนุน คือ ผู้ที่กระทำการช่วยเหลือ หรือให้ความสะดวกแก่ผู้อื่นในการที่ผู้อื่นกระทำความผิด เช่น นายดำต้องการยิงนายแดง

นายขาวให้นายดำยืมปืนไปเพื่อไปยิงนายแดง นายขาวเป็นผู้สนับสนุนการกระทำผิด
4. ผู้โฆษณา คือผู้ที่กระทำการชี้นำชักชวน จนผู้อื่นคล้อยตาม และกระทำความผิดตามคำโฆษณานั้น
การพยายามกระทำความผิด

พยายามกระทำความผิด คือ ผู้ที่ลงมือกระทำความผิดแล้ว แต่การกระทำนั้นไม่เป็นผลสำเร็จตามความต้องการของผู้กระทำ

ผู้กระทำความผิดต้องรับโทษ สองในสามของความผิดสำเร็จ

การกระทำที่ไม่เป็นความผิด

เรียกกันว่า การป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย คือผู้ที่จำต้องกระทำการเพื่อป้องกันสิทธิของตนหรือผู้อื่นให้พ้นจากภยันตรายที่เกิดจากการประทุษร้าย อันละเมิดต่อกฎหมาย และเป็นภยันตรายที่ใกล้จะถึง ถ้าได้กระทำพอสมควรแก่เหตุ ผู้กระทำไม่มีความผิด ชาวบ้านเรียกกันว่า “การป้องกันพอสมควรแก่เหตุ”
เช่น  นายดำยกปืนยิงนายแดง นายแดงจึงใช้ปืนยิงนายดำ จนถึงแก่ความตาย ถือว่าแดงป้องกันพอสมควรแก่เหตุ

การกระทำผิดซึ่งได้รับยกเว้นโทษ

– เด็ก เด็กไม่เกิน7 ปี กระทำการอันกฎหมายบัญญัติเป็น ความผิด เด็กนั้นไม่ต้องรับโทษ

– กระทำด้วยความจำเป็น คือ ผู้ที่ต้องกระทำผิดด้วยความ จำเป็นเพราะถูกบังคับ หรือด้วยความจำเป็นเพื่อให้พ้นภยันตราย ซึ่งภยันตรายนั้นไม่สามารถหลีกเลี่ยงหรือขัดขืนได้ และได้กระทำไปไม่เกินสมควรแก่เหตุ เช่น นายเอกไปช่วยงานแต่งงาน ถูกนักเลงหลายคนวิ่ง ไล่ทำร้าย นายเอกวิ่งหลบเข้าไปในห้องที่พวกเจ้าบ่าว เจ้าสาวอยู่ นายดำมายืนกั้นไม่ให้นายเอกเข้าไปในห้อง นายเอกจึงชกนายดำกระเด็นไป แล้ววิ่งเข้าไปหลบในห้อง ผิดฐานทำร้ายร่างกาย แต่กระทำด้วยความจำเป็น จึงไม่ต้องรับโทษ

– การกระทำตามคำสั่งโดยชอบของเจ้าพนักงาน เช่น สิบตำรวจเอกดำไล่จับนายเหลือง สิบตำรวจเอกดำสั่ง ให้นายขาวช่วยจับนายเหลืองได้ ต่อมาปรากฏว่านายเหลืองไม่ใช่คนร้าย ไม่เคยกระทำความผิด การที่นายขาวจับนายเหลืองนั้น นายขาวมีความผิดฐาน ทำให้นายเหลืองเสื่อมเสียเสรีภาพ แต่นายขาวได้ปฏิบัติตน ตามคำสั่งของเจ้าพนักงานและนายขาวเชื่อโดยสุจริตว่าสิบตำรวจเอกดำ ได้สั่งโดยชอบด้วยกฎหมาย นายขาวจึงไม่ต้องรับโทษ

การกระทำผิดซึ่งมีเหตุลดหย่อนโทษ

– กรณีที่เป็นญาติ เช่นเป็นบุพการีกับผู้สืบสันดาน ตัวอย่าง บิดาทำต่อบุตร หรือพี่น้องร่วมบิดามารดาทำผิดต่อกัน

“พี่สาวลักทรัพย์ของน้องชาย กรณีเช่นนี้กฎหมายให้ลง น้อยลง และถึงแม้จะเป็นความผิดอันยอมความไม่ได้ ก็สามารถยอมความเลิกแล้วต่อกันได้”

-การกระทำผิดโดยบันดาลโทสะ คือผู้ที่กระทำความผิด เนื่องจากถูกข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรม และได้กระทำต่อผู้ข่มเหงในขณะนั้น เช่น นายดำกลับมาบ้าน เห็นนายเขียวมาเป็นชู้กับภรรยา
ตน และนายเขียววิ่งหนีออกจากบ้านไป นายดำวิ่งไล่ตาม ใช้มีดแทงนายเขียวจนตาย

-เด็กกระทำผิด 14-17 ศาลว่ากล่าวตักเตือน กำหนดเงื่อนไขคุมประพฤติ หรือจะพิพากษาลงโทษ และให้ลดมาตราส่วนโทษที่กำหนดไว้ สำหรับความผิดนั้นลงกึ่งหนึ่ง 17- 20 กระทำการอันกฎหมายบัญญัติเป็นความผิด ศาลจะลดมาตราส่วนโทษลงหนึ่งในสาม

-การบรรเทาโทษ การที่บุคคลใดบุคคลหนึ่งกระทำผิดไปนั้น ย่อมจะมีสาเหตุ และพฤติการณ์ที่แตกต่างกัน รวมทั้งผู้กระทำผิดนั้นเอง ก็มิได้มีเหมือนกันทั้งร่างกาย จิตใจ และสิ่งแวดล้อมก็ แตกต่างกัน การกำหนดโทษที่จะลงแก่ผู้กระทำผิดนั้น จึงไม่อาจกำหนดตายตัวแน่นอนได้ กฎหมายจึงให้พิจารณา ข้อลดหย่อนโทษต่าง ๆ ให้แก่ผู้กระทำผิด กล่าวคือ สามารถลดหย่อนผ่อนโทษให้แก่ผู้โฉดเขลาเบาปัญญา ผู้ตกอยู่ใน ความทุกข์อย่างสาหัส ผู้มีคุณความดีมาก่อน ผู้รู้สำนึกและพยายามบรรเทาผลร้ายของการกระทำผิด ให้ความรู้แก่ศาลเป็นประโยชน์แก่การพิจารณา เป็นต้น

 

ความผิดทางอาญาคืออะไร 

ความผิดทางอาญา คือ การกระทำที่มีผลกระทบการเทือนต่อสังคม รัฐจึงต้องลงโทษผู้กระทำผิด โดยมีหลักสำคัญคือ
• การกระทำนั้นต้องมีกฎหมายกำหนดไว้ชัดแจ้ง
• โทษที่ลงต้องเป็นโทษที่กฎหมายกำหนดไว้
• กฎหมายต้องไม่มีผลย้อนหลัง
โทษอาญามีอะไรบ้าง 

โทษอาญาที่ใช้ลงแก่ผู้กระทำผิดมี ๕ ประการเท่านั้น คือ
• ประหารชีวิต
• จำคุก
• กักขัง
• ปรับ
• ริบทรัพย์สิน

 

ความรับผิดทางอาญา

ผู้กระทำการที่กฎหมายกำหนดว่าเป็นความผิดจะต้องรับผิดทางอาญาเมื่อได้กระทำโดยเจตนาเท่านั้น เว้นแต่มีกฎหมายกำหนดไว้ว่าแม้ไม่ได้กระทำโดยเจตนาก็เป็นความผิด เช่น
• การกระทำโดยประมาท
• การกระทำความผิดลหุโทษ

ผู้กระทำการที่กฎหมายกำหนดว่าเป็นความผิดจะแก้ตัวว่าไม่รู้กฎหมายไม่ได้ เว้นแต่ศาลเห็นว่ามีเหตุผลสมควร
ข้อยกเว้นที่ไม่ต้องรับผิดในทางอาญา

เหตุยกเว้นความผิด ถือว่าผู้กระทำไม่มีความผิดอาญาเลย เช่น
• การป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย
• ผู้เสียหายยินยอมให้กระทำ
• มีกฎหมายประเพณี
• มีกฎหมายอื่นให้อำนาจกระทำได้
เหตุยกเว้นโทษทางอาญา

ถือว่ายังเป็นความผิดอยู่แต่ผู้กระทำไม่ต้องรับโทษทางอาญา
• การกระทำความผิดด้วยความจำเป็น
• การกระทำความผิดเพราะความบกพร่องทางจิต
• การกระทำความผิดเพราะความมึนเมา
• การกระทำตามคำสั่งของเจ้าพนักงาน
• สามี ภริยา กระทำความผิดต่อกันในเรื่องทรัพย์
• เด็กอายุไม่เกิน ๑๔ ปี กระทำความผิด
เหตุลดหย่อนโทษ เป็นเหตุที่ศาลอาจลงโทษสถานเบาได้
    • ศาลเชื่อว่าบุคคลนั้นไม่รู้กฎหมาย
• การกระทำโดยบันดาลโทสะ
• บุพการีกับผู้สืบสันดาน หรือพี่น้องที่การกระทำความผิดเกี่ยวกับทรัพย์

 

เด็กและเยาวชนกระทำความผิด 

เด็กและเยาวชนที่กระทำความผิดอาจกระทำไปเพราะขาดความสำนึกเท่าผู้ใหญ่ โทษสำหรับเด็กจึงต้องแตกต่างกับผู้ใหญ่โดยแบ่งออก เป็น ๔ ระดับ คือ

• อายุ ไม่เกิน ๗ ปี ไม่ต้องรับโทษ

• อายุกว่า ๗ ปี แต่ไม่เกิน ๑๔ ปี ไม่ต้องรับโทษ แต่ศาลอาจว่ากล่าวตักเตือนและวางข้อกำหนดให้บิดามารดาปฏิบัติหรือส่งตัวเด็กไปให้หน่วยงานของรัฐ(บ้านเมตตา) ดูแลอบรมสั่งสอนจนอายุครบ ๑๘ ปี

• อายุกว่า ๑๔ ปี แต่ไม่เกิน ๑๗ ปี อาจใช้วิธีการดังกล่าวข้างต้นหรือลงโทษเช่นเดียวกับผู้ใหญ่แต่ลดมาตราส่วนโทษลงกึ่งหนึ่ง

• อายุกว่า ๑๗ ปี แต่ไม่เกิน ๒๐ ปี ลงโทษเช่นเดียวกับผู้ใหญ่แต่ลดมาตราส่วนโทษลง ๑ ใน ๓ หรือ กึ่งหนึ่ง

เหตุบรรเทาโทษ เพิ่มโทษ ลดโทษ และรอการลงโทษ 

เหตุบรรเทาโทษ เป็นการกำหนดโทษให้เหมาะสมกับแต่ละบุคคลเพื่อให้โอกาสผู้กระทำความผิดได้มีโอกาสกลับตัวเป็นพลเมืองดี มีหลักคือ
• ใช้หลังจากที่เพิ่มโทษแล้ว
• เป็นดุลยพินิจของศาล
• ลดได้ไม่เกินกึ่งหนึ่งของโทษที่จะลง

เหตุบรรเทาโทษได้แก่ เป็นผู้โฉดเขลาเบาปัญญา อยู่ในความทุกข์อย่างสาหัส มีคุณความดีมาก่อน รู้สึกความผิดและพยายามบรรเทาผลร้าย หรือให้ความรู้แก่ศาลอันเป็นประโยชน์แก่การพิจารณา หรือมีเหตุอื่นๆ ที่สมควร

เหตุเพิ่มโทษ ลดโทษ และรอการลงโทษ เป็นการกำหนดโทษให้เหมาะสมกับแต่ละบุคคลเพื่อป้องกันสังคม และแก้ไขผู้กระทำผิดให้กลับตนเป็นพลเมืองดีและกลับเข้าอยู่ในสังคมได้ต่อไป

การพยายามกระทำความผิด คือการกระทำความผิดที่พ้นขั้นตอนการลงมือกระทำความผิดแล้วแต่กระทำความผิดนั้นไม่บรรลุผลตามที่ต้องการมี ๒ กรณี คือ

กระทำการไปไม่ตลอดจนความผิดสำเร็จซึ่งอาจเกิดจากการสมัครใจเองหรือถูกขัดขวางจากภายนอกก็ได้  ได้กระทำไปตลอดแล้วแต่การกระทำนั้นไม่บรรลุผลตามที่ต้องการ ผู้ที่พยามกระทำความผิดต้องรับโทษ ๒ ใน ๓ ส่วน ของโทษสำหรับความผิดนั้น

การร่วมกันกระทำความผิด การร่วมกันกระทำความผิดหรือที่เรียกกันว่า “ตัวการ” คือ การที่บุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไปตกลงใจร่วมกันที่จะกระทำความผิดเดียวกัน ซึ่งอาจมีการแบ่งหน้าที่กันทำเพื่อหวังผลในการกระทำความผิดนั้น ทุกคนต้องรับโทษสำหรับความผิดนั้น

 

การก่อให้ผู้อื่นกระทำความผิด 

การก่อให้ผู้อื่นกระทำความผิดหรือที่เรียกว่า “ผู้ใช้” คือ การที่ทำให้ผู้อื่นกระทำความผิดไม่ว่าจะเป็นการบังคับ ขู่เข็ญ จ้างวาน ยุยงส่งเสริม หรือด้วยวิธีการใด ทุกคนต้องรับโทษสำหรับความผิดนั้น แต่ถ้าผู้ถูกใช้มิได้กระทำตามที่ถูกใช้ ผู้ใช้ต้องรับโทษเพียง ๑ ใน ๓

การสนับสนุนการกระทำความผิด 

การสนับสนุนการกระทำความผิด คือ การที่เข้าไปมีส่วนในการกระทำความความผิดที่ยังไม่เป็นตัวการแต่เข้าไปช่วยเหลือให้ความสะดวกก่อนหรือขณะกระทำความผิดต้องรับโทษ ๒ ใน ๓

 

อายุความ 

อายุความ เป็นระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้เพื่อมิให้ผู้กระทำผิดต้องมีชนักติดหลังไปตลอดชีวิตและเป็นการที่เร่งรัดคดีให้ได้ตัวผู้กระทำความผิด มาพิจารณาโดยเร็วเนื่องจากการปล่อยระยะเวลาให้เนิ่นนานไปจะทำให้ไม่สามารถหาพยานหลักฐานมาพิสูจน์ความผิดได้

อายุความมี ๓ ประเภท คือ
• อายุความฟ้องคดีทั่วไป มี ๕ ระดับ คือ

– ๒๐ ปี สำหรับความผิดที่มีระวางโทษประหารชีวิต จำคุกตลอดชีวิต หรือจำคุก ๒๐ ปี

– ๑๕ ปี สำหรับความผิดที่มีระวางโทษจำคุกกว่า ๗ ปี แต่ยังไม่ถึง ๒๐ ปี

– ๑๐ ปี สำหรับความผิดที่มีระวางโทษจำคุกกว่า ๑ ปี ถึง ๗ ปี

– ๕ ปี สำหรับความผิดที่มีระวางโทษจำคุกกว่า ๑ เดือน ถึง ๑ ปี

– ๑ ปี สำหรับความผิดที่มีระวางโทษจำคุกตั้งแต่ ๑ เดือนลงมา หรือต้องระวางโทษอย่างอื่น
• อายุความฟ้องคดีความผิดอันยอมความได้ นอกจากถือตามอายุความฟ้องคดีทั่วไปแล้ว ยังต้องร้องทุกข์ภายใน ๓ เดือน นับแต่วันที่รู้เรื่องและรู้ตัวผู้กระทำความผิดด้วย
• อายุความฟ้องขอให้กักกัน จะฟ้องไปพร้อมกับการฟ้องคดีอันเป็นเหตุที่ขอให้กักกันหรืออย่างช้าภายใน ๖ เดือนนับแต่วันที่ฟ้องคดีดังกล่าว

ความผิดต่อแผ่นดินและความผิดต่อส่วนตัว 

ความผิดต่อแผ่นดิน คือ ความผิดที่มีผลกระทบต่อผู้ที่ถูกกระทำแล้วยังมีผลกระทบต่อสังคม รัฐจึงต้องเข้าดำเนินการเอาตัวผู้กระทำผิดมาลงโทษให้ได้แม้ผู้ที่ถูกกระทำจะไม่ติดใจเอาความกับผู้กระทำผิดต่อไปแล้วก็ตามเพื่อป้องกันสังคม

ความผิดต่อส่วนตัว คือ ความผิดที่มีผลกระทบต่อผู้ที่ถูกกระทำ แต่ไม่มีผลกระทบต่อสังคมโดยตรง ดังนั้น เมื่อผู้ที่ถูกกระทำจะไม่ติดใจเอาความกับผู้กระทำผิดต่อไปแล้ว รัฐก็ไม่จำต้องเข้ไปดำเนินคดีกับผู้กระทำความผิดอีกต่อไป

การกระทำความผิดใดเป็นความผิดต่อแผ่นดินและความผิดต่อส่วนตัวนั้นมีหลักอยู่ว่า ความผิดใดเป็นความผิดต่อส่วนตัวต้องมีกฎหมายกำหนดไว้โดยชัดแจ้ง ความผิดนอกจากนั้นถือเป็นความผิดต่อแผ่นดิน

หน่วยที่ 3-1 สาระสำคัญทางกฎหมายอาญา

กฎหมายอาญาเป็นกฎหมายมหาชน  มีลักษณะการใช้บังคับดังนี้
     – ต้องมีบทบัญญัติโดยชัดแจ้งกฎหมายอาญาจะต้องมีบทบัญญัติไว้เป็นลายลักษณ์อักษร โดยบัญญัติความผิดและโทษไว้ในขณะกระทำ และบทบัญญัตินั้นต้องชัดเจนปราศจากการคลุมเครือมิฉะนั้นจะใช้บังคับมิได้ เพราะการลงโทษเป็นเรื่องที่มีผลกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพส่วนบุคคลโดยตรง  ฉะนั้น ลักษณะการใช้บังคับกฎหมายอาญาจึงถือหลักไม่มีความผิด ไม่มีโทษ ไม่มีกฎหมาย โดยเคร่งครัด
     – ต้องตีความโดยเคร่งครัดบางกรณีการตีความตามตัวอักษรแต่เพียงอย่างเดียวยังไม่อาจทำเข้าใจความหมายที่แท้จริงของบทบัญญัติแห่งกฎหมายได้ ด้วยเหตุนี้จึงต้องคำนึงถึงเจตนารมณ์ของกฎหมายด้วย นอกจากนี้ การตีความตามตัวอักษรอย่างเคร่งครัดดังกล่าว มีความหมายเฉพาะการเคร่งครัดในด้านที่เป็นคุณแก่ผู้กระทำเท่านั้น มิใช่ในทางที่จะเป็นโทษแก่ผู้กระทำ ในการตีความกฎหมายอาญานั้น จะนำหลักการเทียบกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่ง มาใช้บังคับให้เป็นผลร้ายแก่ผู้กระทำมิได้ หลักการเทียบเคียงนั้น ใช้เฉพาะในกฎหมายแพ่งดังที่มีบัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 4 อย่างไรก็ดีหลักการเทียบเคียงดังกล่าวอาจนำมาใช้เพื่อเป็นคุณหรือเป็นประโยชน์แก่ผู้กระทำได้
    – ย้อนหลังเป็นผลร้ายมิได้ แต่หากการใช้บังคับกฎหมายอาญาย้อนหลังแล้วเกิดผลดีแก่ผู้กระทำผิดนั้นสามารถใช้บังคับได้ กรณี คือ
           1. กรณีกฎหมายใหม่ยกเลิกความผิดตามกฎหมายเก่า
           2. กรณีกฎหมายใหม่แตกต่างจากกฎหมายเก่า
          ความรับผิดทางอาญา
ในการรับผิดทางอาญา ต้องมีครบทั้ง 2 องค์ประกอบ คือ
          1. องค์ประกอบภายนอก
          2. องค์ประกอบภายใน
          ข้อสังเกต มีเพียงบางความผิดเท่านั้น ที่ต้องรับผิดแม้ไม่ครบองค์ประกอบ กล่าวคือ มีแต่องค์ประกอบภายนอกเท่านั้น ก็ถือเป็นความผิด (รายละเอียดขอให้ติดตามในเนื้อหา)
               1. องค์ประกอบภายนอก คือ องค์ประกอบภายนอกของความผิดแต่ละฐาน เช่น ความผิดฐานฆ่าคนตาย (มาตรา 288)  จะประกอบด้วย ผู้กระทำ การกระทำและวัตถุแห่งการกระทำ คือ
                        1. ผู้ใด
                        2. ฆ่า
                        3. ผู้อื่น
              2. องค์ประกอบภายใน
             1. เจตนา พอแบ่งได้ 2 ความหมายคือ
                1.1  เจตนาประสงค์ต่อผล หมายความว่า มุ่งหมายหรือประสงค์ต่อผลโดยตรง ในความผิดต่อชีวิต และความผิดต่อร่างกาย ในการวินิจฉัยต้องใช้หลักกรรมเป็นเครื่องชี้เจตนาเป็นแนวทางในการพิจารณา เช่น ถ้าผู้กระทำใช้ปืนยิงไปที่ผู้เสียหาย โดยยิงไปที่อวัยวะสำคัญ ๆ ต้องถือว่าประสงค์หรือมุ่งหมายให้ผู้เสียหายตาย แต่ถ้าใช้มีดเล็กๆ แทงทีเดียวในเวลาค่ำมืด ขณะที่มองเห็นไม่ถนัด อาจต้องถือว่าประสงค์หรือมุ่งหมายต่ออันตรายแก่กายหรือจิตใจของผู้เสียหายเท่านั้นก็ได้
                1.2 เจตนาเล็งเห็นผล หมายความว่า ผู้กระทำไม่ประสงค์ต่อผลแต่เล็งเห็นได้ว่าจะเกิดผลอย่างแน่นอน เท่าที่จิตใจของบุคคลในฐานะเช่นเดียวกับผู้กระทำโดยปกติเล็งเห็นได้ในการวินิจฉัยนั้น ให้พิจารณาถึงเรื่องประสงค์ต่อผลก่อน หากพิจารณาเห็นว่าผู้กระทำไม่ประสงค์ต่อผล จึงค่อยมาพิจารณาต่อไปว่าผู้กระทำเล็งเห็นผลหรือไม่ เจตนาประสงค์ต่อผลหรือเล็งเห็นผลก็มีผลทางกฎหมายอย่างเดียวกันกล่าวคือ ถ้าเป็นเจตนาฆ่าประเภทประสงค์ต่อผล ผู้กระทำก็ผิดฐานฆ่าคนตายโดยเจตนา ตามปอ. มาตรา 288 ถ้าเป็นเจตนาฆ่าประเภทเล็งเห็นผล ผู้กระทำก็ผิดฐานฆ่าคนตายโดยเจตนา ตาม ปอ. มาตรา 288 เช่นเดียวกัน
           2. เจตนาพิเศษ
              เจตนาพิเศษ คือ มูลเหตุจูงใจในการกระทำความผิด เจตนาพิเศษเป็นคนละกรณีกับเจตนาธรรมดา เจตนาธรรมดาคือประสงค์ต่อผลหรือเล็งเห็นผล ความผิดใดกฎหมายต้องเจตนาพิเศษ ก็จะบัญญัติถ้อยคำที่แสดงว่าเป็นเจตนาพิเศษไว้ในองค์ประกอบของความผิดนั้น ๆ โดยตรง เช่น คำว่า โดยทุจริต ถือว่าเป็นเจตนาพิเศษของความผิดฐานลักทรัพย์(ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 334) คำว่า เพื่อให้ผู้หนึ่งผู้ใดหลงเชื่อว่าเป็นเอกสารที่แท้จริง เป็นเจตนาพิเศษของความผิดฐานปลอมเอกสาร(มาตรา 264) ในการพิจารณาถ้อยคำนั้น ๆ เป็นเจตนาพิเศษหรือไม่ให้สังเกตที่คำว่า เพื่อ………หรือคำว่า โดยทุจริต เป็นต้น    ความผิดที่กฎหมายต้องการเจตนาพิเศษ เช่น ความผิดฐานปลอมเอกสาร(มาตรา 264)  หากผู้กระทำมีแต่เจตนาธรรมดา เช่น ประสงค์ต่อผลหรือเล็งเห็นผลเท่านั้น ผู้กระทำก็ยังไม่มีความผิด โดยถือว่าขาดองค์ประกอบภายใน แต่ถ้าความผิดมาตรา นั้น ๆ กฎหมายไม่ต้องการเจตนาพิเศษ เช่น ความผิดฐานฆ่าคนตายโดยเจตนาตาม มาตรา 288  เพียงแต่ผู้กระทำมีเจตนาธรรมดา กล่าวคือ ประสงค์ต่อผลหรือเล็งเห็นผล ผู้กระทำก็มีความผิดแล้ว
          3. ประมาท
การกระทำโดยประมาท  ตามปอ. มาตรา 59 วรรค 4 มีหลักเกณฑ์ดังนี้
1. มิใช่เป็นการกระทำความผิดโดยเจตนา
2. กระทำไปโดยปราศจากความระมัดระวัง ซึ่งบุคคลในภาวะเช่นนั้นจักต้องมีตามวิสัยและพฤติการณ์
3. ผู้กระทำอาจใช้ความระมัดระวังเช่นว่านั้นได้ แต่หาได้ใช้ให้เพียงพอไม่
ข้อสังเกต   ความผิดอาญาในบางเรื่อง กฎหมายกำหนดให้ผู้ซึ่งมีการกระทำอันครบองค์ประกอบภายนอกต้องรับผิดทันทีโดยไม่ต้องคำนึงถึงองค์ประกอบภายใน  กล่าวคือ แม้ผู้กระทำจะไม่เจตนาและไม่ประมาท ผู้กระทำซึ่งมีการกระทำอันครบองค์ประกอบภายนอกก็ต้องมีความผิด ประมวลกฎหมายอาญา ได้บัญญัติเกี่ยวกับความผิดที่ผู้กระทำไม่ต้องเจตนาและไม่ต้องประมาทไว้ในความผิดลหุโทษ นอกจากนั้นยังมีพระราชบัญญัติอื่น อีกบางเรื่อง ความผิดลหุโทษเป็นความผิดเล็กๆน้อย ๆ ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 102 บัญญัติไว้ว่า ความผิดลหุโทษ คือความผิดซึ่งต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับเช่นว่ามานี้ด้วยกัน ตัวอย่างเช่น มาตรา 369 ผู้ใดกระทำด้วยประการใด ๆ ให้ประกาศภาพโฆษณาหรือเอกสารใดที่เจ้าพนักงานผู้กระทำการตามหน้าที่ปิดหรือแสดงไว้ หรือสั่งให้ปิดหรือแสดงไว้หลุดฉีกหรือไร้ประโยชน์ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าร้อยบาท จะเห็นว่าองค์ประกอบภายนอก มีดังนี้คือ
          1. กระทำด้วยประการใด ๆ
          2. ให้ประกาศ ภาพโฆษณาหรือเอกสารใดที่เจ้าพนักงานผู้กระทำการตามหน้าที่ปิดหรือแสดงไว้หรือสั่งให้ปิดหรือแสดงไว้
          3. หลุด ฉีก หรือไร้ประโยชน์
ตัวอย่าง
ฎ. 59/2473 จำเลยรื้อถอนประกาศเรื่องราวที่ราษฎรขอจับจองที่ดิน ซึ่งกรมการอำเภอประจำท้องที่ได้ปิดประกาศไว้ โดยจำเลยอ้างว่ามีเหตุผลพอในการถอนประกาศนั้น เนื่องจากจำเลยมีสิทธิในที่ดินนั้นดีกว่าผู้ที่ขอจับจองและจำเลยไม่มีเจตนาร้ายในการกระทำเพราะจำเลยไม่ได้ทำให้ประกาศนั้นเป็นอันตราย แต่นำประกาศนั้นพร้อมด้วยคำคัดค้านส่งไปยังอำเภอ การกระทำของจำเลยเพียงบังอาจรื้อถอนประกาศก็เป็นความผิด โดยมิพักต้องคำนึงถึงเจตนาร้ายของจำเลยหรือสาเหตุอื่นใด

หน่วยที่ 2 วิวัฒนาการกฎหมายไทย

วิวัฒนาการกฎหมายในประเทศไทย

เดิมกฎหมายของประเทศไทยนั้นมีที่มาจากจารีตประเพณี ศาสนา รวมไปถึงพระราชโองการของพระมหากษัตริย์ ในสมัยกรุงศรีอยุธยามีกฎหมายที่เรียกว่า “พระราชศาสตร์” ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้นโดยอาศัยหลักใน “คัมภีร์พระธรรมศาสตร์” จนกระทั่งการเสียเมืองครั้งที่ 2 ให้แก่ประเทศพม่า เอกสารสำคัญทางกฎหมายได้มีการถูกทำลายและสูญหายไปเป็นจำนวนมาก ต่อมาในสมัยของรัชการที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ แม้จะมีการรวบรวมกฎหมายขึ้นใหม่แต่ก็เหลือเพียงหนึ่งในสิบของกฎหมายที่มีอยู่เดิมในสมัยกรุงศรีอยุธยา อีกทั้งยังมีเนื้อหาที่ผิดเพี้ยนไปจากเดิม ทำให้กฎหมายที่มีอยู่ไม่สามารถตัดสินคดีได้อย่างยุติธรรม รัชกาลที่ 1 จึงทรงชำระสะสางกฎหมายเสียใหม่กลายเป็น “กฎหมายตราสามดวง” ถือเป็นกฎหมายที่มีความสำคัญของไทยเรา นักวิชาการทั้งหลายถือว่าแม้จริงแล้วกฎหมายตราสามดวงนี้ก็คือกฎหมายในสมัยกรุงศรีอยุธยานั่นเอง

คดีสำคัญที่ก่อให้เกิดกฎหมายตราสามดวงก็คือ “คดีอำแดงป้อม” (อำแดง เป็นคำนำหน้าชื่อของผู้หญิงในสมัยก่อน) คดีนี้มีข้อเท็จจริงคือ นายบุญศรี ช่างเหล็กหลวง ได้ร้องทุกข์กล่าวโทษพระเกษมและนายราชาอรรถ เนื่องจาก อำแดงป้อม ภรรยาของนายบุญศรีเป็นชู้กับ นายราชาอรรถ แต่อำแดงป้อมกลับมาฟ้องหย่านายบุญศรี นายบุญศรีไม่ยอมหย่า แต่พระเกษมกลับพิจารณาเข้าข้างอำแดงป้อมแล้วคัดข้อความส่งให้ลูกขุน ณ ศาลหลวง มีคำตัดสินให้อำแดงป้อมกับนายบุญศรีขาดจากการเป็นสามีภรรยาตามกฎหมาย เมื่อรัชการที่ 1 ทรงทราบเรื่องจึงตรัสว่า หญิงนอกใจชายแล้วมาฟ้องหย่า ลูกขุนปรึกษากันแล้วให้หย่าตามคำฟ้องนั้นไม่เป็นการยุติธรรม จึงมีพระราชโองการตรัสสั่งให้เจ้าพระยาคลังตรวจสอบกฎหมายดังกล่าว ปรากฎได้ความว่า ชายไม่ผิด หญิงมาขอหย่า ก็สามารถหย่าได้(ตามที่บันทึกใช้คำว่า ชายหาผิดมิได้หญิงขอหย่า ท่านว่าเป็นหญิงหย่าชายหย่าได้) จึงทรงเห็นว่าแม้แต่พระไตรปิฎกผิดเพี้ยนไป ก็ยังอาราธนาพระราชาคณะทั้งปวงให้ทำสังคายนาชำระพระไตรปิฎกให้ถูกต้องได้ ดังนั้นเมื่อกฎหมายผิดเพี้ยนไปก็ควรต้องชำระสะสางให้ถูกต้อง พระองค์จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรกกระหม่อมตั้งคณะกรรมการขึ้นมา ประกอบด้วยอาลักษณ์ 4 ลูกขุน 3 ราชบัณฑิต 4 จัดการชำระบทกฎหมายให้ถูกต้อง โดยอาศัย “คัมภีร์พระธรรมศาสตร์”(เชื่อกันว่าเป็นคัมภีร์ที่ผู้ทรงอิทธิฤทธิ์ หรือผู้มีอำนาจเหนือคนธรรมดาแต่งขึ้น เดิมนั้นเป็นของชาวฮินดู เป็นหนังสือในศาสนาพราห์ม) เป็นหลักในการบัญญัติกฎหมาย เช่นเดียวกับในสมัยกรุงศรีอยุธยา เกิดเป็นกฎหมายตราสามดวงขึ้น

ในเวลาต่อมาเกิดการล่าอาณานิคมจากประเทศซีกโลกตะวันตก เช่น ประเทศฝรั่งเศสและประเทศอังกฤษ ทำให้เกิดเหตุการณ์สำคัญขึ้นก็คือการเสียเอกราชทางศาล เนื่องจากต่างประเทศเห็นว่าประเทศไทยเรากฎหมายป่าเถื่อน ไม่เป็นธรรม เมื่อมีปัญหาหรือคดีเกิดขึ้นก็จะไม่ยอมขึ้นศาลไทย และบีบบังคับให้รัฐบาลของไทยทำสนธิสัญญาซึ่งเรียกว่า “สิทธิสภาพนอกอาณาเขต” ได้มีการจัดตั้งศาลกงศุล และศาลต่างประเทศขึ้นเพื่อใช้ในการพิจารณาคดีสำหรับคนชาตินั้นๆโดยเฉพาะ ไม่ใช้กฎหมายของไทยและไม่ขึ้นศาลไทย ในสมัยรัชกาลที่ 5 ทรงมีพระราชดำริที่จะนำเอาเอกราชทางศาลกลับคืนมา โดยการแก้ไขกฎหมายให้ทัดเทียมกับนานาประเทศ จึงได้มีส่งข้าราชการและพระบรมวงศานุวงศ์ไปศึกษากฎหมายที่ต่างประเทศเพื่อนำความรู้มาพัฒนากฎหมาย รวมถึงจ้างผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายจากต่างประเทศมาเป็นที่ปรึกษา ต่อมาทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้มีการตรวจแก้ไขและปรับปรุงกฎหมายขึ้นใหม่ โดยตั้งคณะกรรมการซึ่งมีพระบรมวงศ์เธอพระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์(พระบิดาแห่งกฎหมายไทย) เป็นประธาน โดยร่างประมวลกฎหมายอาญาเสร็จก่อน(ในสมัยนั้นคือ กฎหมายลักษณะอาญา ร.ศ. 127) อีกทั้งได้มีการตั้งคณะกรรมการขึ้นร่างกฎหมายอื่นๆด้วย ต่อมาในสมัยรัชการที่ 6 ก็ทรงแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นร่างประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์และประกาศใช้ในปี พ.ศ.2468 แรกเริ่มเดิมทีมีเพียง 2 บรรพ คือบรรพ 1 ว่าด้วยบทเบ็ดเสร็จทั่วไป และบรรพ 2 ว่าด้วยหนี้ หลังจากนั้นก็มีการร่างบรรพอื่นๆขึ้นจนครบ 6 บรรพในภายหลัง

ในการปฏิรูประบบกฎหมายจากระบบเดิมที่ล้าสมัยมาเป็นระบบใหม่นั้น ไทยได้รับเอาระบบซีวิล ลอว์มาใช้ซึ่งเป็นระบบเดียวกับที่ฝรั่งเศสและเยอรมันใช้กัน โดยระบบนี้มีต้นกำเนิดมาจากอาณาจักรโรมัน เริ่มแรกเดิมทีนั้นคณะกรรมการร่างกฎหมายประสงค์ที่จะนำเอาระบบกฎหมายคอมมอน ลอว์มาใช้บังคับ แต่เนื่องจากระบบกฎหมายนี้เป็นระบบกฎหมายที่ไม่สามารถลอกเลียนแบบได้ เพราะระบบกฎหมายนี้เป็นระบบกฎหมายที่พัฒนามาเป็นเวลาช้านานจากจารีตประเพณีและระบบสังคมโดยเฉพาะ ตัวบทกฎหมายก็ไม่มีการรวบรวมเอาไว้เป็นหมวดหมู่ทำให้ยากแก่การศึกษา ซึ่งแตกต่างกับระบบซีวิล ลอว์ ที่มีการรวบรวมกฎหมายไว้เป็นหมวดหมู่อย่างมีระเบียบ ทำให้ง่ายแก่การศึกษาและนำมาใช้เป็นแบบอย่าง อีกทั้งประเทศส่วนใหญ่นอกจากฝรั่งเศสและเยอรมันแล้ว ต่างก็ใช้ระบบกฎหมายนี้ทั้งสิ้น การที่ประเทศไทยใช้ระบบเดียวกับนานาประเทศก็จะทำให้กฎหมายของไทยมีความเป็นสากลและเป็นที่ยอมรับ ซึ่งก็จะมีผลทำให้ไทยอาจได้รับเอกราชทางศาลคืนได้ง่ายขึ้น

ดังนั้นประเทศไทยจึงนำเอาระบบซิวิล ลอว์มาใช้ โดยนำกฎหมายของประเทศอื่นๆมาผสานเข้ากันกับกฎหมายไทยดั้งเดิม และมีการปรับปรุงให้ทันสมัยเป็นที่ยอมรับของนานาประเทศ จนในที่สุดก็ได้รับเอกราชทางศาลคืนมา และกฎหมายไทยก็ยังมีการพัฒนาขึ้นมาอีกเรื่อยๆเพื่อสามารถใช้แก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในสังคมได้ จนถึงปัจจุบัน

 

วิวัฒนาการกฎหมายไทย

ตามคำไทยแต่เดิม “กฎหมาย” หมายแต่เพียงว่าเป็นคำสั่งของพระเจ้าแผ่นดินที่โปรดให้กดไว้หมายไว้เพื่อใช้บังคับเป็นการคงทนถาวร จะเห็นได้ในพงศาวดารเหนือ (ฉบับของพระวิเชียรปรีชา) ตอนที่พระยาพสุจราชแห่งราชวงศ์พระร่วงได้จัดการแต่งบ้านแต่งเมืองออกรับกองทัพพระเจ้าศรีธรรมไตรปิฎก มีความว่า “แล้วให้กำหนดกฎหมายไว้ทุกหน้าด่าน แล้วให้กำหนดกฎหมายไปถึงเมืองกัมโพชนคร ให้กำหนดกฎหมายสืบ ๆ กันไปถึงเมืองคีรี เมืองสวางคบุรี เมือง… ฯลฯ” ในภาษาไทยแต่เดิม กฎหมายจึงหมายถึงคำสั่งที่ได้กดไว้หมายไว้ให้เป็นที่แน่นอนเท่านั้น ทั้งนี้ คำว่า “กฎหมาย” เป็นคำกริยา ซึ่งประกอบขึ้นจากกริยา “กฎ” มีความหมายว่า “จดบันทึก, จดไว้เป็นหลักฐาน, ตรา” อันเป็นคำที่มาจากภาษาเขมรว่า “กต่” มีความหมายว่า “จด” + นาม “หมาย” ซึ่งแปลว่า “หนังสือ”

แต่โบราณกาล เพื่อให้คำสั่งอันเป็นกฎหมายเป็นของขลังและเป็นที่เคารพเชื่อฟัง จึงมักมีการอ้างเอาความศักดิ์สิทธิ์แห่งสรวงสวรรค์ว่าเป็นที่มาของกฎหมายหรือเป็นที่มาของอำนาจที่ใช้ออกกฎหมาย เช่น ของอังกฤษ ในตอนต้นของกฎหมายมักเขียนว่า “อาศัยพระราชอำนาจอันทรงได้รับประทานจากเทพยุดาฟ้าดิน สมเด็จพระราชินีนาถจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราขึ้นไว้ดังต่อไปนี้” (The Queen, by the Grace of God, enacts as follows:)

ถึงแม้ว่าชั้นเดิม กษัตริย์จะชื่อว่าเป็นรัฏฐาธิปัตย์คือมีอำนาจสูงสุดในแผ่นดิน แต่การจะสั่งให้เป็นกฎหมายนั้นก็ต้องอาศัยอ้างเหตุอ้างผลเพื่อให้คนทั้งหลายเห็นว่าเป็นคำสั่งที่เป็นธรรม เหตุผลที่ยกขึ้นส่วนมากคือจารีตประเพณี เช่น กฎหมายไทยที่ว่า “อันว่าสาขาคดีทั้งหลายดั่งพรรณนามานี้ อันบูราณราชกษัตริย์มีบุญญาภินิหารสมภารบารมีเป็นอธิบดีประชากร ผจญข้าศึกเสร็จแล้ว แลเป็นอิสรภาพในบวรเศวตรฉัตร ประกอบด้วยศีลสัจวัตรปฏิบัติเป็นอันดี…ทรงพระอุตสาหะพิจารณาคำนึงตามคัมภีร์พระธรรมศาสตร์ แล้วมีพระราชบัญญัติดัดแปลงตกแต่งตั้งเป็นพระราชกำหนดบทพระอัยการไว้โดยมาตราเป็นอันมาก…มาตราบเท้าทุกวันนี้”

สำหรับประเทศไทยนั้นเดิมทีมีกฎหมายฉบับหนึ่งซึ่งเรียกเป็นการทั่วไปว่า “พระอัยการ”เป็นกฎหมายแม่บทเสมอรัฐธรรมนูญในปัจจุบัน พระอัยการนี้ต่อมารู้จักกันในชื่อ “กฎหมายตราสามดวง” ซึ่งเป็นกฎหมายที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกโปรดให้ชำระขึ้นใหม่เพราะของเก่าล้วนสูญหายไปเมื่อตอนกรุงศรีอยุธยาแตกก็มี วิปริตผิดเพี้ยนไปก็มี เป็นต้น แต่พระอัยการนั้นพึงเข้าใจว่าเป็นกฎหมายก่อนกฎหมายตราสามดวง แต่มีวิวัฒนาการไปเป็นกฎหมายตราสามดวง

พระอัยการดังกล่าวมีที่มาจากคัมภีร์มนูธรรมศาสตร์ของอินเดีย เนื่องจากเชื่อกันมาพระอัยการนี้เป็นของที่เทวดาบัญญัติขึ้น และจารึกไว้ที่กำแพงจักรวาลตรงสุดป่าหิมพานต์ มนุษย์เราเพียงแต่ไปพบมา จึงเป็นของศักดิ์สิทธิ์อย่างยิ่ง จะแก้ไข เปลี่ยนแปลง ยกเลิก หรือเพิ่มเติมอย่างไรไม่ได้ทั้งสิ้น หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช อธิบายเกี่ยวกับระบบกฎหมายเก่าของไทยว่า

แต่บทพระอัยการนี้เป็นของเก่า เขียนมาแต่โบราณ บางทีก็มีบทซับซ้อนกัน บางทีก็เขียนด้วยภาษาเก่าจนไม่สามารถจะเข้าใจได้ เมื่อเกิดปัญหาขึ้นในบทพระอัยการเช่นนี้ก็เป็นหน้าที่ของขุนศาลตระลาการจะต้องนำบทพระอัยการที่เป็นปัญหานั้นขึ้นถวายให้ทอดพระเนตร และกราบบังคมทูลขอพระราชวินิจฉัยว่าเป็นอย่างไรกันแน่ สมเด็จพระเจ้าแผ่นดินจึงทรงพระราชวินิจฉัย…พระราชวินิจฉัยนั้นก็ถือว่าเป็นกฎหมายเอาไว้ใช้เป็นหลักได้ต่อไป เรียกว่าพระราชบัญญัติ ส่วนพระราชกฤษฎีกานั้นมีบทลงโทษเช่นเดียวกับกฎหมาย แต่ถ้าจะว่าไปแล้วเป็นระเบียบภายในพระราชฐานหรือเท่าที่เกี่ยวกับพระองค์สมเด็จพระเจ้าแผ่นดินเท่านั้น มิได้ใช้บังคับในบ้านเมืองทั่วไปเหมือนกับกฎหมาย อีกอย่างหนึ่งคือพระราชกำหนด พระราชกำหนดนั้นแต่ก่อนมิได้เป็นกฎหมาย แต่เป็นคำสั่งหรือข้อบังคับซึ่งใช้กับข้าราชการที่รับราชการอยู่เท่านั้น จะได้ใช้บังคับแก่ราษฎรโดยทั่วไปก็หาไม่

ปรากฎในเสภาขุนช้างขุนแผนว่าพระราชกฤษฎีกาเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับเกี่ยวกับเรื่องส่วนพระองค์เท่านั้น ในตอนที่ขุนช้างจะเข้าไปถวายฎีกาฟ้องร้องพลายงามต่อสมเด็จพระพันวษา บังเอิญว่าทรงเสด็จประพาสทางเรือ ขุนช้างจึงไปรอถวายฎีกาอยู่ริมน้ำ พบเรือพระที่นั่งกลับมาพอดีก็โจนลงน้ำลอยคอชูหนังสือฎีกาเข้าไปถวาย ณ เรือพระที่นั่ง ทำเอาบรรดาฝีพายและผู้อยู่บนเรือตกใจไปตาม ๆ กัน แต่การถวายฎีกานั้นมีธรรมเนียมว่าราษฎรมีสิทธิถวายที่ไหนก็ได้ และพระมหากษัตริย์ก็จะต้องทรงหยุดรับเสมอไป สมเด็จพระพันวษาจึงโปรดให้รับฎีกาของขุนช้างไว้ และทรงให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นใหม่ให้ชาวพนักงานคอยอารักขาพระองค์ให้จงดี อย่าให้ผู้ใดผลุบเข้ามาได้โดยง่ายเช่นครานี้ มิเช่นนั้นต้องระวางโทษถึงประหารชีวิต ดังเสภาว่า

 

วันนั้นพอพระปิ่นนรินทร์ราช      เสด็จประพาสบัวยังหากลับไม่
ขุนช้างมาถึงซึ่งวังใน      ก็คอยจ้องที่ใต้ตำหนักน้ำ ฯ
๏ จะกล่าวถึงพระองค์ผู้ทรงเดช      เสด็จคืนนิเวศน์พอจวบค่ำ
ฝีพายรายเล่มมาเต็มลำ      เรือประจำแหนแห่เซ็งแซ่มา
พอเรือพระที่นั่งประทับที่      ขุนช้างก็รี่ลงตีนท่า
ลอยคอชูหนังสือดื้อเข้ามา      ผุดโผล่ดงหน้ายึดแคมเรือ
เข้าตรงโทนอ้นต้นกัญญา      เพื่อนโขกลงด้วยกะลาว่าผีเสื้อ
มหาดเล็กอยู่งานพัดพลัดตกเรือ      ร้องว่าเสือตัวใหญ่ว่ายน้ำมา
ขุนช้างดึงดื้อมือยึดเรือ      มิใช่กระหม่อมฉานล้านเกศา
สู้ตายขอถวายซึ่งฎีกา      ขุนช้างก็รี่ลงตีนท่า ฯ
๏ ครานั้นสมเด็จพระพันวษา      ทรงพระโกรธาโกลาหล
ทุดอ้ายชั่วมิใช่คน      บนบกบนฝั่งดังไม่มี
ใช่ที่ใช่ทางวางเข้ามา      หรืออ้ายช้างเป็นบ้ากระมังนี่
เฮ้ยใครรับฟ้องของมันที      ตีเสียสามสิบจึงปล่อยไป
มหาดเล็กก็รับเอาฟ้องมา      ตำรวจคว้าขุนช้างหาวางไม่
ลงพระราชอาญาตามว่าไว้      พระจึงให้ตั้งกฤษฎีกา
ว่าตั้งแต่วันนี้สืบต่อไป      หน้าที่ของผู้ใดให้รักษา
ถ้าประมาทราชการไม่นำพา      ปล่อยให้ใครเข้ามาในล้อมวง
ระวางโทษเบ็ดเสร็จเจ็ดสถาน      ถึงประหารชีวิตเป็นผุยผง
ตามกฤษฎีการักษาพระองค์      แล้วลงจากพระที่นั่งเข้าวังใน ฯ

 

ระเบียบกฎหมายไทยเป็นดังนี้มาจนถึงช่วงรัตนโกสินทร์ตอนต้น ไทยก็ได้ยึดแนวทางตรากฎหมายอย่างอังกฤษ กระนั้น คำเรียกกฎหมายก็เฝืออยู่ เช่น บางฉบับตราเป็นพระราชกำหนดแต่ให้ชื่อว่าพระราชบัญญัติก็มี ราชบัณฑิตยสถานสันนิษฐานว่าเหตุที่เป็นเช่นนั้นเพราะพระราชกำหนดและพระราชบัญญัติสมัยนั้นมีความหมายอย่างเดียวกัน ครั้นต่อมาเมื่อมีรัฐธรรมนูญสำหรับปกครองแผ่นดินขึ้นแล้ว ก็มีการแบ่งแยกอำนาจเป็นฝ่าย ๆ ไป อำนาจในการออกกฎหมายจึงตกแก่ฝ่ายนิติบัญญัติ และกฎหมายก็เป็นระบบระเบียบดังกาลปัจจุบัน

กฎหมายในยุคสุโขทัย

ปรากฎอยู่ในศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง ( ปี พ.ศ. ๑๘๒๘-๑๘๓๕ ) เรียกกันว่า กฎหมายสี่บท ได้แก่

๑)  บทเรื่องมรดก

๒)  บทเรื่องที่ดิน

๓)  บทวิธีพิจารณาความ

๔)  บทลักษณะฎีกา

และมีการเพิ่มเติมกฎหมายลักษณะโจรลงไปในครั้งรัชสมัยพญาเลอไทย กษัตริย์สุโขทัยองค์ที่ ๔ ซึ่งมีส่วนของการนำกฎหมายพระธรรมศาสตร์มาใช้ ซึ่งได้รับอิทธิพลมาจากพราหม ซึ่งได้มีส่วนขยาย ที่เรียกว่า ‘พระราชศาสตร์’ มาใช้ ประกอบด้วย

 

กฎหมายกรุงศรีอยุธยา

กรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีแห่งที่สองของไทย ได้ก่อตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๑๘๙๓ – ๒๓๑๐ พระมหากษัตริย์ในยุคนั้น ได้สร้างกฎหมายซึ่งเรียกว่าพระราชศาสตร์ไว้มากมาย พระราชศาสตร์เหล่านี้ เมื่อเริ่มต้นได้อ้างถึงพระธรรมศาสตร์ฉบับของมนูเป็นแม่บท เรียกกันว่า ‘มนูสาราจารย์’ พระธรรมศาสตร์ฉบับของมนูสาราจารย์นี้ เป็นกฎหมายที่มีต้นกำเนิดในอินเดีย เรียกว่าคำภีร์พระธรรมศาสตร์ ต่อมามอญได้เจริญและปกครองดินแดนแหลมทองมาก่อน ได้แปลต้นฉบับคำภีร์ภาษาสันสกฤตมาเป็นภาษาบาลีเรียกว่า ‘คำภีร์ธรรมสัตถัม’ และได้ดัดแปลงแก้ไขบทบัญญัติบางเรื่องให้มีความเหมาะสมกับชุมชนของตน ต่อจากนั้นนักกฎหมายไทยในสมัยพระนครศรีอยุธยาจึงนำเอาคำภีร์ของมอญมาเป็นหลักในการบัญญัติกฎหมายของตน ลักษณะกฎหมายในสมัยนั้นจะเป็นกฎหมายอาญาเสียเป็นส่วนใหญ่ ในยุคนั้น การบันทึกกฎหมายลงในกระดาษเริ่มมีขึ้นแล้ว เชื่อกันว่าการออกกฎหมายในสมัยก่อนนั้น จะคงมีอยู่ในราชการเพียงสามฉบับเท่านั้น ได้แก่ ฉบับที่พระมหากษัตริย์ทรงใช้งาน ฉบับให้ขุนนางข้าราชการทั่วไปได้อ่านกัน หรือคัดลอกนำไปใช้ ฉบับสุดท้ายจะอยู่ที่ผู้พิพากษาเพื่อใช้ในการพิจารณาอรรถคดี

 

กฎหมายกรุงรัตนโกสินทร์

ในสมัยนั้น พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่๑ เห็นว่ากฎหมายที่ใช้กันแต่ก่อนมานั้นขาดความชัดเจน และไม่ได้รับการจัดเรียงไว้เป็นหมวดหมู่ง่ายต่อการศึกษาและนำมาใช้ จึงโปรดเกล้าให้มีการชำระกฎหมายขึ้นมาใหม่ ในคำภีร์พระธรรมศาสตร์ โดยนำมารวบรวมกฎหมายเดิมเข้าเป็นลักษณะๆ สำเร็จเมื่อ พ.ศ. ๒๓๔๘ และนำมาประทับตราเข้าเป็นตราพระราชสีห์ ซึ่งเป็นตราของกระทรวง มหาดไทย ตราคชสีห์ ของพระทรวงกลาโหม และตราบัวแก้ว ซึ่งเป็นตราของคลัง บนหน้าปกแต่ละเล่ม ตามลักษณะระของการปกครองในสมัยนั้น กฎหมายฉบับนั้นเรียกกันว่า ‘กฎหมายตราสามดวง’ กฎหมายตราสามดวงนี้ ถือเป็นประมวลกฎหมายของแผ่นดินที่ได้รับการปรับปรุงให้มีความรัดกุม ยุติธรรมทั้งทางแพ่งและอาญา นอกจากจะได้บรรจุพระธรรมศาสตร์ตั้งแต่สมัยอยุธยาแล้ว ยังคงมีกฎหมายสำคัญๆอีกหลายเรื่อง อาทิ กฎหมายลักษณะพยาน ลักษณะทาส ลักษณะโจร และต่อมาได้มีการตราขึ้นอีกหลายฉบับ ต่อมาประเทศไทยมีการติดต่อสัมพันธ์ไมตรีกับประเทศต่างๆมาก พึงเห็นได้ว่ากฎหมายเดิมนั้นไม่ได้รับการยอมรับจากนานาอารยประเทศ จนทำให้ไทยต้องเสียสิทธิสภาพนอกอาณาเขต นอกจากนั้นยังไม่สามารถนำมาใช้บังคับได้ทุกกรณี พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงตรากฎหมายขึ้นใหม่ อาทิ พระราชบัญญัติมารดาและสินสมรส ครั้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงจัดวางระบบศาลขึ้นมาใหม่ และได้ให้ผู้เชี่ยวชาญทางกฎหมายทั้งจากอังกฤษ ฝรั่งเศส เบลเยี่ยม ญี่ปุ่น และลังกามาเป็นที่ปรึกษากฎหมาย และในสมัยนั้น พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ ก็ได้แก้ไขชำระกฎหมายตราสามดวงเดิมขึ้นใหม่ และจัดพิมพ์ขึ้นในชื่อของ ‘กฎหมายราชบุรี’ ในปี พ.ศ. ๒๔๔๐ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจชำระและร่างกฎหมายขึ้นมาใหม่ ทำการร่างกฎหมายลักษณะอาญา กฎหมายว่าด้วยการเลิกทาส กฎหมายวิธีบัญญัติ ร่างประมวลกฎหมายแพ่งและกฎหมายที่สำคัญหลายๆฉบับ และในรัชสมัยต่อมา กฎหมายไทยได้ถูกพัฒนาสืบต่อกันยาวนาน ตราบจนทุกวันนี้ มีการจัดทำประมวลกฎหมาย และร่างกฎหมายต่างๆเป็นจำนวนมาก ซึ่งกฎหมายไทยนั้น ได้รับอิทธิพลทั้งจากกฎหมายภาคพื้นยุโรป อาทิกฎหมายอังกฤษ กฎหมายฝรั่งเศส รวมทั้งจารีตประเพณีเดิมของไทยด้วย (มีอยู่ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ ๕ และ ๖ ว่าด้วยเรื่องครอบครัวและมรดก) และได้รับการแก้ไขให้มีความสอดคล้องกับสังคมที่เปลี่ยนไปอยู่ตลอดเวลา มีกฎหมายที่ทันสมัยถูกตราขึ้นใหม่ๆตลอด เช่น กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา หรือที่เกี่ยวกับการค้าระหว่างประเท

 

2. การจัดทำกฎหมาย 

การจัดทำกฎหมายหรือกระบวนการหรือขั้นตอนในการบัญญัติกฎหมายโดยทั่วไปจะมี 3 ขั้นตอน คือ
   1. ขั้นตอนการเสนอร่างกฎหมาย

นั่นคือก่อนที่จะมีกฎหมายตัวจริงออกมาบังคับใช้ จะต้องมีกฎหมายฉบับร่างหรือร่างกฎหมายเสียก่อน ซึ่งร่างกฎหมายก็มีการเรียกกันไปตามชนิดของกฎหมาย เช่นร่างรัฐธรรมนูญ ก็คือรัฐธรรมนูญฉบับร่าง ร่างพระราชบัญญัติ ก็คือพระราชบัญญัติฉบับร่าง คราวนี้องค์กรหรือบุคคลหรือกลุ่มบุคคลใดบ้างเป็นผู้มีอำนาจในจัดทำและเสนอร่างกฎหมาย ก็ขึ้นอยู่กับอำนาจหน้าที่ ที่กฎหมายแม่บทกำหนดเอาไว้ ยกตัวอย่างเช่นรัฐธรรมนูญกำหนดให้บุคคลผู้มีสิทธิเสนอร่างพระราชบัญญัติ คือ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร คณะรัฐมนตรี และประชาชนจำนวนห้าหมื่นคน เป็นต้น
   2. ขั้นพิจารณาร่างกฎหมาย

การพิจารณาร่างกฎหมาย โดยทั่วไปมีตามวาระหรือ 3 ขั้นตอน ได้แก่

– วาระรับหลักการ คือขั้นที่พิจารณาความเหมาะสมว่าเหมาะสมที่จะใช้บังคับกฎหมายนั้นหรือไม่ ถ้าองค์กรที่ทำหน้าที่พิจารณาร่างกฎหมายเห็นว่าเหมาะสม ก็ถือว่าร่างกฎหมายได้ผ่านการพิจารณาในวาระหรือขั้นตอนที่ 1

– วาระการยกร่างกฎหมายและการพิจารณารายละเอียดข้อกฎหมายเป็นรายมาตรา ขั้นตอนนี้ก็คือการนำร่างกฎหมายที่ผ่านวาระที่ 1 แล้วมอบให้กับคณะบุคคลที่มีความรู้ด้านนั้น ๆ ไปตกแต่งข้อความถ้อยคำ เรียกว่า การนำร่างกฎหมายไปยกร่าง หลังจากตกแต่งหรือยกร่างเสร็จ ก็ให้เสนอเพื่อให้องค์กรที่ทำหน้าที่
พิจารณา ได้พิจารณาอีกครั้งหนึ่ง คราวนี้พิจารณารายละเอียดไปทีละมาตราหรือทีละข้อ จนจบสิ้น อาจมีการเปลี่ยนแปลงแก้ไขถ้อยคำข้อความในที่ประชุมนี้ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับข้อบังคับของกฎหมายแม่บทที่กำหนดไว้ว่า ใครมีสิทธิจะขออภิปราย ขอแก้ไข อย่างไร

– วาระสุดท้าย ก็คือการลงมติเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบกับร่างกฎหมายทั้งฉบับ ถ้าสมาชิกสภาหรือคณะบุคคลที่ทำหน้าที่พิจารณาส่วนใหญ่เห็นชอบ ก็นำไปประกาศใช้บังคับเป็นกฎหมายต่อไป ถ้าหากส่วนใหญ่ไม่เห็นชอบ ให้ถือว่าร่างกฎหมายนั้นตกไป จะนำไปใช้บังคับกับประชาชนไม่ได้

ข้อสังเกต…องค์กรหรือคณะบุคคลที่ทำหน้าที่พิจารณาร่างกฎหมาย ก็คือสมาชิกสภานั้น ๆ เช่นองค์กรที่ทำหน้าที่พิจารณาร่างพระราชบัญญัติ ก็คือสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรนั่นเอง
   3. วาระการประกาศใช้กฎหมาย

เมื่อกฎหมายผ่านการลงมติเห็นชอบในวาระที่ 3 แล้ว ก็ให้นำกฎหมายนั้นไปประกาศ กฎหมายโดยทั่วไปให้ประกาศลงในราชกิจจานุเบกษา จึงจะมีผลบังคับใช้ได้ สำหรับกฎหมายระดับท้องถิ่นให้ติดประกาศไว้ ณ ที่ทำการของส่วนการปกครองท้องถิ่นนั้น ๆ จนเวลาผ่านพ้นตามที่กฎหมายแม่บทกำหนด กฎหมายดังกล่าวก็จะมีผลบังคับใช้ ยกเว้นเฉพาะข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร จะต้องประกาศลงในกรุงเทพกิจจานุเบกษา และต้องประกาศลงในราชกิจจานุเบกษาด้วย จึงจะมีผลบังคับใช้ได้

สำหรับความยากง่ายในการบัญญัติกฎหมายย่อมขึ้นอยู่กับชนิดและชั้นหรือศักดิ์แห่งกฎหมายที่จะบัญญัติ

ถ้าเป็นการออกหรือบัญญัติกฎหมายรัฐธรรมนูญ ย่อมมีความยุ่งยาก และใช้เวลาในการดำเนินการนานกว่ากฎหมายอื่น ๆ ที่มีศักดิ์ต่ำกว่า ทั้งนี้เพราะรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายในลำดับชั้นสูงสุด ถือเป็นกฎหมายแม่บท หรือกฎหมายหลักของกฎหมายอื่นๆ

สำหรับการออกกฎหมายในลำดับชั้นรองๆ ย่อมมีความยุ่งยากน้อยลงไปตามลำดับชั้นของกฎหมาย

การอุดช่องว่างของกฎหมาย

การอุดช่องว่างของกฎหมาย มี 2 วิธี

  1. ไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้ ให้ใช้หลักเกณฑ์ทั่วไป
  2. มีกฎหมายบัญญัติไว้ ให้เป็นไปตามหลักกฎหมาย

ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา กำหนดหลักเกณฑ์ให้นำประมวลกฎหมาย วิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับได้ ถ้ากฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาไม่ได้บัญญัติไว้ตามพระราชบัญญัติ การขัดกันแห่งกฎหมาย กำหนดให้ใช้กฎหมายทั่วไปแห่งกฎหมายระหว่างประเทศ แผนกคดีบุคคลอุดช่องว่าง

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ กำหนดหลักเกณฑ์ว่าถ้าไม่มีบทกฎหมายที่จะแยกมาปรับแก่คดีได้ ให้วินิจฉัยคดีนั้นตามครรลองจารีตประเพณีแห่งท้องถิ่น ถ้าไม่มีจารีตประเพณีให้วินิจฉัยคดีเทียบบทกฎหมายที่ใกล้เคียงกันอย่างยิ่ง และถ้าบทกฎหมายนั้นก็ไม่มีด้วย ให้วินิจฉัยตามหลักกฎหมายทั่วไป

การตีความ การตีความมี 2 กรณี

หลักการตีความในกฎหมายทั่วไป

ตีความตามตัวอักษร คือ การหยั่งทราบความหมายของตัวอักษรนั้น

ตีความตามเจตนารมณ์ คือ การหยั่งทราบความหมายของถ้อยคำ ในบทกฎหมายจากเจตนารมณ์หรือความมุ่งหมายของกฎหมายนั้น

หลักการตีความ ในกฎหมายพิเศษ

ต้องตีความตัวอักษรโดยเคร่งครัด

ห้ามขยายความให้เป็นโทษ

ต้องตีความให้ผลดีแก่ผู้ต้องหา

การใช้กฎหมาย

กฎหมายใช้กับใคร

ใช้กับทุกคนที่อาศัยอยู่ในรัฐนั้น

กฎหมายใช้ที่ไหน
ใช้ในราชอาณาจักร

ราชอาณาจักร ได้แก่

1. ส่วนของประเทศที่เป็นพื้นดิน แม่น้ำ ลำคลอง หนอง บึง บาง

2. ส่วนของทะเลอันเป็นอ่าวไทย และส่วนที่ห่างออกจากชายฝั่ง 200 ไมล์ทะเล

3. พื้นอากาศ เหนือ ข้อ 1 และ 2
สำหรับการกระทำความผิดบนอากาศยานไทย และเรือไทย ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน ให้ถือว่ากระทำความผิดในราชอาณาจักรไทย และจะถูกลงโทษโดยกฎหมายไทย

 

กฎหมายใช้เมื่อไร 

ใช้ตั้งแต่กำหนดให้มีผลบังคับใช้ การกำหนดให้กฎหมายมีผลบังคับใช้นั้น ก็จะมีหลายลักษณะ เช่น

1. บังคับใช้ทันทีในวันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา

2. มีผลบังคับในวันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา

3. มีผลบังคับเมื่อพ้นระยะเวลา ที่กำหนดเอาไว้ในกฎหมายนั้น ๆ เช่น เมื่อพ้นกำหนด 30 วันแล้ว จึงมีผลบังคับใช้ โดยทั่วไปจะเป็นกฎหมายที่ต้องการให้เจ้าหน้าที่ และประชาชน ได้เตรียมตัวเพื่ออยู่ภายใต้การบังคับของกฎหมายดังกล่าว ยกตัวอย่างเช่น กฎหมายให้ประชาชนสวมหมวกนิรภัย ต้องให้เวลา เพื่อบริษัทสามารถผลิต และประชาชน จะได้ซื้อหาหมวกให้ได้ทั่วถึงเสียก่อน จึงจะบังคับใช้กฎหมาย

 

การยกเลิกกฎหมาย

โดยทั่วไปการยกเลิกกฎหมาย จะมี 2 ลักษณะ คือ

1. ยกเลิกโดยตรง

2. ยกเลิกโดยปริยาย

การยกเลิกโดยตรง คือ

การระบุยกเลิกกฎหมายนั้นๆ ไว้ในกฎหมายฉบับที่ออกมาใช้บังคับใหม่ เป็นลักษณะการออกกฎหมายใหม่มายกเลิกกฎหมายเก่านั่นเอง

ส่วนการยกเลิกโดยปริยาย คือ การที่กฎหมายฉบับนั้นๆ เลิกบังคับใช้ไปเอง โดยที่ไม่ต้องมีกฎหมายฉบับใหม่ออกมา ระบุหรือบัญญัติให้ยกเลิกแต่ประการใด นั่นคือ กฎหมายฉบับดังกล่าว อาจมีกำหนดระยะเวลาในการบังคับใช้เอาไว้ในตัวมันเอง ดังนั้นเมื่อหมดระยะเวลาตามที่ระบุ ก็ถือว่ากฎหมายถูกยกเลิกไปเองโดยปริยาย

 

หน่วยที่ 1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับกฎหมาย

1. ความหมายของกฎหมาย

กฎหมายคือข้อบังคับของรัฐาธิปัตย์ ที่บัญญัติขึ้นเพื่อใช้ควบคุมพฤติกรรมของพลเมือง หากใครฝ่าฝืน จะถูกลงโทษ
รัฐาธิปัตย์

คือผู้มีอำนาจสูงสุดในรัฐ (ของประเทศไทยรัฐาธิปัตย์ แบ่งออกเป็น 3 ฝ่ายได้แก่ฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายบริหาร และฝ่ายตุลาการ แต่ละฝ่ายก็จะมีอำนาจสูงสุด เฉพาะด้านของตนเท่านั้น สรุปก็คือรัฐาธิปัตย์ของไทย ก็มีด้านบริหาร บัญญัติและตัดสิน นั่นเอง)
โทษ

สำหรับโทษจะมีโทษทางอาญา กับโทษทางแพ่ง โทษทางอาญามี 5 ขั้น(สถาน) ได้แก่ประหารชีวิต จำคุก กักขัง ปรับ ริบทรัพย์สิน สำหรับโทษทางแพ่ง ก็คือการชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ผู้เสียหาย ซึ่งเรียกว่า “ค่าสินไหมทดแทน” ซึ่งมีหลายลักษณะจะได้กล่าวในลำดับต่อไป

 

2. ลักษณะสำคัญของกฎหมาย มีอย่างไรบ้าง 

กฎหมาย มีลักษณะสำคัญ 4 ประการ ได้แก่
1. ต้องเป็นคำสั่งหรือข้อบังคับของผู้มีอำนาจในรัฐ (รัฐาธิปัตย์) สำหรับประเทศไทย องค์กรที่ทำหน้าที่ออกกฎหมาย ได้แก่
– รัฐสภา ถือเป็นอำนาจหน้าที่โดยตรง ในการบัญญัติกฎหมายออกมาบังคับใช้ กฎหมายที่รัฐสภาบัญญัติได้แก่ พระราชบัญญัติ
– รัฐบาล หรือคณะรัฐมนตรี บางครั้งในยามบ้านเมืองมีความจำเป็นรีบด่วนในการแก้ไขปัญหาของประเทศให้ฉับไว ถ้าหากรอให้รัฐสภาบัญญัติเป็นพระราชบัญญัติก็จะไม่ทันการณ์ อาจนำความเสียหายมาสู่บ้านเมืองได้ กฎหมายสูงสุด(รัฐธรรมนูญ) จึงให้อำนาจฝ่ายบริหารหรือคณะรัฐบาลสามารถออกกฎหมายมาใช้บังคับในยามฉุกเฉิน เราเรียกกฎหมายนี้ว่า “พระราชกำหนด” ในขณะใช้บังคับพระราชกำหนดนั้น ๆ ให้รีบนำพระราชกำหนดนั้นเสนอรัฐสภา หากรัฐสภาเห็นชอบด้วย พระราชกำหนดนั้น ก็จะเป็นพระราชบัญญัติ ใช้บังคับได้ต่อไป แต่หากรัฐสภาไม่เห็นชอบด้วย พระราชกำหนดนั้น ๆ ก็เป็นอันตกไป คือให้เลิกใช้บังคับต่อไป

นอกจากนี้ รัฐบาลยังสามารถออกกฎหมายในลำดับชั้นรอง ๆ ลงไป ได้โดยที่ไม่ขัดกับรัฐธรรมนูญ กฎหมายชั้นรองดังกล่าวนั้นก็คือ พระราชกฤษฎีกา และกฎกระทรวง กฎหมายทั้งสองชนิดนี้ พระราชกฤษฎีกาจะมีฐานะหรือศักดิ์สูงกว่ากฎกระทรวง ทั้งนี้เพราะมหากษัตริย์ทรงลงพระปรมาภิไธย ในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกา ส่วนกฎกระทรวง ผู้ลงนามประกาศใช้ คือ รัฐมนตรีว่าการกระทรวง

สรุปว่า กฎหมายที่ออกโดยฝ่ายบริหารหรือรัฐบาล มี 3 ชนิด คือพระราชกำหนด พระราชกฤษฎีกา และกฎกระทรวง
– องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีอำนาจในการออกกฎหมายมาใช้บังคับภายในเขตพื้นที่ของตน ทั้งนี้กฎหมายดังกล่าวจะต้องไม่ขัดแย้งกับกฎหมายแม่บท หรือกฎหมายที่อยู่ในลำดับชั้นที่สูงกว่า กฎหมายส่วนท้องถิ่น มี 5 ชนิดด้วยกัน ได้แก่

1. เทศบัญญัติ เป็นกฎหมายที่ เทศบาลหนึ่งๆ ที่บัญญัติขึ้นมา เพื่อบังคับใช้กับประชาชนในพื้นที่เทศบาลของตนเอง

2. ข้อบังคับตำบล เป็นกฎหมายที่องค์การบริหารส่วนตำบลหนึ่งๆ บัญญัติขึ้นมาเพื่อบังคับใช้กับประชาชนในเขตพื้นที่ของตน

3. ข้อบัญญัติจังหวัด เป็นกฎหมายที่องค์การบริหารส่วนจังหวัดหนึ่งๆ บัญญัติขึ้นมา ใช้บังคับกับประชาชนในพื้นที่จังหวัดนั้น ๆ

4. ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เป็นกฎหมายที่กรุงเทพมหานคร บัญญัติขึ้นมา ใช้บังคับกับประชาชนในพื้นที่ของกรุงเทพมหานคร

5. ข้อบัญญัติเมืองพัทยา เป็นกฎหมายที่เมืองพัทยา บัญญัติขึ้นมา ใช้บังคับกับประชาชนในพื้นที่ของเมืองพัทยา อ. บางละมุง จ. ชลบุรี

 

2. ต้องเป็นข้อบังคับ ใช้บังคับพลเมือง (บังคับสมาชิกของสังคมนั้นๆ)
3. ต้องบังคับทั่วไป คือบังคับกับคนทุกคนที่อยู่ในราชอาณาจักร คำว่าราชอาณาจักร
4. ต้องมีโทษสำหรับผู้ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตาม 

 

2. ความสำคัญของกฎหมาย กฎหมายมีความสำคัญต่อสังคมอย่างไร
          2.1 สร้างความสงบเรียบร้อยในสังคม
2.2 แก้ไขข้อขัดแย้ง ในสังคม

จากเหตุผลดังกล่าว กฎหมายจึงถือเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวสังคมให้อยู่รอด ดังคำกล่าวที่ว่า “มีสังคมที่ไหน มีกฎหมายที่นั่น”

3. ที่มาของกฎหมาย หรือมูลเหตุที่ทำให้เกิดกฎหมาย 

การที่มนุษย์มารวมกลุ่มกันไม่ว่าจะเป็นกลุ่มเล็กหรือใหญ่ก็ตาม ในสังคมกลุ่มนั้นๆ ย่อมจะต้องมีปัญหาขัดแย้งกันขึ้นในบางเรื่อง หรือหลายเรื่อง สังคมจึงต้องกำหนดกฎเกณฑ์เพื่อให้กลุ่มคนในสังคมยึดถือปฏิบัติในแนวเดียวกัน ถ้าบุคคลใดบุคคลหนึ่ง หรือกลุ่มบุคคลใดในสังคมไม่ประพฤติปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ของสังคมนั้นๆ บุคคลนั้นย่อมจะถูกลงโทษตามกฎเกณฑ์ของสังคม กฎเกณฑ์ของสังคมจึงเป็นกฎหมายที่สังคมตั้งขึ้นเพื่อใช้บังคับกับบุคคลในสังคมแต่ละยุคแต่ละสมัย ซึ่งไม่เหมือนกันถ้าเราได้ศึกษาถึงประวัติความเป็นมาของกฎหมายก็จะพบมูลเหตุที่ทำให้เกิดกฎหมายหลายประการอาทิ เช่น
3.1 ผู้มีอำนาจสูงสุดของสังคมของรัฐหรือประเทศ

เป็นผู้ออกกฎ คำสั่งหรือข้อบังคับขึ้นมาใช้กับประชาชนในสังคม หรือในรัฐของตน จนกลายเป็นกฎหมายขึ้นมา แม้บางครั้งบางสังคมผู้มีอำนาจสูงสุดของสังคมนั้น จะมิได้ออกกฎเกณฑ์หรือข้อบังคับขึ้นมาใช้โดยตรงก็ตาม แต่จากบทบาทอำนาจหน้าที่ของผู้นำทางสังคมที่มี่ส่วนผลักดันให้เกิดมีคำสั่งขึ้นมาใช้บังคับกับประชาชนในปกครอง อย่างนี้ก็ถือว่าผู้มีอำนาจสูงสุดของสังคมนั้นเป็นมูลเหตุที่ทำให้เกิดกฎหมายได้เช่นกัน
3.2 ขนบธรรมเนียมประเพณี

ที่ยึดถือปฏิบัติกันมาควบคุมคู่กับสังคม ก็เป็นมูลเหตุที่ทำให้เกิดชนิดของกฎหมายที่เรียกว่า กฎหมายจารีตประเพณีขึ้น เพราะถ้าธรรมเนียมประเพณีใดที่สังคมส่วนใหญ่ยอมรับยึดถือปฏิบัติกันมา ถ้ามีผู้หนึ่งผู้ใดขัดขืน ไม่ประพฤติปฏิบัติตามขนบธรรมเนียมประเพณีจะถูกสังคมนั้นลงโทษในรูปแบบต่างๆ เช่น การฆ่า หรือทรมาน หรือกำจัดไปจากสังคมโดยการขับไล่ไสส่ง เป็นต้น
3.3 ความเชื่อในเทพเจ้า วิญญาณบรรพบุรุษ หรือคำสั่งสอนของศาสดาของศาสนาต่างๆ

ก็เป็นมูลเหตุอย่างหนึ่งที่ทำให้เกิดมีกฎหมายขึ้นมา ดังจะเห็นได้จากการที่ผู้นำสังคมในสมัยโบราณหรือในสมัยประวัติศาสตร์มีการออกคำสั่งหรือกฎเกณฑ์ โดยอ้างว่าเป็นคำบัญชาของพระผู้เป็นเจ้า การอ้างเอาสิ่งที่ศักดิ์สิทธิ์ที่ประชาชนเลื่อมใสศรัทธามาใช้เป็นเครื่องมือ ก็ย่อมได้รับการเชื่อฟังและปฏิบัติตามจากประชาชนด้วยดี ดังจะเห็นได้ว่าในยุโรปสมัยกลาง สันตะปาปา หรือผู้นำของศาสนาจึงมักแอบอ้างว่าคำสั่งนั้นเป็นเทวบัญชา หรือคำบัญชาของพระเจ้าเสมอ
3.4 ความยุติธรรม หรือความเป็นธรรมทางสังคม

เป็นสิ่งหนึ่งที่ทำให้เกิดกฎหมายขึ้นมาเพราะทุกครั้งเมื่อสังคมวุ่นวาย คนในสังคมไม่รับความยุติธรรม ย่อมจะต้องมีการตัดสินคดีความต่างๆ และเพื่อให้เกิดความยุติธรรมยิ่งขึ้น ผู้มีอำนาจในการตัดสินที่มีใจเป็นธรรมย่อมจะต้องนึกถึงความยุติธรรมที่บุคคลในสังคมจะพึงได้รับก่อนเสมอ ซึ่งในเรื่องของความยุติธรรมนั้น ถ้าพบว่ากฎหมายในตอนใดเรื่องใดยังบกพร่อง ผู้มีอำนาจในการตัดสินความนั้นย่อมใช้ดุลยพินิจปรับให้ถูกต้องตามแบบแผนของกฎหมาย หรือกฎธรรมชาติให้มากที่สุด การปรับปรุงกฎหมายเพื่อให้เกิดความยุติธรรมดังกล่าวนี้ย่อมเป็นมูลเหตุที่ทำให้เกิดกฎหมายใหม่ๆ ขึ้นมาใช้ในสังคมได้เสมอ
3.5 ความคิดเห็นของนักปราชญ์หรือนักวิชาการทางกฎหมาย

เป็นสิ่งหนึ่งที่ทำให้เกิดกฎหมายขึ้นมาได้เช่นกัน เพราะกฎหมายที่ออกมาแม้จะละเอียดถี่ถ้วนสักเพียงใดก็ตาม ก็ไม่อาจจะใช้ให้เหมาะสมกับสถานการณ์และสถานที่ในทุกแห่งได้ ประกอบกับกาลเวลาที่เปลี่ยนแปลงไปในแต่ละยุคแต่ละสมัย และผู้มีอำนาจก็ยึดนโยบายและแนวปฏิบัติแตกต่างกันไป ทำให้กฎหมายมีช่องว่างจนเป็นเหตุให้นักวิชาการทางกฎหมายได้เขียนบทความชี้แนะช่องโหว่ หรือข้อบกพร่องของกฎหมายนั้น จนมีผลทำให้มีการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายให้ทันสมัย เหมาะสมกับสถานการณ์และกาลเวลาที่ได้เปลี่ยนแปลงไป ซึ่งอาจกล่าวได้ว่าแนวความคิดเห็นต่างๆ ของนักวิชาการทางกฎหมายก็มีส่วนทำให้เกิดกฎหมายใหม่ที่ดีและเหมาะสมยิ่งขึ้น

3.6 คำพิพากษาของศาลในบางประเทศ

เช่น อังกฤษ ถือว่าคำพิจารณาของศาลเป็นที่มาของกฎหมาย เพราะศาลอังกฤษใช้กฎหมายจารีตประเพณีเป็นหลักในการพิจารณาตัดสินคดี โดยถือเอาผลของการตัดสินใจที่แล้วมาในคดีชนิดเดียวกันเป็นหลักในการตัดสินใจ แม้จะต่างวาระต่างคู่กรณีกันก็ตาม โทษของคดีที่เกิดขึ้นภายหลังย่อมได้รับเท่ากันกับคดีที่เกิดขึ้นก่อน แม้ว่าต่อมาเมื่อตรากฎหมายขึ้นก็ได้ยึดเอาคำพิพากษาของศาลที่ได้พิจารณาไว้แล้วเป็นเป็นหลักกฎหมายสืบต่อมา

สำหรับประเทศไทย เยอรมัน ฝรั่งเศส ญี่ปุ่น และประเทศอื่นๆ ที่ใช้กฎหมายลายลักษณ์อักษร มิได้ยึดถือเอาคำพิพากษาของศาลเป็นที่มาของกฎหมาย แต่จะยึดเอาคำพิพากษาของศาลเป็นเพียงส่วนประกอบ หรือมูลเหตุที่ทำให้เกิดที่มาของกฎหมายเท่านั้น

ที่มาของกฎหมายพอสรุปได้ ดังนี้
                   1. มาจาก ผู้มีอำนาจสูงสุดของสังคมของรัฐหรือประเทศ
2. มาจากจารีตประเพณี
3. มาจากความเชื่อในเทพเจ้า วิญญาณบรรพบุรุษ หรือคำสั่งสอนของศาสดาของศาสนาต่างๆ
4. มาจากความยุติธรรม หรือความเป็นธรรมทางสังคม
5. มาจากความคิดเห็นของนักปราชญ์หรือนักวิชาการทางกฎหมาย
6. มาจากคำพิพากษาของศาล

 

4. ประเภทของกฎหมาย

กฎหมายที่บังคับใช้ในบ้านเรามีอยู่หลายประเภท โดยแต่ละประเภทมีฐานะการบังคับใช้ที่แตกต่างกัน ในการปกครองของไทยจะมีกฎหมายรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดในการบังคับใช้ ที่ว่าเป็นกฎหมายสูงสุดก็เพราะว่าจะไม่สามารถออกกฎหมายใดที่จะออกมาขัดหรือแย้งกับกฎหมายรัฐธรรมนูญได้ หากมีกฎหมายใดๆ ก็ตามที่ออกมาโดยมีข้อความที่ขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญแล้ว กฎหมายฉบับนั้นจะใช้บังคับไม่ได้เลย ในตัวของกฎหมายรัฐธรรมนูญนั้นจะเป็นการบัญญัติไว้ในเรื่องต่างที่มีลักษณะกว้างๆ ไม่ว่าจะเป็น เรื่องสิทธิเสรีภาพของประชาชน รูปแบบของการปกครองเช่นกำหนดให้มีคณะรัฐบาลเป็นผู้บริหารประเทศ กำหนดให้มีสมาชิก 2 ประเภทคือสมาชิกวุฒิสภากับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นต้น แต่ในส่วนของรายละเอียดเกี่ยวกับเรื่องใดนั้น รัฐธรรมนูญจะกำหนดให้ออกเป็นกฎหมายอื่นเฉพาะเรื่อง เช่น กฎหมายพรรคการเมือง กฎหมายเลือกตั้ง เป็นต้น

ประเภทของกฎหมาย

1. กฎหมายรัฐธรรมนูญ

2. พระราชบัญญัติ

3. พระราชกำหนด

4. พระราชกฤษฎีกา

5. กฎกระทรวง

 

1. กฎหมายรัฐธรรมนูญ 

เป็นกฎหมายหลักในการปกครองประเทศ ออกโดยฝ่ายนิติบัญญัติ มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือคณะรัฐมนตรีเป็นผู้เสนอ มีการพิจารณากัน 3 วาระ สำหรับการยกเลิกหรือจะแก้ไขรัฐธรรมนูญนั้น ในตัวรัฐธรรมนูญเองจะกำหนดวิธีการยกเลิก หรือแก้ไขที่ยากกว่าการออกพระราชบัญญัติ ทั้งนี้เนื่องจากไม่ต้องการให้มีการแก้ไขบ่อยนัก การแก้ไขหรือการที่จะออกรัฐธรรมนูญฉบับใหม่นั้นจึงต้องเป็นเรื่องที่จำเป็นจริง

 

2. พระราชบัญญัติ 

เป็นกฎหมายที่ออกโดยฝ่ายนิติบัญญัติ มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือคณะรัฐมนตรีเป็นผู้เสนอ มีการพิจารณากัน 3 วาระเช่นเดียวกัน การยกเลิกหรือแก้ไขสามารถกระทำได้ง่ายกว่ารัฐธรรมนูญ

 

3. พระราชกำหนด 

มีฐานะเทียบเท่าพระราชบัญญัติ แต่การออกพระราชกำหนดจะมีวิธีที่แตกต่างจากพระราชบัญญัติคือ พระราชกำหนดจะออกโดยคณะรัฐมนตรี การที่จะออกพระราชกำหนดได้จะต้องเป็นกรณีที่มีความจำเป็นเร่งด่วน เพื่อประโยชน์ในอันที่จะรักษาความปลอดภัยของประเทศความปลอดภัยสาธารณะ ความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศ หรือป้องปัดภัยพิบัติสาธารณะเท่านั้น เมื่อคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบแล้วก็สามารถประกาศใช้เป็นกฎหมายได้เลย ซึ่งจะต่างกับพระราชบัญญัติตรงที่พระราชบัญญัติกว่าจะออกมาบังคับใช้ได้ก็ต้องใช้เวลานาน ต้องผ่านการพิจารณาถึง 3 วาระ แต่พระราชกำหนดเพียงแค่คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบก็สามารถใช้บังคับได้แล้ว เพียงแต่ว่าพระราชกำหนดนั้น เมื่อออกมาแล้วหากอยู่ในสมัยประชุมของสภา คณะรัฐมนตรีก็จะต้องนำพระราชกำหนดเข้าสู่สภาเพื่อขอความเห็นชอบทันที แต่ถ้าไม่ได้อยู่ในสมัยประชุมของสภา คณะรัฐมนตรีก็จะต้องนำพระราชกำหนดเข้าสู่สภาเพื่อให้สภาเห็นชอบทันทีที่เปิดสมัยประชุม และเมื่อนำเข้าสู่สภาแล้ว หากสภาให้ความเห็นชอบ พระราชกำหนดนั้นก็ใช้บังคับได้ต่อไปเหมือนกับพระราชบัญญัติ แต่หากสภาไม่ให้ความเห็นชอบ  พระราชกำหนดนั้นก็จะตกไปไม่มีผลใช้บังคับอีกต่อไป แต่จะไม่กระทบ กระเทือนสิ่งที่ได้ทำไปแล้วตามที่พระราชกำหนดนั้นบัญญัติไว้

 

4. พระราชกฤษฎีกา 

เป็นกฎหมายอีกประเภทหนึ่ง ซึ่งมีฐานะการบังคับใช้ที่ต่ำกว่าพระราชบัญญัติหรือพระราชกำหนด การออกพระราชกฤษฎีกาจะต้องมีกฎหมายประเภทพระราชบัญญัติ พระราชกำหนด หรือรัฐธรรมนูญให้อำนาจไว้ พระราชกฤษฎีกาไม่สามารถออกได้เองโดยลำพัง ผู้ที่ออกพระราชกฤษฎีกาคือคณะรัฐมนตรี เมื่อคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบก็สามารถใช้บังคับได้เลย ไม่ต้องนำเข้าสู่ที่ประชุมสภาเพื่อขอความเห็นชอบอีก

 

5. กฎกระทรวง 

มีฐานะที่รองลงมาจากพระราชกฤษฎีกาอีกทีหนึ่ง ผู้ที่ออกกฎกระทรวงก็คือรัฐมนตรีผู้ที่ดูแลกระทรวงนั้น การออกจะต้องออกโดยมีพระราชบัญญัติ หรือพระราชกำหนดให้อำนาจไว้ เมื่อออกแล้วสามารถใช้บังคับได้ทันทีสำหรับ ประกาศคณะปฏิวัติ นั้น จะมีฐานะเช่นเดียวกับพระราชบัญญัติ แต่การออกจะออกโดยหัวหน้าคณะปฏิวัติซึ่งกุมอำนาจในขณะนั้น และจะมีผลใช้บังคับได้อยู่ตลอดไปจนกว่าจะมีการยกเลิก การยกเลิกนั้นจะต้องออกเป็นพระราชบัญญัติยกเลิก

 

ภาษิตลุงสอนหลาน

ผู้แต่ง  พระครูวิจารณ์ศีลคุณ (ชู)

ประวัติผู้แต่ง  พระครูวิจารณ์ศีลคุณ เดิมชื่อ ชู  เป็นชาวตำบลคูขุด อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา เกิดเมื่อ พ.ศ.๒๓๙๒ ตอนเป็นเด็กมีเพื่อนเกลอคน หนึ่ง ไม่ปรากฎว่าชื่ออะไร  เมื่ออายุได้ ๒๑ ปี พ่อ แม่จึงให้บวชเป็นพระภิกษุพร้อมกันที่วัดดอนคัน ตำบลคูขุด ขณะที่บวชเป็นพระภิกษุย่างเข้าพรรษา ที่ ๓ มีผู้หญิงไปติดพันท่าน คือไปมาหาสู่อยู่เป็นประจำ ท่านจึงตัดปัญหาด้วยการไปอยู่เสียที่เมืองภูเก็ต ส่วนพระภิกษุซึ่งเป็นเพื่อนเกลอของท่าน บวชอยู่ได้ ๓ พรรษา ก็สึกและได้แต่งงาน เข้าใจกันว่าได้แต่งงานกับผู้หญิงคนที่ไปติดพันพระภิกษุชู

พระภิกษุชู อยู่ที่เมืองภูเก็ตรวมเวลา ๗ ปี จึงกลับมาจำพรรษาที่วัดดอนคันดังเดิม และต่อมา ได้เป็นเจ้าอาวาสวัดดอนคันเมื่ออายุได้ ๓๐ ปี ช่วงนี้ ท่านได้แต่งตำราเอาไว้หลายเล่ม เท่าที่ทราบ เช่น ตำราเรียนหนังสือไทยแบบโบราณ หนังสือหัดอ่าน สูตรเลข พระพุทธโฆษาจารย์ไปแปลธรรมลังกา เป็นต้น

ท่านได้รับเด็กๆ ลูกชาวบ้านละแวกใกล้ๆ วัดดอนคันมาเรียนหนังสือ ส่วนเพื่อนเกลอของท่าน ตอนนั้นมีลูกแล้ว อายุราวๆ ๑๐-๑๑ ขวบ ก็ส่งลูกมาเรียนหนังสือกับท่านด้วย รวมทั้งให้คอยปรนนิบัติรับใช้ เล่ากันว่าเพื่อนเกลอของท่านไม่ค่อยกล้าสู้หน้าท่าน เพราะเอาแต่เมาเหล้าอยู่เป็นประจำ

ด้วยสาเหตุนี้ ท่านจึงได้แต่ง “ภาษิตลุงสอนหลาน” ขึ้น ราวๆ ปี พ.ศ.๒๔๒๖ เพื่อใช้สอนเด็กๆ ที่มาเรียนหนังสือ รวมทั้งลูกของเพื่อนเกลอด้วย แต่โดยเจตนาคือต้องการตีวัวกระทบคราดไปถึงผู้ปกครองของพวกเด็กๆ โดยเฉพาะ เพื่อนเกลอของท่านเอง ท่านจะให้เด็กๆ ท่องจนจำขึ้นใจ แล้วให้กลับไปท่องให้พ่อแม่ฟังที่บ้านด้วย

การท่องเป็นการอ่านดังๆ ตามลีลาของภาษาถิ่น เรียกว่า ขับ หรือ ขับบท ทำนองคำปรัชญ์ หรือ คำพรัด  “ลุง” ในภาษิตลุงสอนหลาน หมายถึงตัวท่านเอง ส่วน “หลาน” หมายถึงเด็กชายลูกของเพื่อนเกลอ ในสาระภาษิตลุงสอนหลาน จะใช้คำว่า “ไอ้หลานอาว์”

บั้นปลายของชีวิตพระภิกษุชู ได้เป็นเจ้าอาวาสวัดจะทิ้งพระ เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  เสด็จประพาสเมืองสทิงพระ ได้ทรงแต่งตั้งให้ท่านเป็นพระครูธรรมธาตุนุรักษ์ถือพัดพระวินัยธร และเป็นเจ้าคณะ อำเภอสทิงพระด้วย ต่อมาในสมัยรัชกาลพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว   ท่านมีสมณศักดิ์เป็น “พระครู วิจารณ์ศีลคุณ”

 ท่านมรณภาพ  เมื่อ พ.ศ.๒๔๖๕

รวมอายุได้ ๗๓ ปี  ๕๒ พรรษา

“ภาษิตลุงสอนหลาน”

โดย พระครูวิจารณ์ศีลคุณ (ชู) วัดจะทิ้งพระ

ข้าขอไหว้ครู                    แรกนานหายหู

ไม่รู้ครั้งไหน                    เป็นครูผู้เฒ่า

ไม่เข้ากับใคร                   แกดีเหลือใจ

พ้นที่คณนา

กินแล้วแกนอน               ไม่ทุกข์ไม่ร้อน

ด้วยสิ่งใดหนา                  เมื่อคราวอยู่วัด

แกหัดวิชา                        หมากรุกสกา

โปไพ่หลายอย่าง

เล่นบ้าคว้าว่าว                   ยามเย็นยามเช้า

กินเหล้าไปพลาง              ฉัดกร้อต่อนก

หลายหนกหลายอย่าง       ขี้คร้านการห่าง

มันสิ้นเพียงครู

ออกมาอยู่บ้าน                 วิชาขี้คร้าน

กับการแกไม่โส้                เห็นคนทำการ

แกพาลพาโล                   โกรธาว่าโม่ห์

ชิงโร้กว่าคน

คนจำพวกนี้                      ขี้ร้ายไม่ดี

มิเห็นเป็นผล                    ไม่ตามคำครู

ไม่ดูเยี่ยงคน                    อย่าให้มันจน

ให้มันมั่งมี

แช่งให้หนักหนา             ให้สมน้ำหน้า

คนบ้าไม่ดี                       ทำไร่ไถนา

หามั่งหามี                       คนจำพวกนี้

ไม่เห็นเป็นการ

ทำไร่ไถนา                       บุราณท่านว่า

หาความรำคาญ                เป็นเพื่อนกับโม่ห์

โค่กับขึ้นตาล                   ถ้าใครอยู่บ้าน

อ้ายหลานอย่าทำ

ถ้าจักขึ้นตาล                    อย่าขึ้นมาบ้าน

คิดอ่านปลุกหนำ               หาไหให้มาก

เทหวากให้คล่ำ                ให้เต็มทั้งหนำ

ให้คล่ำทั้งเรือน

ครั้นแล้วโดยปอง             ชวนพี่ชวนน้อง

กินให้เลือนเปื้อน              ครั้นสอกเราเติม

เพิ่มไว้ให้เลือน                 กินให้ตั้งเดือน

ใครว่าไหรใคร

ครั้งเราเมามาย                 ใครมาด่าให้

อย่าได้กลัวไหร                เขาฟ้องเสียเงิน

ให้แกเขาไป                    กลัวเขาว่าไร

ด่าใหม่ให้เล่า

ถ้ามันจองหอง                  สามารถอาจฟ้อง

ถึงสองสามคราว               กลัวมันว่าไร

เสียใหม่ให้เล่า                 ด่าได้ทุกคราว

เสียเล่าอย่ากลัว

เงินทองหาไม่                  ยังวัวยังควาย

ขายให้สิ้นตัว                   เอาเงินให้เขา

เราปล่าช่างหัว                  ใครว่าอย่ากลัว

ไม่ใช่วัวใคร

วัวเราต่างหาก                  ฉิบหายได้ยาก

ช่างหัวมันไหง                  ยากเราต่างหาก

ไม่ใช่ยากใคร                  ธุระไหรไขว

มาห้ามปรามเรา

เราเมาต่างหาก                 กินน้ำตาลหวาก

สมบัติไหรเขา                  เปลือกเคี่ยมเราหา

ลูกไหของเรา                   เปลือกเคี่ยมหารเทา

ลูกไหเกาะยอ

การไหรของใคร               เปลือกเคี่ยมลูกไห

ใครอย่ามาฉ้อ                  น้ำตาลกูทำ

เป็นความกูต่อ                  ใครอย่ามายอ

กูดีกว่ามัน

กินน้ำตาลหวาก                ใครกินเข้ามาก

เสมือนได้ฟังธรรม์             กินสิ้นสองไห

เหมือนได้ไปสวรรค์           อดข้าวสามวัน

ไม่มีใครตาย

ขึ้นน้ำตาลเคี่ยว                คนคิดชั้นเดียว

เอาใช้ไม่ได้                     น้ำตาลมากมาย

เทหวากให้ราย                 ดีกว่ากวนกาย

ให้ควันเข้าตา

เคี่ยวน้ำตาลขาย              ตำราว่าไว้

ว่าเป็นคนบ้า                     เป็นเพื่อนกับโม่ห์

โค่กับไถนา                     ได้ข้าวได้ปลา

ธุระอะไร

เคี่ยวน้ำตาลขาย             ได้เงินไว้จ่าย

จะจ่ายให้ใคร                   หรือจะไว้ให้มี

ให้มีทำไหร                     จะได้อะไร

ที่ว่ามีมี

ไม่หนุกไม่บาย                ทุกข์แค้นเหมือนจะตาย

กลัวทาสจะหนี                 สากลัวทุกท่า

ไม่เห็นว่าดี                      เราเห็นคนมี

ดังนี้ทุกเรือน

อย่าเรียนไถนา                 แลเหมือนคนบ้า

ไม่หมิไม่เหมือน               ขับเข้าขับแจง

เสียงแห้งไปเลือน             ตั้งเดือนสองเดือน

ไม่เห็นได้ไหร

รุ่งขึ้นคดห่อ                      วันละหม้อสองหม้อ

ขาดทุนเปล่าไป                ยามค่ำกลับมา

ไม่เห็นได้ไหร                  ได้แต่คันไถ

แบกหรามาเรือน

อย่าเรียนค้าขาย              การไหรกวนกาย

หาของให้เพื่อน                เที่ยวหาบไปให้

เขาได้ทุกเรือน                 เร่เป็นทาสเพื่อน

ไม่เหมือนอย่าทำ

อย่าเรียนขายหมาก        เป็นการลำบาก

ธุระไหรปล้ำ                    นับแล้วนับเล่า

นั่งเฝ้านั่งคลำ                   ไม่รู้รุ่งค่ำ

แต่นั่งคิดอ่าน

ได้แต่ความทุกข์              ไม่มีความสุข

อย่าทำเลยหลาน              กินหวากสักบอก

แล้วเที่ยวลอกวาน             หลอกคนตามบ้าน

ดีหวาค้าขาย

อย่าเรียนค้าพลู                เรียกว่าชิงรู้

เร่เที่ยวกวนกาย                ขึ้นลงเกาะหมาก

ลำบากมากมาย                กว่าจะได้มาจ่าย

ลำบากเสดสา

อย่าเรียนค้าสาร              ไม่ใช่กิจการ

หาความเวทนา                 แจวเรือสู้คลื่น

ค่ำคืนเสดสา                    ถึงได้เงินมา

จะไว้ทำไหร

หากได้ไว้มาก                 ได้ความลำบาก

ทุกข์แค้นในใจ                 นั่งนอนไม่หลับ

สับสนภายใน                   ธุระไหรไขว

ให้ได้เงินมา

อย่าเรียนถางไร่              การไหรกวนกาย

ให้ได้เสดสา                    แต่เผาแต่ปรน

ได้ทุกข์ทรมา                   ร้อนหน้าร้อนตา

ธุระไหรไขว

อย่าเรียนสร้างสวน          การไหรเที่ยวกวน

ให้ยากแก่ใจ                    ปลูกความปลูกหญ้า

ได้ค่าอะไร                      ธุระไหรไขว

ไม่ใช่กิจการ

อย่าเรียนกินข้าว              ไม่ดีนะเจ้า

จำไว้เถิดหลาน                 ต้องหาหลายสิ่ง

จริงจริงรำคาญ                 ครั้นกินน้ำตาล

สิ่งเดียวก็ได้

ชั้นว่าไม่ไหร                    ได้แก่ก่อไฟ

ให้เป็นถ่านไว้                   ได้ผักมาจี

เท่านี้ก็ได้                        ไม่พักกวยกาย

กับส้มต้มแกง

อย่าเรียนกินเหนียว         ไม่ดีจริงเจียว

อย่าพึงแสวง                    ต้องหาหลายสิ่ง

จริงจริงค่าแพง                 สิ่งแล่งสองแล่ง

ลำบากเสดสา

กินน้ำตาลหวาก              ไม่พักลำบาก

ดีนักหลานอาว์                 กินให้ตั้งกรัก

ไม่พักทำนา                     ครั้นกินข้าวปลา

ต้องปล้ำกวนกาย

คันไถหางยาม                  อย่าทำสามผลาม

ไม่ใช่ง่ายง่าย                   ต้องเจาะต้องถาก

ลำบากวัวควาย                 ถ้าจะทำไร่

ควันไฟเข้าตา

อย่าเรียนหนังสือ              รู้เลขลายมือ

สรรพการวิชา                   ไม่ดีสักสิ่ง

จริงจริงหลานอาว์             บุราณท่านว่า

จะได้กินกี่ที

อย่าเรียนช่างโลง            เขาจะเรียกว่าโกง

ไม่เห็นว่าดี                      ทำการเผาไฟ

จะได้ไหรมี                      นั่งเป็นเพื่อนผี

ธุระไหรทำ

อย่าเรียนตีทอง              เขาจะว่าจองหอง

ธุระไหรปล้ำ                    นั่งเป่านั่งแผ่

แลแลคลำคลำ                 วันวันยังค่ำ

หน้าดำตาแดง

ถ้าจะไปแห่งใด                เปลือกเคี่ยมลูกไห

อุตส่าห์แสวง                   กับทั้งกระบอก

ตราดปลอกตกแต่ง         เปลือกเคี่ยมตากแห้ง

แล้วให้ย่างไฟ

ตั้งไว้บนผรา                    ฉุกหุกขึ้นมา

จะได้เอาใส่                     อย่าให้รู้สิ้น

ได้กินตั้งใจ                      ไม่ดีกว่าไขว

ฝึกหัดตีทอง

อย่าเรียนเล่นกล              เที่ยวล่อลวงคน

เขาจะว่าจองหอง              ทำให้เขาเสีย

เบี้ยหอยเงินทอง               ถึงได้ข้าวของ

มาไว้ทำไหร

ไม่เป็นธุระ                        เงินทองได้มา

หาความร้อนใจ                 นั่งนอนไม่หลับ

สับสนภายใน                   ครั้นหาไม่ไหร

ไปไหนสบาย

ยังมีนิทาน                         เรื่องราวโบราณ

ท่านกล่าวเล่าไว้                ว่ามีเศรษฐี

หนึ่งมีมากมาย                 เงินทองของจ่าย

มากพ้นคณนา

แต่ไม่มีครู                       ไม่มีผู้รู้

จะได้ศึกษา                     วันหนึ่งประสบ

พบคนปัญญา                   ได้นั่งพูดจา

สนทนาแก่กัน

ผู้รู้จึงว่า                            เหมือนที่พรรณา

มาแต่หลังนั้น                   เศรษฐีรู้ความ

ลงยอมตามกัน                 ครั้นคราทีนั้น

ไม่ทำการไหร

คบเพื่อนมามาก               แล้วเทแต่หวาก

กินสำราญใจ                    ข้าคนบ่าวไพร่

ไม่ให้ทำไหร                   ก็ฆ่าเป็ดไก่

กินกับน้ำตาล

ให้สร้างสวนอ้อย             ปลูกมากไม่น้อย

ไม่ให้ทำหวาน                  ให้เทแต่หวาก

มันมากเกินการ                 จำพวกขี้คร้าน

มากินมากมาย

แล้วให้นวดข้าว                สีสารหุงเหล้า

เร่งให้ฉิบหาย                   ด้วยว่ายังมาก

ไม่มีความสบาย                จะให้เร่งจ่าย

ให้สิ้นเสียพลัน

ครั้นเมาแรงกล้า                แล้วเร่งเที่ยวด่า

เพื่อนบ้านด้วยกัน              เขาฟ้องเสียเงิน

ให้แก่เขาพลัน                  บ่าวไพร่ทั้งนั้น

ถูกด่าถมไป

ข้าคนบ่าวไพร่                   หลบหลีกหนีหาย

วุ่นวายว่อนไขว่                 บ้างลักวัวควาย

ไปขายเมืองไกล               จนไม่มีไหร

จะซื้อสุรา

เรือกสวนไร่นา                 จำนำจับจ่าย

ซื้อแต่เหล้ายา                  ลูกเมียแค้นใจ

บรรลัยมรณา                   เรือนเหย้าเท่าฝา

หลังคาโหะลง

ข้าทาสบ่าวไพร่                หลบหลีกหนีหาย

วุ่นวายเรือนผง                  ทุนทรัพย์ยับย่อย

ค่อนถดถอยลง                 เงินทองของผง

ฉิบหายหมดไป

กินจนสิ้นทรัพย์                 เศรษฐีตกอับ

ไม่มีสิ่งไหร                        เพื่อนกินมากมาย

ค่อยหายค่อยไป               ด้วยหาไม่ไหร

จะให้เพื่อนกิน

ใช่กินแต่เหล้า                  ของเมาอื่นเล่า

กัญชายาฝิ่น                    ซื้อมาแพงแพง

แกล้งให้เพื่อนกิน            ให้ทรัพย์เร่งสิ้น

จะได้อยู่สบาย

ทีนั้นได้จริง                       ทุนทรัพย์ทุกสิ่ง

สิ้นโดยใจหมาย                เหย้าเรือนพุกโผะ

โหะหักทำลาย                 ด้วยไม่บ่าวไพร่

จะช่วยคณนา

ครั้นสิ้นสมบัติ                    เที่ยวเดินห่มหมัด

กินวัดนอนหลา                 ได้ความสบาย

ไม่พักเวทนา                    คนเดียวเอกา

เวลาพากาย

เที่ยวขอเพื่อนกิน            เหล้าข้าวยาฝิ่น

บางทีก็ได้                       บางคราวก็เปล่า

อดเพลากินงาย                แต่ได้สบาย

ไม่พักทำการ

นี่แหละหลานอาว์             จำไว้เถิดหนา

เรื่องราวโบราณ                อย่าเรียนวิชา

อุตส่าห์ขี้คร้าน                 ถึงไม่ทำการ

ได้กินเหมือนกัน

เศรษฐีนั้นหนา                 อยู่มาไม่ช้า

ก็ตายเสียพลัน                 แต่ผ้าห่อกาย

ไม่มีสักอัน                       ฝูงคนทั้งนั้น

ผูกคอลากไป

ทิ้งเสียป่าช้า                      เป็นเหยื่อแร้งกา

หมาชิงกันไขว                  นีแหละหลานอาว์

เร่งมาจำใจ                       คนหาไม่ไหร

นี้ดีจริงจริง

เขาตายมามาก                  ใครหอนได้ลาก

ซากศพชายหญิง              ขี้คร้านนี้เลิศ

เห็นประเสริฐจริง               จำไว้อย่าทิ้ง

เสียไอ้หลานอาว์

อุตส่าห์ขึ้คร้าน                  ขึ้นชื่อว่าการ

แล้วถือตัวอย่า                  จะได้มั่งมี

ได้ดีหลานอาว์                  ขี้คร้านดีหวา

อย่าให้ยังไหร

ของกินไม่ขัด                   ข้าวตากตามวัด

มันมีถมไป                       ไปปลิ้นเด็กมา

แล้วอย่าให้ไหร                เด็กด่าตามใจ

อย่าไปพรรณนา

อุตส่าห์หน้าด้าน               เขาแช่งสาบาน

อย่าได้แสบสา                 อดทนให้ได้

ไม่พักเวทนา                    เขาด่าเขาว่า

จะอายอะไร

ความอายนี้หนา                ทำให้เวทนา

เสดสาเหลือใจ                 ต้องปล้ำทำการ

รำคาญภายใน                  เหนื่อยกายพ้นใจ

ในเมื่อทำการ

ตั้งแต่เจ็บยาก                   จับจอบจวกถาก

ได้ความรำคาญ                น่าอายพ้นใจ

ในเมื่อทำการ                   เที่ยวถือพร้าขวาน

ไม่ได้กรายแขน

เมื่อลงทำนา                      เที่ยวนุ่งผ้าปะ

หาบกล้าคอแอน               เราดูน่าอาย

เขาไม่สาแคลน                ไม่ได้ใส่แหวน

นุ่งผ้าเลื้อยชาย

ไม่ได้ฉัดกร้อ                    ไม่ได้เที่ยวตรอ

เกี่ยวคนทั้งหลาย              ทำนากล้านัก

มักนุ่งผ้าร้าย                     ยิ่งเที่ยวค้าขาย

ดูน่าอายแรง

เดือนสี่เดือนห้า                 เที่ยวหาบสินค้า

ไปขายทุกแห่ง                  หมากพลูปูนยา

เที่ยวขายแพงแพง            เที่ยวเดินหน้าแห้ง

น่าบัดสีตาง

ไม่ฝึกเล่นไพ่                     ได้แต่ค้าขาย

คิดไม่ถูกทาง                     กว่าจะได้เหรียญเหรียญ

พากเพียรปล้ำร่าง              ฉัดกร้อสักผาง

ดีกว่าค้าขาย

ยังพวกขึ้นตาล                  โจงเบนลอกวาน

ดูน่าพลอยอาย                 คอนบอกกุ้งกุ้ง

นุ่งผ้าเก่าร้าย                    เคี่ยวขายเงินได้

น่าอายพ้นแรง

กว่าจะได้เหรียญเหรียญ          แต่พากแต่เพียร

หน้าดำตาแดง                          ไม่เหมือนฉัดกร้อ

พบปอเข้าแทง                          ชนะทุกแห่ง

ไม่หอนแพ้ใคร

ได้เงินตั้งพาย                   พาไปเล่นไพ่

กัดปลาชนไก่                   ซื้อหนมกินสบาย

ไม่พักทำไหร                   ที่อยู่นั้นไซร้

ศาลาโขตาย

ได้อยู่ดีดี                           ไม่พักบัดสี

เหมือนนุ่งผ้าร้าย               ดีกว่าทำนา

ดีกว่าค้าขาย                     เงินทองของจ่าย

ขี้คร้านเอาเอง

วันจะเอาจริงจริง               เที่ยวดูหมู่หญิง

ตักน้ำทูนเผล้ง                  ทำพูดให้เพลิน

เที่ยวเดินโทงเทง              คลุบผลักให้เผล้ง

มันพลัดแตกเสีย

มันด่าเราตบ                     ทีนั้นคงพบ

กับพายถุงเบี้ย                  เพราะผัวมันฟ้อง

เราต้องไปเสีย                  ผิดลูกผิดเมีย

ต้องเสียยังค่ำ

ไม่มีเงินให้                        ทีนั้นเจ้านาย

จับเอาเราจำ                      เข้าคุกทนหราง

เพราะผิดทางธรรม            เขาไม่ฟังคำ

เฆี่ยนตีวุ่นวาย

ทีนั้นพ่อแม่                      พี่น้องใกล้แค่

เขาแลไม่ได้                    คงเอาเงินเบี้ย

ไปเสียให้นาย                  เศษเบี้ยเสียปลาย

คงได้ให้เรา

ครั้นอยู่สบาย                    เงินทองของจ่าย

ใครจะให้ของเขา              ครั้นเราเข้าคุก

นั่งทุกข์ซุกเซา                 เขาคงจะเอา

มาให้เราจ่าย

นี่แหละหลานอาว์             เรียกว่าวิชา

การหาเงินง่าย                  อนึ่งเล่าหนา

ถ้าจะให้ไว้ได้                   ให้ไปเล่นไพ่

กัดปลาชนไก่

เล่นบ้าเล่นดวด                ถ้าใครเล่นอวด

จะได้เป็นใหญ่                  ยิ่งได้ทอยกรอก

บอกให้เข้าใจ                   นั่นแหละจะได้

ตำแหน่งขุนนาง

เบี้ยแป๊ะกำปัด                    ถ้าใครเล่นจัด

คงจะพาร่าง                        ยิ่งได้เล่นปอ

จะได้เป็นนายตะราง           เล่นถั่วตัวอย่าง

จะได้เป็นนายกอง

เล่นหีบเล่นรุก                   ใครเล่นให้คลุก

จะได้เป็นขุนรอง               เล่นหลักจักจน

ได้เป็นคนชาวห้อง            เสือกินวัวปอง

จะได้เป็นนายด่าน

เล่นกร้อต่อนก                 เจ้านายท่านยก

ให้เป็นนายงาน                 กัดปลาจะได้

เป็นนายทหาร                  เรียนวิชาการ

มิดีทีเดียว

ที่เขาได้ดี                          ได้มั่งได้มี

กินข้าวแล้วเที่ยว               นั่งชักนิทาน

พูดพาลพูดเกี้ยว               เที่ยวเดินยืนเยี่ยว

เที่ยวนั่งเรือนคน

กินหวากสูบยา                 สูบฝิ่นกัญชา

คนนั้นไม่จน                     ไม่อดไม่ยาก

กินมากหวาคน                 เกิดลาภเกิดผล

ฝูงคนเกรงกลัว

นั่งเรือนใครใคร               เขาไม่เชื่อใจ

กลัวจะลักวัว                     จะฝากสิ่งใด

ไม่หาญเขากลัว                เพราะว่าไม่ชั่ว

ตัวดีทีเดียว

ที่เขาได้ดี                           เขาดีอย่างนี้

เขาอุตส่าห์เที่ยว               ขึ้นชื่อเรือนเอง

ไม่อยู่ทีเดียว                    เที่ยวนั่งพูดเคลียว

เที่ยวไม่เป็นเค้า

เที่ยวนอนตามหลา           เที่ยวตามวัดวา

แล้วมากินข้าว                  อันการหลับนอน

ห่อนตื่นแต่เช้า                 ครั้นเขาหุงข้าว

สุกแล้วต่อตื่น

ถ้าไม่ไหรกิน                     นั่งทำหน้าหมิน

ขึ้งโกรธครึกครื้น               บ่นว่ารายมาย

นับได้หลายหมื่น              แล้วลุกขึ้นยืน

จะถีบเจ้าเรือน

วิชาของพ่อ                        นิสัยใจคอ

สูงใหญ่ใครเหมือน            นอนจนหวันโด่ง

โกงมาหวาเพื่อน               ของกินไม่เหมือน

ฟัดถ้วยฟัดชาม

จะใคร่กินให้ดี                    แต่มือของพี่

ขี้คร้านเหลือหยาม            ผ้านุ่งผ้าห่ม

รักใคร่จะให้งาม                กับการพาคร้าม

ไพรร่างไพรตัว

คนดังนี้หนา                      จำไว้หลานอาว์

ไม่ใช่คนชั่ว                       คนดีทีเดียว

เที่ยวเดินเล่นตัว                เที่ยวยิ้มเที่ยวหัว

เที่ยวหลีกหลบการ

เที่ยวพลอยกินหมาก       เที่ยวคอยแลปาก

เขาเล่านิทาน                    เที่ยวหยิบเที่ยวต้อง

ของเขาใช้การ                  สิ่วจอบพร้าขวาน

เที่ยวหยิบขึ้นแล

ไม่ใช่ธุระ                          เที่ยวหยิบออกมา

ให้เขาด่าแม่                     กริชอยู่ในฝัก

ชักออกมาแล                   ลางทีลูกแจ

ชักแลหักไป

ของเขาเขารัก                เที่ยวต้องเที่ยวชัก

ธุระอะไร                         เพราะถือว่าดี

ว่าไม่มีภัย                       คิดสำคัญใจ

เขากลัวทั่วเมือง

คิดว่าเขารัก                       เที่ยวหัวขิกขัก

น่าเกลี่ยดทั้งเรื่อง              เที่ยวเดินเที่ยวนาด

เที่ยวอุบาทว์เมือง              เที่ยวให้เขาเคือง

ทั้งเรื่องล้วนดี

เป็นนายก็ใช่                   จะว่าเป็นไพร่

ก็เห็นผิดที                       แลนุ่งแลห่ม

น่าว่าผู้ดี                          ประพฤติเหมือนผี

ไม่ใช่ผู้คน

บากคอกิวกิว                  แล้วเอาไปลิว

ไว้ตามถนน                     คนเดินมาปะ

สัญญาว่าคน                    ดูทีไม่จน

เป็นคนไม่ไหร

เป็นบ้าก็ใช่                     จะว่าเป็นใบ้

ก็ใช่วิสัย                         ฟังข้างพูดจา

ปัญญาว่องไว                 ประพฤติเหลวไหล

ขี้คร้านเหลือเพื่อน

จะดูร่างกาย                          ยิ้มเยื้อนเกลื้อนพลาย

จมูกปากมีเหมือน                 มีตีนหูตา

เกลี้ยงเกลาเหมือนเพื่อน     อดข้าวตั้งเดือน

ก็ตายเหมือนกัน

ไม่ใบ้ไม่บ้า                       ปัญญมปัญญา

มีสรรพครบครัน                เสียทีที่ดี

เสียแต่เท่านั้น                   ถ้าชั่วเสียกัน

จะได้ทำการ

นี่ดีเสียจริง                        ดีครบทุกสิ่ง

ในเรื่องขี้คร้าน                  ดีไม่ต้องไหร

ดีไปทุกบ้าน                      ดีไม่ขึ้นตาล

ดีไม่ทำนา

ดีไม่ค้าขาย                      ดีไม่ทำไร่

ดีไม่ปลูกยา                     ดีไม่รู้เขียน

ดีไม่เรียนวิชา                   ดีนอนตามหลา

ดีมากินเรือน

ดีค่ำเข้านอน                     ดีรุ่งขึ้นจร

ดีนั่งเรือนเพื่อน                 ดีแต่พูดมาก

ดีกินหมากเลือน               ดีแต่คบเพื่อน

มาเรือนกินเปลือง

ดีเที่ยวนินทา                    ดีแต่เที่ยวว่า

นินทาบ้านเมือง                ดีด่าพระสงฆ์

ดีผงทั้งเรื่อง                      ดีให้เขาเคือง

ทั้งเรื่องล้วนดี

ดีไม่เข้าเค้า                     เป็นดีปลาเป้า

ไม่ใช่ดีหมี                       ดีไม่เข้ายา

ดีค่าไม่มี                         ดีถือตัวดี

ดีหวาดีหวา

ดีกินแล้วนอน                  ดีตื่นแล้วจร

ดีถือปัญญา                     ดีสอนไม่ได้

ดีไม่เข้าท่า                      ดีคิดริษยา

ดีอิจฉาคน

ดีแต่จะเล่น                       ดีลักไม่เว้น

ปล้นคนเดินหน                 ดีแต่หน้าด้าน

ดีแต่พาลคน                     ดีแต่เที่ยวบ่น

ถมเพื่อนทั้งหลาย

ดีแต่เที่ยวฉ้อ                    ดีแต่จะแพ้ปอ

ดีแต่จะแพ้ไพ่                   ดีแต่เที่ยวเร่

ถามเหน้เขาใช้                  ดีแต่ทนอาย

จะให้เขาด่า

นี่แหละคนดี                       เขาดีอย่างนี้

จำไว้หลานอาว์                   ดีนี้เรียนง่าย

ไม่เหมือนเรียนวิชา            อุตส่าห์เที่ยวด่า

เดี๋ยวได้พบดี

ยังเล่าคนชั่ว                    ที่เขารวยตัว

ได้มั่งได้มี                       เขาพูดกันมา

ไม่ใช่คนดี                       คนที่มั่งมี

เขาว่ายังชั่ว

คนเรียนวิชา                     ทำการอาสา

พระเจ้าอยู่หัว                   ตั้งตัวเป็นนาย

ว่าได้ยังชั่ว                      ฝูงคนเกรงกลัว

ยังชั่วไม่จน

หนึ่งคนจนไพร่                 ไม่ยากไม่ง่าย

ได้ทุกข์ทรพล                  อุตส่าห์เปลื้องปลด

ทำการบดฝน                   ได้ทรัพย์เบาตน

พ้นทุกข์เวทนา

เขาว่ายังชั่ว                      ยังคิดพาตัว

พ้นจากทาสา                   ค่อยได้ยังชั่ว

รวยตัวขึ้นมา                    ลางคนพูดว่า

ยังชั่วตัวมัน

หนึ่งคนทำนา                     ได้ข้าวได้ปลา

มากมายคร่ำครัน               ปากคนลือเล่า

กล่าวบอกเพื่อนกัน            ปีนี้คนนั้น

ได้ข้าวยังชั่ว

คนเรียนหนังสือ               รู้เลขลายมือ

เขียนงามทุกตัว                กดแกมไม่เพี้ยน

ว่าเขียนยังชั่ว                   เขาได้พาตัว

ในการวิชา

ยังชั่วทุกคน                      ที่เขาไม่จน

ทำการอุตส่าห์                  สร้างสวนค้าขาย

ทำไร่ไถนา                       ปลูกครามย้อมผ้า

ยังชั่วทุกคน

ไม่ใครว่าดี                       ถึงได้มั่งมี

ไม่ยากไม่จน                   เขาว่ายังชั่ว

ไปทั่วแห่งหน                   ไม่ขัดไม่สน

ยังชั่วไม่ดี

ใครกินแล้วนอน              ตายายให้พร

ให้มั่งให้มี                         ไม่ให้แคล้วคลาด

เป็นทาสเศรษฐี                 ให้ร่ำรวยหนี้

ได้ดีจนตาย

กินแล้วทำการ                 ตายายสาบาน

ให้นุ่งผ้าร้าย                    ไม่ให้ได้ดี

มีแต่เหนื่อยกาย               ต้องเที่ยวขวนขวาย

มานี้ไปนั้น

ขึ้นตาลรานโหนด              เที่ยวเดินโงดโงด

หันเหียนเวียนวัน               แลวัวแลควาย

เร่ไล่จูงมัน                         เหนื่อยตัวทุกวัน

ไม่ใครว่าดี

เพราะตายายแช่ง            ครั้นทำมากแรง

ได้มั่งได้มี                       ได้แต่ยังชั่ว

ไม่ได้ตัวดี                        เพราะถูกตามที่

คำแช่งตายาย

คนที่ทำการ                       เที่ยวแลเถิดหลาน

เห็นใครได้สบาย               ทนเปียกทนฝน

ทนแดดทุกงาย                 เหนื่อยอ่อนร้อนกาย

ได้ความเวทนา

คนกล้าทำการ                  ถูกความสาบาน

ดังนี้หลานอาว์                  ได้ความลำบาก

ตรากตรำเวทนา                นอนเสียเถิดหนา

อ้ายหลานอย่าทำ

หนึ่งเล่าเจ้าหลานอาว์        ให้อุตส่าห์จำคำสอน

บุราณท่าแต่ก่อน                สั่งสอนไว้ทุกประการ

ค้าขายทำไร่นา                   สิ่งนี้หน่าว่ารำคาญ

สร้างสวนและทำตาล         เคี่ยวไว้ขายได้ความเคือง

ให้ทำน้ำตาลหวาก              ไว้ให้มากถูกตามเรื่อง

ไม้ฟืนก็ไม่เปลือง                คนทั้งเมืองไม่ขอกิน

เด็กวัดก็ไม่มา                      พระมาพบหลบหน้าหมิน

ลูกเมียไม่พลอยกิน             เปล่าทั้งเรื่องไม่เปลืองไหร

อย่าขึ้นเทน้ำส้ม                   ส้มอื่นถมแทนกันได้

ได้ปลาหายอดไทร              ใบส้มขามลูกเถาคัน

ส้มม่วงลูกส้มงั่ว                    มาใช้ครัวได้เหมือนกัน

ส้มมุดส้มม่วงคัน                  พันธุ์ส้มพูดผักเสี้ยนดอง

ส้มกรูดและส้มนาว              ทั้งส้มเฟืองมากเนืองนอง

ส้มเสี้ยวหน่อไม้ดอง            ต่างส้มได้ไม่ดีหวา

น้ำส้มโหนดดีไหรนัก            มักทำให้เกิดโรคา

หนึ่งเล่าเจ้าหลานอาว์           อย่าทิ้งเสียในการไล

ถ้าจะไปไถนา                       ให้ภาวนาเดี๋ยวก่อนไหง

ตามแต่จะทำไหร                   เดี๋ยวก่อนไหงเป็นคำนำ

ครั้นสายใกล้จะไป                 เดี๋ยวก่อนไหงเติมอีกคำ

ภาวนาให้ประจำ                     อย่าทำลืมจะเสียที

ค่อยก่อนสักเดียวก่อน          อย่าเพ่อก่อนสิ่งนี้ดี

กุบกับไปไหนมี                     ไม่สิ้นวันหวันยังครัน

สิ่งนี้เป็นคาถา                        ให้ภาวนาว่าด้วยกัน

หนึ่งเล่ายามงายวัน               จะกินข้าวทั้งเช้าเย็น

ถ้วยชามถืออย่างล้าง           เคาะโก่งก่างโยนกระเด็น

ขึ้นผราอย่าทันเห็น               ให้ทุกวันนั้นจึงดี

กินแล้วเคาะโยนโกก            ถูกโฉลกตามวาที

ถ้วยงามหรือชามดี                เคาะสามทีโยนขึ้นผรา

ใครทำให้ทุกวัน                    ว่าผู้นั้นเหลือปัญญา

ท หนึ่งเล่าให้อุตส่าห์            เรียนสูบยาให้ฉุยฉุย

ไม่รู้ให้เร่งเรียน                     เพียรให้ได้เวลาคุย

ได้เดินดูดแก้มตุ้ย                ถุ้ยน้ำลายให้เพรื่อไป

ใครว่าอย่ารู้ฟัง                     ยืนหรือนั่งถุ้ยตามใจ

ในเนียงหรือในไห               ในที่นั่งหรือที่นอน

นึกจะถุ้ยก็ถุ้ยไป                  อย่าฟังใครมาว่าสอน

ผ้านุ่งผ้าห่มนอน                  เปรอะเปื้อนไปตามใจมัน

หนึ่งเล่าเมื่อกินหมาก          ปูนเหลือมากจงป้ายบั่น

เหลียดไว้ที่นอนั้น               หรือทาไว้ที่ชายฝา

ถ้าไปที่เรือนใคร                ให้เอาปูนช่วยลาทา

ตามนอหรือตามฝา             อย่ากลับมาเสียเปล่าเปล่า

หนึ่งเล่าถ้าแม้นว่า               จะไปหาเจ้านายเรา

เมื่อจะแลตาเขา                  เขาแลมาอย่าหลบตา

เขาเหลือกเราเหลือกมั่ง      แข่งกันบ้างใครกริบหวา

อย่าแพ้อ้ายหลานอาว์        การแลตาอย่ากลัวใคร

เจ้านายชอบเราครัน           คงรางวัลให้เต็มใจ

หนึ่งเล่ายามงายวัน             จะกินข้าวทั้งเช้าเย็น

ถ้วยชามถืออย่างล้าง         เคาะโก่งก่างโยนกระเด็น

ขึ้นผราอย่าทันเห็น            ให้ทุกวันนั้นจึงดี

กินแล้วเคาะโยนโกก          ถูกโฉลกตามวาที

ถ้วยงามหรือชามดี            เคาะสามทีโยนขึ้นผรา

ใครทำให้ทุกวัน                ว่าผู้นั้นเหลือปัญญา

หนึ่งเล่าให้อุตส่าห์            เรียนสูบยาให้ฉุยฉุย

ไม่รู้ให้เร่งเรียน                 เพียรให้ได้เวลาคุย

ได้เดินดูดแก้มตุ้ย             ถุ้ยน้ำลายให้เพรื่อไป

ใครว่าอย่ารู้ฟัง                  ยืนหรือนั่งถุ้ยตามใจ

ในเนียงหรือในไห             ในที่นั่งหรือที่นอน

นึกจะถุ้ยก็ถุ้ยไป               อย่าฟังใครมาว่าสอน

ผ้านุ่งผ้าห่มนอน               เปรอะเปื้อนไปตามใจมัน

หนึ่งเล่าเมื่อกินหมาก        ปูนเหลอมากจงป้ายบั่น

เหลียดไว้ที่นอนั้น             หรือทาไว้ที่ชายฝา

ถ้าไปที่เรือนใคร               ให้เอาปูนช่วยลาทา

ตามนอหรือตามฝา            อย่ากลับมาเสียเปล่าเปล่า

หนึ่งเล่าถ้าแม้นว่า              จะไปหาเจ้านายเรา

เมื่อจะแลตาเขา                เขาแลมาอย่าหลบตา

เขาเหลือกเราเหลือกมั่ง      แข่งกันบ้างใครกริบหวา

อย่าแพ้อ้ายหลานอาว์        การแลตาอย่ากลัวใคร

เจ้านายชอบเราครัน           คงรางวัลให้เต็มใจ

อนึ่งเล่าถ้าผู้ใหญ่               เขาพูดกล่าวเล่านิทาน

นั่งแลอย่าฟังเปล่า              พูดแซงเขาขึ้นเถิดหลาน

พลางทำตาเหลือกลาน       อย่าได้พริบกริบทีเดียว

เขาแลเราอย่าหลบ            สบกันเข้าเป็นไหรเจียว

เขาหลุนเราหลุนเหลียว      เหลือกให้เพรียวอ้ายหลานอาว์

เขาคงให้รางวัล                  การสิ่งนั้นเป็นวิชา

อนึ่งเมื่อกินข้าวปลา           ให้เหลือกตาทุกคำกลืน

แลซ้ายเหลียวแลขวา         ทำหน่วยตาให้ตื่นตื่น

หยิบกับกัดแล้วคืน            ก้างปลาเหลือทิ้งเพรื่อไป

จงจำตามคำสอน                ทุกบทกลอนให้ขึ้นใจ

ด้วยกลอนที่สอนไว้           ดีทุกสิ่งอย่าทิ้งเสีย

อย่าทิ้งหวากเหล้ายา         อย่าได้ออกนอกบ่อนเบี้ย

อย่าทิ้งขี้คร้านเสีย             การเงินเบี้ยนั้นไม่ไหร

หาไม่จะเอาเอง                อย่าคิดเกรงผู้ใดใด

คนอื่นมีถมไป                  เราไม่ไหรช่างหัวมัน

ลองทำดูเถิดหลาน            วิชาการทุกสิ่งอัน

ล้วนเรื่องดีทั้งนั้น               เราสอนไว้ให้พาตัว

ถ้าใครถือได้หนา            “ขี้” กับ “ข้า” เป็นของตัว

ไม่ใช่เป็นของชั่ว            ตัว “อัปรีย์” ทั้งนั้นเอย

อ้างอิง: สาทร ดิษฐสุวรรณ. วรรณกรรมท้องถิ่น (เอกสารอัดสำเนา)โรงเรียนหัวไทรบำรุงราษฎร์ อำเภอหัวไทร จังหวัดนครศรีธรรมราช,๒๕๓๔,หน้า ๒๔๙-๒๕๐

 

การนำ Social Media มาใช้ในการจัดการเรียนรู้

ปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศได้พัฒนาไปอย่างรวดเร็ว ทุกคนสามารถเข้าถึงระบบอินเทอร์เน็ตได้ง่าย ประกอบกับจำนวนผู้ใช้งานที่มีเพิ่มมากขึ้นทุกวัน ทุกคนมีอิสระที่จะเข้าไปแบ่งปันความรู้ และเลือกเครื่องมือที่ดีที่สุด เพื่อนำไปเผยแพร่ความรู้ที่ตัวเองต้องการสื่อสาร และเสนอความคิดใหม่ๆ ได้โดยไม่ถูกปิดกั้น นับเป็น ยุค 2.0 ที่ครูต้องตระหนักกับการเปลี่ยนถ่ายของข้อมูล(Content) จากข้อมูลที่คงที่ (Static Content) เข้าสู่ยุคของข้อมูลที่มีการเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา (Dynamic Content) แนวคิดการนำ Social Media มาประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอนนับเป็นกลยุทธ์ที่สำคัญที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกำลังให้การส่งเสริม และสนับสนุนให้เกิดเป็นรูปธรรมที่ชัดเจน เพราะปัจจุบัน Social Media ได้ กลายเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการสร้างสื่อให้เกิดเป็นเครือข่ายเชื่อมโยงกันในโลกออนไลน์ ที่เปิดโอกาสให้ทุกคนสามารถใช้เป็นช่องทางในการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้อย่างง่ายและสะดวกรวดเร็ว ซึ่งจะทำให้เกิดประโยชน์ต่อการจัดการศึกษาเป็นอย่างมาก โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายในการซื้อลิขสิทธิ์แต่อย่างใด
ดังนั้นการนำเทคโนโลยี Social Media มาใช้เป็นเครื่องมือสื่อและแหล่งเรียนรู้เพื่อใช้ในการจัดการเรียนการสอน เป็นการผลักดันให้ครูก้าวทันโลกยุคปัจจุบัน และสามารถเข้าถึงเยาวชนยุคใหม่ได้อย่างทันท่วงที ซึ่งจะทำให้เกิดระบบ “ชุมชนแห่งการเรียนรู้” บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

อะไรคือ Social Media
คุณครูรู้จัก Social Media หรือไม่??? จริงๆ แล้วทุกคนน่าจะรู้จัก และใช้อยู่แล้ว เพียงแต่ว่าอาจจะยังไม่เคยรู้ว่ามันเรียกว่า Social Media หรือแม้ลองถามนักเรียนว่ารู้จักหรือเปล่า นักเรียนก็คงบอกว่าไม่รู้จัก แต่ถ้าถามว่ารู้จักเว็บไซต์เหล่านี้หรือไม่ เช่น Hi5, Facebook, Twitter, YouTube ร้อยทั้งร้อยคงบอกว่ารู้จัก แถมบางคนอาจจะบอกว่ามี และเล่นแทบทุกวัน สิ่งเหล่านี้แหละครับคือ Social Media ซึ่งบางครั้งเรามองว่า มันเหมือนไม่มีประโยชน์ นักเรียนหรือครูเล่นก็เหมือนเสพติด เสียเวลาเรียน เวลาทำงาน แต่ของทุกอย่างมีทั้งด้านดี และไม่ดี ถ้าเรามองเห็น และนำด้านดีนั้นมาใช้ให้เกิดประโยชน์ ก็น่าจะเป็นเรืองดีที่ของที่เหมือนเล่นๆ ไม่เป็นประโยชน์จะช่วยให้นักเรียนของเราเกิดการเรียนรู้ได้ แม้ไม่ได้อยู่ในห้องเรียน ยังไม่มีศัพท์บัญญัติทีใช้ แทนคำว่า Social Media ในภาษา ไทย แต่มีการแปลอย่างตรงไปตรงมาว่า “สื่อสังคม” เป็นคำที่ใช้ในปัจจุบัน แต่ส่วนใหญ่ยังคงใช้ทับศัพท์ Social Media เป็นส่วนใหญ่

สื่อสังคม หรือ Social Media
เป็นสื่อที่ถูกออกแบบมาเพื่อตอบสนองความต้องการทางสังคม เน้นการโต้ตอบและมีปฏิสัมพันธ์ ระหว่างกันและกัน โดยอาศัยระบบอินเทอร์เน็ตในการเข้าถึง ซึ่งปัจจุบันมีใช้มากขึ้น คือเด็กๆ ของพวกเรา เอง ดังนั้นเราน่าจะให้เด็กของเราเข้าใช้ให้เกิดประโยชน์ หาหนทางทำให้สื่อสังคมนี้เกิดประโยชน์ต่อการเรียนรู้ ของนักเรียน ซึ่งครูผู้สอนอย่างเราๆ ต้องเป็นตัวแปรสำคัญในการขับเคลื่อนให้เกิดการใช้ประโยชน์จากสื่อสังคม นอกจากนี้สื่อสังคมยังเป็นเครื่องมือที่ทำให้บุคคลทุกคนสามารถมีปากเสียงได้บนโลกออนไลน์

Social Media มีเครื่องมืออะไรบ้าง
ดังที่ได้กล่าวแล้วข้างต้น เครื่องมือของสื่อสังคม (Social Media Tools) มีหลายชนิด ขึ้นอยู่กับการนำไปใช้ ซึ่งเครื่องมือส่วนใหญ่จะเป็นเครื่องมือที่ใช้แบ่งปัน (Share) องค์ความรู้ ความคิดเห็น โดยที่เราไม่จำเป็นต้องสร้างสื่อขึ้นมาใหม่ เพราะมันมีอยู่ในบนโลกออนไลน์ เพียงแค่เรานำสิ่งที่มีอยู่แล้วนี้มาใช้ เมื่อเราค้นข้อมูลไปเรื่อยๆ ณ จุดหนึ่งจะพบว่า เรื่องบางเรืองไม่มีใครรู้ดีกว่าเราอีกแล้ว นั่นแหละถึงเวลาที่ต้อง Share ข้อมูลนั่นเสีย

มีเครื่องมืออะไรบ้างที่ ใช้ Share ข้อมูลได้…
สำนักเทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอน (สทร.) เป็นหน่วยงานสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้จัดการอบรมครูเพื่อเป็นแกนนำในการขับเคลื่อนการนำ Social Media มาใช้ในการจัดการเรียนรู้ตามโครงการนำร่องการพัฒนาศักยภาพบุคลากร และส่งเสริมการใช้ Social Media ในการจัดการ เรียนรู้ เมื่อวันที่ 28 มีนาคม – 2 เมษายน 2553 โดยมีครูเข้าร่วมอบรมจำนวน 200 คน จากทั่วประเทศ ซึ่ง สทร. ได้เสนอเครื่องมือของสื่อสังคมเพื่อนำไปใช้ในการจัดการเรียนรู้ ดังนี้
– WordPress.com เป็นเว็บล็อก หรือบล็อก สร้างเป็นบล็อกกลางสำหรับแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และเป็นสื่อกลางในการแจ้งข่าวสาร
– Facebook.com ทำหน้าที่เป็นกระดานข่าว คล้ายๆ กับ hi5 ครูและนักเรียนสามารถสื่อสารและแลกเปลี่ยนข้อมูลได้ที่นี่เช่นกัน
– Twitter.com ใช้ในการสื่อสารข้อความสันๆ ไม่เกิน 140 ตัวอักษร ทำหน้าที่คล้าย SMS สามารถ โต้ตอบกันได้อย่างรวดเร็ว
– Slideshare.net ใช้ในการแบ่งบันสไลด์ ในกรณีทีคุณครูสร้างสไลด์เป็นสื่อในการจัดการเรียนการสอนสามารถนำไปฝากไว้ แล้วให้นักเรียนไปดาวน์โหลดมาชมหลังจากเรียนเสร็จแล้วก็ได้
– Flickr.com ใช้ ในการแบ่งปันไฟล์ภาพ
– Scribd.com ใช้ในการแบ่งปันไฟล์เอกสาร เช่น ใบความรู้ ใบงาน แบบฝึก
– youtube.com ใช้ ในการแบ่งปันไฟล์วีดีทัศน์ คุณครูสามารถเลือกใช้เครื่องมือเหล่านี้ได้ตามความเหมาะสม

จะนำ Social Media ไปใช้อย่างไร
ด้วยเครื่องมือที่หลากหลายในการใช้งาน คุณครูสามารถนำเครื่องมือเหล่านี้ไปใช้ได้ตามความเหมาะสม โดยไม่มีรูปแบบในการจัดกิจกรรมที่ตายตัว เลือกใช้ทุกเครื่องมือ หรือบางเครื่องมือก็ได้ในการจัดการเรียนรู้ อาจเข้าไปดูในเว็บไซต์กลางของ Social Media

ที่ สทร. สร้างไว้ที่ http://smeducation.wordpress.com/
ที่นี่จะเป็นที่รวบผลงานของครูแกนนำที่สร้างไว้ นอกจากนี้อาจจะเข้าไปชมผลงานของโรงเรียนดรุณสิกขาลัย ซึ่งเป็นโรงเรียนที่ประสบความสำเร็จในการใช้ Social Media ในการยกระดับการเรียน สทร. ไม่ได้กำหนดรูปแบบในการนำ Social Media ไปใช้ ให้ครูเป็นผู้ลองด้วยตนเอง ดังนั้นผู้เขียนเสนอแนวคิดในการนำ Social Media ไปใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ดังนี้
1. ใช้ในฐานะแหล่งเรียนรู้ โดยครูอาจจะต้องเป็นนักสำรวจเลือกสื่อที่เหมาะสม และเป็นประโยชน์กับการเรียนรู้ของนักเรียน แล้วนำไปรวบรวมไว้ที่บล็อกกลางของครู และประชาสัมพันธ์ให้นักเรียนทราบที่ FaceBook ก็ได้ จากนั้นให้นักเรียนเข้าศึกษาด้วยตนเอง
2. ใช้ในฐานะสื่อการสอน โดยครูเลือกสื่อที่สามารถนำมาใช้ในการจัดการเรียนรู้ และออกแบบการสอนโดยอาศัยสื่อเหล่านั้นประกอบ ตามความเหมาะสมของธรรมชาติวิชา
3. ใช้ในการสื่อสารกับนักเรียน อาจใช้เป็นช่องทางในการรับทราบปัญหาของนักเรียน เมื่อนักเรียนมีปัญหาอาจจะมาทิ้งข้อความไว้ ครูก็เข้าไปตอบปัญหาเหล่านั้นได้
4. ใช้เป็นช่องทางในการมอบหมายงานและส่งงาน
5. ใช้เป็นแหล่งพักสมองโดยได้ความรู้ เกมบางชนิดสร้างปัญญา แต่ต้องเลือกให้ดี

การเรียนการสอนยุคดิจิตอล

ในอดีตการเรียนการสอนจะยึดผู้สอนเป็นศูนย์กลาง โดยมีครูเป็นผู้บรรยายเนื้อหาบทเรียน และผู้เรียนมีหน้าที่เรียนรู้ตามที่ครูบอก จะไม่เน้นที่กระบวนการคิดให้เกิดกับผู้เรียน จึงทำให้ผู้เรียนคิดวิเคราะห์ไม่เป็น ยุคต่อมาระบบการศึกษาเปลี่ยนไปเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ(Child center) โดยที่ครูมีบทบาทและนำแนวทางการเรียนในบทเรียน แต่วิธีนี้ก็ยังมีข้อบกพร่องที่ครูผู้สอน มักจะตีความหมายของการเรียนโดยยึดผู้เรียนเป็นสำคัญผิดๆ โดยให้ผู้เรียนหาวิธีการเรียนเอง ซึ่งผู้เรียนไม่ได้ถูกฝึกมาให้เกิดกระบวนการคิดตั้งแต่แรก ไม่สามารถเรียนรู้โดยวิธีนี้ได้ ดังนั้นถ้าครูไม่เป็นผู้แนะนำให้คำปรึกษาแก่ผู้เรียน หรือชี้แนะแนวทางเลย ผู้เรียนก็จะไม่เกิดกระบวนการเรียนรู้ใดๆ ทั้งสิ้น

ปัจจุบันนี้วงการการศึกษามีจุดมุ่งหมายเน้นให้ผู้เรียนศึกษาหาความรู้จากแหล่งเรียนรู้ที่มี และมีการเรียนรู้ตลอดชีวิต และทันต่อเหตุการณ์ปัจจุบัน เทคโนโลยีจึงมีบทบาทที่สำคัญในการตอบสนองการเรียนรู้ของผู้เรียน หรืออีกนัยหนึ่งคือต้องการให้โรงเรียนทุกโรงจัดการศึกษาโดยนำเทคโนโลยีมาใช้กับการเรียนการสอนในทุกกลุ่มสาระ เรียกได้ว่าเป็นการบูรณาการวิชากับสื่อเลยก็ว่าได้ การศึกษาในยุคนี้จึงหนีไม่พ้นกับคำเปรียบที่ว่า “การศึกษายุคดิจิตอล”

นับตั้งแต่มีเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตเข้ามา ดูเหมือนว่าวิถีชีวิตของผู้คนทั่วโลกจะถูกโยงให้ข้องเกี่ยวกับมันอย่าง เลี่ยงไม่ได้ เพราะนอกจากมันจะเป็นศูนย์รวมของข้อมูลข่าวสารที่ไม่มีขอบเขตจำกัดแล้ว อินเทอร์เน็ตยังเป็นเครื่องมือในการติดต่อสื่อสารระหว่างผู้คนที่มี ประสิทธิภาพไม่น้อย จึงไม่แปลกที่ทุกวันนี้ อินเทอร์เน็ตจะกลายเป็นส่วนสำคัญในชีวิตประจำวันของเราไปแล้ว

 

จากผลการสำรวจความนิยมในการใช้งานเว็บไซต์ประเภท Social Network ของประเทศไทยปี 2553  10 อันดับ พบว่า

อันดับ 1                   Facebook

อันดับ 2                   Youtube

อันดับ 3                   Hi5

อันดับ 4                   Blogger

อันดับ 5                   Wikipedia

อันดับ 6                   4Shared

อันดับ 7                   MediaFire

อันดับ 8                   Exteen

อันดับ 9                   Skype

อันดับ 10        Multiply

 

 

 

 

จะเห็นได้ว่า ในปัจจุบันนี้ Social Network หรือสังคมเครือข่ายออนไลน์ มีผู้นิยมใช้อย่างแพร่หลาย ไม่เฉพาะในกลุ่มวัยรุ่น แต่ยังแพร่กระจายไปยังกลุ่มธุรกิจ กลุ่มนักเรียนนักศึกษา โดยในส่วนธุรกิจจะใช้ Social Network ในการประชาสัมพันธ์โฆษณาสินค้า ซึ่งสามารถเข้าถึงกลุ่มลูกค้าได้โดยตรง เพราะลูกค้าก็คือผู้ใช้งานผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตนั่นเอง

ส่วนกลุ่มวัยรุ่น กลุ่มนักเรียนนักศึกษา จะใช้ Social Network ในการติดต่อสื่อสารระหว่างกัน โดยความต้องการแล้ว คนกลุ่มนี้ต้องการความเป็นอิสระและความเป็นส่วนตัว นอกจากจะเป็นผู้ใช้แล้ว ยังสามารถเป็นผู้สร้างหรือดัดแปลงเทคโนโลยีได้ และเป็นการเปิดโอกาสทางความคิดของตนเอง และเผยแพร่ไปยังบุคคลอื่นได้ ซึ่ง Social Network สามารถตอบสนองความต้องการตรงนี้ได้ จึงมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร ความรู้ หรือเรื่องที่สนใจผ่านทาง Facebook, Skype หรือเกมส์ออนไลน์ก็เป็นอีกช่องทางหนึ่งที่สามารถตอบสนองความต้องการได้เช่นกัน

ส่วนกลุ่มคนวัยทำงาน นักวิชาการ หรือองค์กรภาครัฐและเอกชน หรือแม้แต่ระบบราชการ เป็นกลุ่มที่นิยมใช้ Social Network ในการสืบค้นข้อมูลข่าวสาร และติดต่อสื่อสารมากกว่าการเข้าไปในรูปแบบอื่นๆ

 

การประยุกต์ใช้ Social Network กับการจัดการเรียนการสอน

การตอบโจทย์การศึกษาในยุคดิจิตอล จึงต้องตอบสนองที่ความต้องการของผู้เรียน ต้องสร้างแหล่งเรียนรู้ที่ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ตลอดชีวิต แต่การจัดตั้งแหล่งเรียนรู้จำเป็นต้องใช้งบประมาณมาก แต่ถ้าครูสามารถสร้างแหล่งเรียนรู้สำหรับให้ผู้เรียนศึกษาได้เองตลอดเวลาและประหยัดเงิน โดยการสร้างแหล่งเรียนรู้หรือบทเรียนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ให้ผู้เรียนสามารถเข้ามาสืบค้น เรียนรู้ได้ด้วยตนเอง จึงเป็นทางออกที่ดีสำหรับการจัดการเรียนการสอน การสร้างบทเรียนหรือเนื้อหาวิชาเรียน เป็นวิธีที่ทำได้ไม่ยาก เพียงแต่ครูผู้สอนและนักเรียนมีการใช้อินเทอร์เน็ตเท่านั้น โดยครูจะเป็นผู้ควบคุมดูแลระบบ สร้างบทเรียนเนื้อหาลงไปในเครือข่าย เช่น Facebook, Youtube แล้วให้ผู้เรียนเข้าไปเรียนตามเนื้อหาที่ครูเป็นผู้กำหนดไว้ นอกจากนี้ครูยังสามารถเช็คเวลาเรียนจากการเข้าใช้ระบบของนักเรียนได้ นอกจากผู้เรียนจะเข้ามาเรียนอย่างเดียวแล้ว เมื่อเกิดคำถามก็สามารถแสดงความคิดเห็นหรือตั้งคำถามไว้ให้ครูมาตอบได้ทันที ทำให้การเรียนการสอนมีความน่าสนใจและเรียนรู้ได้ง่ายขึ้นกว่าเดิม

บทสรุป

Social Network เป็นเครือข่ายสังคมออนไลน์ที่เข้าถึงคนได้ทุกกลุ่ม ทุกเพศ ทุกวัย และทุกโอกาส ไม่ว่าจะเป็นวงการธุรกิจ สื่อสารมวลชน องค์กรภาครัฐและเอกชน หรือแม้แต่วงการศึกษาเองก็สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับการจัดการเรียนการสอน การเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ หรือแม้แต่การสร้างปฏิสัมพันธ์ของครูกับนักเรียน การใช้ Social Network กับการจัดการเรียนการสอนในยุกดิจิตอล นับว่าเป็นเรื่องใหม่ที่น่าสนใจและเป็นประโยชน์ เป็นการเปิดโอกาสทางการเรียนรู้ของนักเรียน จึงเป็นวิธีการที่ครูและวงการศึกษาควรนำไปประยุกต์ใช้กับการสอนของตนเอง เพื่อพัฒนาการจัดการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพ และทันต่อยุคโลกาภิวัฒน์ต่อไป/

เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต

download_1245740684นับตั้งแต่มีเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตเข้ามา ดูเหมือนว่าวิถีชีวิตของผู้คนทั่วโลกจะถูกโยงให้ข้องเกี่ยวกับมันอย่างเลี่ยงไม่ได้ เพราะนอกจากมันจะเป็นศูนย์รวมของข้อมูลข่าวสารที่ไม่มีขอบเขตจำกัดแล้ว อินเทอร์เน็ตยังเป็นเครื่องมือในการติดต่อสื่อสารระหว่างผู้คนที่มี ประสิทธิภาพไม่น้อย จึงไม่แปลกที่ทุกวันนี้ อินเทอร์เน็ตจะกลายเป็นส่วนสำคัญในชีวิตประจำวันของเราไปแล้ว
          ล่าสุดมีงานวิจัยที่ตอกย้ำความจริงเกี่ยวกับอิทธิพลของอินเทอร์เน็ตในชีวิตประจำวันของคนทั่วโลกออกมาอีกชิ้น พร้อมทั้งมีการนำเสนอสถิติการใช้อินเทอร์เน็ตน่าสนใจไม่น้อย

สำหรับงานวิจัยชิ้นนี้ มาจากการร่วมมือของสถาบันวิจัยและศูนย์ข้อมูลการใช้อินเทอร์เน็ตในสหรัฐ ได้แก่ PewInternet, Tnsdigitallife, Neilsen และ Comscoredatamine ซึ่ง ได้เก็บข้อมูลความถี่และรูปแบบการใช้อินเทอร์เน็ตของคนทั่วโลก ว่ามีการใช้อินเทอร์เน็ตบ่อยเพียงใด และมักจะทำกิจกรรมออนไลน์ใดบนอินเทอร์เน็ตบ้าง ซึ่งผลการสำรวจปรากฎออกมาเป็นข้อมูลที่น่าสนใจ ดังนี้

– ปัจจุบันมีผู้ใช้อินเทอร์เน็ต 2,095,006,005 คนทั่วโลก ซึ่งคิดเป็น 30% ของจำนวนประชากรโลกทั้งหมด

– ผู้คนทั่วโลกใช้เวลาไปกับอินเทอร์เน็ตเฉลี่ยคนละ 16 ชั่วโมงต่อเดือน ขณะที่คนอเมริกัน ใช้เวลากับอินเทอร์เน็ตมากถึง 32 ชั่วโมงต่อเดือน
          – ทวีปที่ผู้คนใช้อินเทอร์เน็ตมากที่สุดในโลก คือ อเมริกาเหนือ ส่วนประเทศที่มีผู้คนใช้อินเทอร์เน็ตมากที่สุดในโลก คือ อังกฤษ (85% ของคนในประเทศ)

– กิจกรรมบนอินเทอร์เน็ตที่ผู้คนทั่วโลกใช้เวลากับมันนานที่สุด ได้แก่ โซเชียลเน็ตเวิร์ค (22%) รองลงมาคือการค้นหาข้อมูล และการอ่านข่าว หรือบทความออนไลน์ ส่วนกิจกรรมยอดนิยมบนอินเทอร์เน็ต คือ การอ่าน-เขียนอีเมล และการค้นหาข้อมูล

– เว็บไซต์ที่คนทั่วโลกเยี่ยมชมกันมากที่สุด คือ กูเกิ้ล มีผู้คนเข้าใช้ทั่วโลกรวม 153,441,000 ครั้งต่อเดือน รองลงมาคือ เฟซบุ๊ก มีผู้คนเข้าใช้ทั่วโลกรวม 137,644,000 คนต่อเดือน
          – ผู้ใช้โซเชียลเน็ตเวิร์คมากกว่า 56% ทั่วโลก ใช้โซเชียลเน็ตเวิร์คในการจับตาดูความเคลื่อนไหวของคู่รัก
           – ชาวบราซิลครองตำแหน่งผู้ใช้โซเชียลเน็ตเวิร์คที่มีจำนวนเพื่อนมากที่สุด คือ เฉลี่ยคนละ 481 คน ขณะที่ชาวญี่ปุ่นนั้นจะมีจำนวนเพื่อนออนไลน์น้อยที่สุดที่คนละ 29 คนเท่านั้น
           – ผู้ใช้ทวิตเตอร์ทั่วโลกทวีตข้อความรวมแล้ว 250 ล้านทวีตต่อวัน ขณะที่ผู้ใช้เฟซบุ๊กอัพเดทสถานะของตัวเองรวมแล้ว 800 ล้านโพสต์
           – วิดีโอต่าง ๆ ในยูทูบมีจำนวนคนดูทั่วโลกรวม 4,000 ล้านครั้งต่อวัน
          นอกจากนี้ ยังมีการเปิดเผยแนวโน้มการเติบโตของบริการทางอินเทอร์เน็ตอีกด้วยว่า บริการออนไลน์ที่เติบโตมากที่สุด คือ บริการบอกตำแหน่ง (Location Based Services) ตามมาด้วยบริการดูทีวีออนไลน์ที่กำลังเป็นที่นิยมอยู่ในบ้านเราทุกวันนี้นั่นเอง